xs
xsm
sm
md
lg

ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับทุกเทศกาลคือสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศ.ดร.พิเชษฐ์  วิริยะจิตรา
ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและครอบครัว คือ คุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และมีแรงพลังก้าวหน้าต่อไป ข่าวการป่วยด้วยโรคมะเร็งทั้งจากคนใกล้ชิดและข่าวต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ส่งแรงกระเพื่อมไปยังวงการสุขภาพ วงการสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตประชาชนในสังคมหลายมิติ ถ้าเป็นเราจะรับมือและเสริมสุขภาพอย่างไร บางเรื่อง ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ยิ่งสำหรับเรื่องสุขภาพ ก็ทำแทนไม่ได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เราสามารถแบ่งปันข้อมูล เและส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้กันได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และตระหนักในการดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ในทุกๆ มิติ


- อายุยืนยาว + คุณภาพชีวิตดี = อยู่ได้นานอย่างมีความสุข

“อายุขัย” ของมนุษย์เรา คือส่วนหนึ่งของดัชนีชี้วัดคุณภาพเกี่ยวกับสุขภาพประชากร เราอาจจะคุ้นเคยกันว่ามนุษย์เรานั้น มีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปี ซึ่งนั่นอาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าและโอกาสในการเข้าถึงการรักษา เมื่อมนุษย์เราเจ็บป่วย เรามีโอกาสที่จะรอดชีวิตมากขึ้น ต่างจากในสมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า และการเข้ารับการรักษาที่ไม่ทั่วถึง ทำให้ในปี 1930 มนุษย์ มีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 40 ปีเท่านั้น

จากข้อมูลของ Our world in data ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2000-2019 มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 70 ปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาก็คือ หากเรามีอายุยืนยาวโดยที่ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ การมีอายุยืนยาวนั้น เป็นเรื่องดีจริงๆหรือ !?

อะไรทำให้ชีวิตมนุษย์เรายืนยาวขึ้นกันนะ - ในอดีต มนุษย์เรานั้นอายุไขเฉลี่ยต่ำถึง 30 ปี ในปี 1820 การที่มนุษย์เราอายุขัยต่ำนั้น เกิดได้จากสภาพแวดล้อม อาหาร การรักษาสุขภาพ และที่สำคัญคือการแพทย์ที่อาจจะยังไม่ค้นพบโรคและวิธีการรักษา หรือต่อให้ค้นพบ การเข้าถึงการรักษาก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรูปแบบเมืองที่กระจัดกระจาย การเดินทางมาโรงพยาบาล

เมื่อเทคโนโลยีในทุกๆ ด้าน ถูกพัฒนา ชีวิตคนหนึ่งคนสามารถยืนยาวขึ้นได้ ด้วยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รับประทานอาหารที่ดี รักษาสุขภาพ และที่สำคัญการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพอย่างทันท่วงที

สถิติน่าสนใจ อ้างอิงจาก กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยหนังสือ “สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563” หนึ่งในเนื้อหาสำคัญคือ “จำนวนและอัตราการตายต่อประชากร 1 แสนคน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2559-2563” ซึ่งจำแนกออกเป็น 10 สาเหตุการตาย (Causes of Death)

สำหรับข้อมูลปี 2563 พบว่า 10 สาเหตุการตายของคนไทย ได้แก่ 1.มะเร็งทุกชนิด 2. โรคหลอดเลือดในสมอง 3. ปอดอักเสบ 4. โรคหัวใจขาดเลือด 5. อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก 6. เบาหวาน 7. โรคเกี่ยวกับตับ 8. โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง 9. วัณโรคทุกชนิด 10. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากไวรัส

ดูจากโรคที่ทำให้คนเสียชีวิต ห้าอันดับต้น โดยตัดเรื่องอุบัติออกนั้น เอามือทาบอกแล้วพินิจข้อมูล คุณจะพบว่าโรคร้ายอย่าง มะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด และเบาหวาน คือเหล่าโรคคุ้นเคยยังคงพรากชีวิตติดอันดับ

ฉะนั้นของขวัญที่ควรมอบให้ตัวเอง และคนรัก ได้ตั้งแต่นาทีนี้ ก็คือทำทุกทางให้ร่างกายให้แข็งแรง สุข สดชื่น และอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัยเพื่อใช้ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รวมถึงห่างไกลจากสิ่งบั่นทอนสุขภาพทั้งปวงได้เป็นดี


- นักวิทย์ฯ เสริมความเห็น “ชะลอการเสื่อมของร่างกายที่ต้นตอ” พร้อมหยุดความเสี่ยง เสื่อม ทรุดโทรม

“หากเราทราบต้นตอของความแก่ชรา และเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเสริมประสิทธิภาพตรงจุด แก้ที่ปมปัญหา เมื่อเซลล์เสื่อมลง ณ จุดหมวกของโครโมโซมคู่สำคัญ ซึ่งนวัตกรรมวัฒนชีวา จากการวิจัยของคณะ Operation BIM ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ จัดการกับตัวเองให้ไม่ เสี่ยง เสื่อม และทรุดโทรมได้โดยง่าย ทั้งจากความเป็นอยู่ การกิน และการทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เราต้องดูแลตนเองให้ดีในทุกๆ วัน เพราะว่าไม่มียาไหนในโลกที่จะหยุดลมหายใจหรือทำให้ใครเป็นอมตะ” ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัยฯ กล่าว

ปารมี สินธุเสก
- ผบ.ด้านนวัตกรรมสุขภาพย้ำ “รู้แนวโน้มความเสี่ยงเฉพาะทาง ห่างไกลโรคร้ายอันดับต้น”

โดยส่วนมากคนเรามักรอแก้ไขปัญหา ตอนเกิดเรื่อง มองข้ามการป้องกัน และจัดการก่อนเกิดโรค จะดีกว่าไหม หากเราทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ ได้ก่อน แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ตรงจุด เพื่อเปลี่ยนผลลัพธ์ อย่างเช่น การตรวจสุขภาพประจำปี ทำความเข้าใจกับร่างกาย และอัปเดตเทรนด์สุขภาพอยู่เสมอ เพื่อนำมาฟื้นฟูร่างกาย ให้เหมือนๆ กับ การที่เราตามทันข่าวสารของโลก รู้เรื่องคนดังใน วงการบันเทิง ออกเดินทางท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ ตามความชอบ ร่างกายของเราก็เช่นกัน ต้องเข้าใจ ให้ความสำคัญสนใจ และอัปเดตเขาเสมอ กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ ส่วนหนึ่ง ออกกำลังกาย อีกส่วนหนึ่ง และยังต้องทำจิตใจให้แข็งแรง เติมวิตามินจำเป็นให้ทั้งกาย และใจ ห่างไกลโรคทั้งปวง” ปารมี สินธุเสก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปารมี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และผู้เผยแพร่สาระสุขภาพในเพจ PNA Wellness Innovation แสดงทรรศนะ

นันทิยะ ดารกานนท์
ส่วนทางด้าน นันทิยะ ดารกานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วินเนอร์ยี่ เมดิคอล จำกัด (มหาชน) (Winmed) เน้นย้ำการรู้เท่าทันโรคฮิตของสาวๆ “ความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก มีในสตรีทุกคนทั่วโลก และเป็นโรคติดอันดับ 1 ใน 3 มะเร็งที่คร่าชีวิตสาวๆ ตั้งแต่วัยทำงานไปจนถึงอาวุโส หากไม่ป้องกัน และเข้าใจความเสี่ยงต่อโรค ปัจจุบันมีนวัตกรรมแถบตรวจ (ลักษณะคล้ายกันกับการตรวจโควิด 19) นวัตกรรมชุดตรวจเชื้อไวรัส HPV ด้วยตนเอง (HPV Self-Collect) ที่ใช้งานง่าย สามารถทำได้แล้วส่งตรวจวิเคราะห์หาการติดเชื้อไวรัส HPV mRNA เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกับคลินิกเทคนิคทางการแพทย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ทางเทคนิคการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นการป้องกันก่อนป่วยจริง เมื่อทราบความเสี่ยง ก็ควรต้องทราบเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที”

ศลีนา ศักดิ์เสรี
- ผบ.ด้านอุปกรณ์นวัตกรรมเอนกประสงค์แนะ ป้องกันภัยจากมลภาวะ รับมือกับเชื้อโรคที่อาจเสี่ยงสัมผัสประจำวัน

“การสัมผัสเสี่ยงสูงเป็นคำฮิตที่เราได้ยินกันจนคุ้นเคยช่วงไวรัสโคโรน่าระบาดต่อเนื่องยาวนานมา แต่นอกจากนั้นความเสี่ยงต่อโรคจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ รอบตัวของคนเรามีอยู่ทุกวินาที ตั้งแต่หมอนหนุน โถสุขภัณฑ์ ไปยันธนบัตร เหรียญ หรือ ปุ่มกด ราวจับ ทุกๆ สิ่งที่สัมผัสร่วมกัน เราพบนวัตกรรมหลากหลายผุดขึ้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา อาทิ เครื่องขจัดเชื้อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา) ด้วยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์กับของใช้ต่างๆ กระเป๋าสตางค์ นาฬิกาข้อมูล แว่นตา หรือแม้แต่ หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคยูวีซี ในอากาศของห้องนอน กับพื้นที่ต่างๆ ในบ้านเราก็เห็นมาแล้ว ไม่ว่าจะมีโควิด 19หรือมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก ก็ไม่มีใครอยากติดเชื้อ เจ็บป่วย เสียสุขภาพ เสียเวลาแน่นอน ฉะนั้นของขวัญที่ดีที่สุดในชีวิตทุกๆ เทศกาล ทั้งสำหรับตัวเอง หรือครอบครัว ดิฉันเชื่อว่า การไม่เจ็บป่วย มีสุขภาพแข็งแรง นั่นคือสิ่งดีงามมากจริงๆ” ศลีนา ศักดิ์เสรี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อินติเกรต ซิสเต้ม (ไทยแลนด์) จำกัด ให้ความเห็นและคำแนะนำ

ข้อมูลอ้างอิง ;
ข้อมูลสถิติจาก our world in data / กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น