ทุกวันนี้ ตระกูลเก่าแก่อย่าง ‘รอธไชลด์’ อาจจะไม่ได้ร่ำรวยติดอันดับโลกเท่ากับเบซอสหรือเกตส์ แต่พวกเขายังคงจัดว่าอยู่ในกลุ่มไฮโซของยุโรปและอเมริกา
ทายาทของ ‘รอธไชลด์’ ยังคงกระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ที่พ่อจะเห็นเป็นข่าวคราวส่วนใหญ่จะเป็นสายธนาคารในอังกฤษ คนหนึ่ง คือ เจมส์ สมรสกับ นิคกี้ ฮิลตัน ทายาทธุรกิจโรงแรมชื่อดัง ขณะที่อีกราย เดวิด เมเยอร์ เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในซานตามอนิกา แคลิฟอร์เนีย คนที่นำขวดพลาสติกมาสร้างเป็นเรือใบแล่นข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค ขณะที่ทายาทผู้หญิง ก็สมรสไปกับนักธุรกิจบ้าง นักการเมืองบ้าง ฯลฯ
‘รอธไชลด์’ เป็นตระกูลชาวยิวที่มั่งคั่ง พวกเขามีจุดเริ่มต้นในเมืองแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมนี เป็นครอบครัวที่ทำธุรกิจปล่อยเงินกู้ในย่านคนยิว สำหรับในเยอรมนี รอท ชิลด์ แปลว่าเกราะสีแดง เป็นชื่อที่ตั้งมาจากการที่บ้านของพวกเขามีรั้วสีแดงนั่นเอง
เรื่องราวของตระกูล ‘รอธไชลด์’ มีการกล่าวถึงในละครบรอดเวย์ชื่อดัง และหนังหลายเรื่องที่พูดถึงชีวิตของชาวยิวในศตวรรษที่ 18 ต้นตระกูลอย่าง อัมสเชล รอธไชลด์ เจ้าของธุรกิจเงินตราชาวยิวที่รวยมากในแฟรงค์เฟิร์ต เขาตัดสินใจส่งลูก 5 คน ออกไปทำธุรกิจธนาคารในแฟรงค์เฟิร์ต ลอนดอน ปารีส เวียนนา และเนเปิลส์ นับเป็นการสร้างรากฐานและขยายเครือข่ายการเงินการธนาคารของตระกูล ‘รอธไชลด์’ ออกไปทั่วยุโรป
นาทีนั้น เครือข่ายธนาคาร ‘รอธไชลด์’ ทำงานร่วมกันอย่างมีระบบ เป็นแหล่งการเงินสำคัญของอุตสาหกรรมทั้งหลายในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟ ทำเหมือง และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งเงินทุนขุดคลองซูเอซ และลือด้วยว่า พวกเขาสนับสนุนเงินในการทำสงครามออสโตร-ฮังกาเรียน รวมทั้ง แอบสนับสนุนเงินให้พระเจ้าซาร์สแห่งรัสเซีย นอกจากนี้ ยังเป็นกองทุนช่วยบราซิลให้เป็นเอกราชจากโปรตุเกส
เรียกว่า อะไรก็ตามที่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ชื่อของ ‘รอธไชลด์’ จะต้องถูกดึงเข้ามามีเอี่ยว เพราะในช่วงศตวรรษที่ 19 - 20 พวกเขารวยมาก รวยเสียยิ่งกว่า เจฟฟ์ เบซอส กับบิล เกตส์ รวมกันเสียอีก เขาเป็นเจ้าของทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ ตั้งแต่เหมืองเพชรเดอเบียร์ส รถไฟฝรั่งเศส รถใต้ดินนิวยอร์ก รวมไปถึงคลับเมด
ตระกูล ‘รอธไชลด์’ เริ่มเสื่อมอำนาจหลังจากศตวรรษที่ 20 กิจการสาขาแฟรงค์เฟิร์ตไร้ผู้สืบทอด นอกจากนี้ การเรืองอำนาจของนาซีก็ส่งผลกระทบต่อสาขาเนเปิลส์ ที่ต้องปิดกิจการลงเช่นกัน ขณะที่สาขาออสเตรียไม่ต้องพูดถึง พวกเขาอพยพไปยังอเมริกา ทำให้ ‘รอธไชลด์’ แท้ๆ เหลือเพียง 2 สาย คือฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งยังคงทำธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินอย่างแข็งขัน
ในปารีส ลูกชายคนที่สองของบารอน กี เดอ รอธไชลด์ ย้ายออกจากสวิตเซอร์แลนด์ และในปี 1953 ก่อตั้ง เอดมอนด์ เดอ รอธไชลด์ กรุป ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการสินทรัพย์ ในลอนดอน หลังจากที่ เจคอบ ปะทะกับ เอฟเวอลีนลูกพี่ลูกน้องของเขา ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอ็นเอ็ม รอธไชลด์ เขาลาออกจากธนาคารในปี 1980 และเข้าควบคุม รอธไชลด์ อินเวสต์เมนต์ ทรัสต์ บริษัทด้านการลงทุน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น RIT Capital Partners) ทำให้ เจคอบ กลายเป็น ‘รอธไชลด์’ ที่ร่ำรวยที่สุดในปัจจุบัน
ในขณะที่โลกการเงินถูกครอบงำโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ธนาคารในลอนดอนและปารีสก็เริ่มทำงานร่วมกัน ‘รอธไชลด์’ ในลอนดอนจบสิ้นแล้ว เพราะอัมเชล ลูกพี่ลูกน้องของ เอฟเวอลีน เข้าร่วมธนาคารอย่างไม่เต็มใจ ได้แขวนคอตายในปี 1996 ลูกชายของ เอฟเวอลีน อย่างเดวิด ก็กลายเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ แอนโทนี เจมส์ก็ไปผลิตแผ่นเสียง ลูกพี่ลูกน้องของเจค็อบก็ไปทำอย่างอื่น เช่นเดียวกับนาธาเนียลบุตรชายของเขา
ธนาคารรอธไชลด์อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีการถือหุ้นไขว้มาเป็นเวลานาน ได้รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ เอฟเวอลินขายหุ้นให้ลูกพี่ลูกน้องชาวฝรั่งเศส ด้วยราคา 233 ล้านดอลลาร์ และ เดวิด ลูกชายของบารอน กี เดอ รอธไชลด์ กลายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บางคนคิดว่านาธาเนียล ลูกชายคนเดียวของเจคอบจะสืบทอดต่อจากเดวิดในที่สุด และในสมัยสตาร์ วอร์ส อาณาจักรจะรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่นาธาเนียลทะเลาะกับเดวิดและไปร่วมก่อตั้งบริษัทเหมืองในชาวอินโดนีเซีย
เมื่อ เดวิด ประกาศแผนการที่จะเกษียณจากธนาคารในปี 2018 เมื่ออายุ 75 ปี ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเขาจะเป็น อเล็กซองดร์ เดอ รอธไชลด์ลูกชายวัย 37 ปีของ เดวิด