สำหรับนักกีฬาโอลิมปิคหลายคน ที่มาชนะได้เหรียญกลับประเทศ เราอาจจะคิดว่าทุกคนกลับไปจะต้องกลายเป็นเศรษฐี เรื่องจริงก็คือ บ้างก็มีรายได้เปลี่ยนชีวิต แต่บางส่วนก็ได้แต่ความภาคภูมิใจไปก็เยอะนะ
อย่าง ซิโมน ไบล์ส นักยิมนาสติกความหวังของสหรัฐ หากเธอกวาดเหรียญทองไปทั้ง 6 ประเภทที่เข้าแข่งขันเธออาจจะได้เงินเหรียญละ 37,500 ดอลลาร์สหรัฐ บวกกับอีก 9,375 ดอลลาร์สำหรับกีฬาประเภททีมรวม จากคณะกรรมการโอลิมปิคและพาราลิมปิคสหรัฐ ทว่า ซีโมน คว้าได้เพียงเหรียญเงินจากประเภททีมรวม ทำให้ได้ส่วนแบ่งมา 5,625 ดอลลาร์ และได้อีก 15,000 จากเหรียญทองแดงคานทรงตัวหญิงเดี่ยว
ในฐานะนักกีฬาดาวเด่นของอเมริกา ซีโมน ยังนับว่าโชคดี เนื่องจากมีสปอนเซอร์มากมายสนับสนุนเธออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น แอธเลทา, วีซา, และนาบิสโก เพราะฉะนั้น เธอจึงเป็นนักกีฬาที่ค่อนข้างจะอู้ฟู่ ดูดีมีอนาคตทางการเงิน ไม่ว่าผลจากโตเกียวโอลิมปิคจะออกมาไม่ได้ดังใจ
นักยิมนาสติกวัย 24 สร้างรายได้จากสปอนเซอร์ต่างๆ ก่อนจะเข้าแข่งขันโอลิมปิค 2020 ราวๆ 2 ล้านดอลลาร์ต่อปี หลังจากที่เธอคว้า 4 เหรียญทองในโอลิมปิคคราวก่อน โดยนับว่าเป็นนักกีฬาโอลิมปิคของอเมริกา ที่ได้เหรียญทองมากเป็นอันดับ 2 รองจาก นักว่ายน้ำ ไมเคิล เฟลป์ส
นักกีฬาอเมริกันส่วนใหญ่ ไม่ได้รับเงินอัดฉีดจากรัฐบาลเป็นเงินก้อนโตอะไร ส่วนใหญ่มักจะเป็นเศรษฐีเพราะเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ เสียมากกว่า ขณะที่ประเทศที่จ่ายหนักที่สุดในการอัดฉีดนักกีฬาโอลิมปิคของตัวเองคือ สิงคโปร์ โดยผู้ที่สามารถคว้าเหรียญทองให้ประเทศสำเร็จ จะได้เงิน 740,000 ดอลลาร์สหรัฐ (คนที่เคยได้อย่าง โจเซป สคูลิง นักว่ายผีเสื้อ 100 เมตรชาย ในริโอ โอลิมปิค 2016) แถมยังจ่ายเป็นก้อนทีเดียวจบอีกด้วย
ขณะที่ ฟิลิปปินส์ ที่เพิ่งได้เหรียญทองเหรียญแรกจากนักกีฬายกน้ำหนักหญิง ไฮดีลิน ดิแอซ จะได้รางวัลจากเหรียญทองของเธอเป็นเงิน 200,000 ดอลลาร์อย่างเป็นทางการ แต่ข่าวแว่วๆ ว่า เธอจะได้มากกว่านั้น ในฐานะที่สร้างประวัติศาสตร์ให้ประเทศ
เช่นเดียวกับทีมฟันดาบหญิงของเอสโตเนีย ที่คว้าเหรียญทองแรกของชาติมาครอง ทั้งทีมจะได้เงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์ แต่พวกเขาต้องแบ่งครึ่งหนึ่งให้โค้ช อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ นักกีฬาทุกคนจะได้โบนัสปีละ 5,500 ดอลลาร์ รวมทั้งเงินบำนาญหลังเกษียณ
นักกีฬามากมายที่มาชนะคว้าเหรียญ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ แต่กลับบ้านไปพร้อมความภาคภูมิใจเฉยๆ ก็มีเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกีฬาประเภท ‘สมัครเล่น’ ทั้งหลาย ซึ่งนักกีฬาเหล่านี้ บางคนต้องอาศัยงบประมาณส่วนตัวในการจ้างโค้ช หาที่ฝึกฝนเอง และค่าอื่นๆ อีกมากมาย
วาชติ คันนิงแฮม นักกระโดดสูงหญิงที่มีบิดาอดีตนักอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอลป็นโค้ชให้ โชคดีที่ได้เซ็นสัญญากับไนกี ไม่อย่างนั้นก็อาจจะไม่ได้ไปร่วมแข่งโอลิมปิคที่โตเกียวได้
ขณะที่ เคเล็บ เดรสเซล ดาวโอลิมปิคว่ายน้ำปีนี้ ที่เคยต้องรอจนได้เหรียญทองในริโอ โอลิมปิค ถึงจะสามารถกลับไปเรียนหนังสือต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งฟลอริดาได้ และมีสปอนเซอร์อย่างสปีโดมาสนับสนุน
มิสซี แฟรงคลิน ได้เลื่อนระดับเป็นนักว่ายน้ำอาชีพ หลังคว้าเหรียญทองในลอนดอน โอลิมปิค 2012 ขณะที่ เมดิสัน โคเชียน และไคลา รอสส์ ก็ได้เข้ายูซีแอลเอ หลังคว้าเหรียญทองว่ายน้ำประเภททีมในริโอ โอลิมปิค ส่วน แกบบี โทมัส ที่คว้าเหรียญเงินในการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 เมตร และเหรียญทองแดง วิ่ง 200 เมตรหญิง ก็ได้ที่นั่งในมหาวิทยาลัยฮารวาร์ด และได้เซ็นสัญญากับนิวบาลานซ์ -- บ้างไม่ได้สปอนเซอร์ แต่ได้ทุนเรียนฟรีในมหาวิทยาลัยดัง ก็นับว่าคุ้ม (มั้ง)
ต่างจากนักแข่งจักรยานหญิงเหรียญทองจากอังกฤษ เบท ชรีเวอร์ ที่ถูกตัดเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ตัดสินใจจ่ายแต่นักกีฬาประเภทชายหลังจบจากริโอ โอลิมปิค ทำให้เบท ตัดสินใจลาออดจากสมาคมฯ หางานทำ และฝึกฝนด้วยตัวเอง
“การหาเงินสำหรับค่าเดินทางไปแข่งขันมันไม่ง่ายเลย ฉันเครียดมากกับเรื่องนี้” เบท เล่าว่า เธอต้องไปแบมืขอเงินจากครอบครัว พร้อมด้วยการไปรับจ้างเป็นครูเพื่อหาเงินมาแข่งจักรยาน “แม่ของฉันสอนอยู่ที่โรงเรียนนั้นด้วยดีกับฉันมาก พวกเขาสนับสนุนฉันเป็นอย่างดี ให้วันหยุดแบบไม่มีเงื่อนไขในวันที่ฉันต้องไปแข่งกีฬา”
ไม่เพียงเบท ที่ต้องกระเสือกกระสนหาเงิน แต่โค้ชของเธอ มาร์ค ซีแมน ก็ต้องช่วยกันหาเงินมาสนับสนุนตัวเขาเองเป็นค่าเดินทางเช่นกัน “รวมๆ แล้วเราต้องใช้ประมาณ 70,000 ดอลลาร์ เพื่อที่จะพาตัวเองมาแข่งในโตเกียวโอลิมปิคได้” โดยเบทได้อาศัยช่องทางคราวด์ฟันดิงเข้ามาช่วยอีกทางหนึ่ง
สำหรับนักกีฬาขี่ม้า ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากตั้งแต่ฝึกฝนจนกระทั่งเดินทางไปแข่ง ส่วนใหญ่จึงมีแต่ลูกเศรษฐีที่ ‘สามารถ’ เข้าสู่วงการนี้ได้
เจสสิกา สปริงทีน ลูกสาวของบรูซ สปริงทีน ตัวแทนทีมขี่ม้าสหรัฐที่ไปคว้าเหรียญเงินในโตเกียว โอลิมปิค บอกว่า นักกีฬาขี่ม้าต้องการเงินสนับสนุนพิเศษสำหรับกีฬาชนิดนี้ โดยเฉพาะเงินดูแลม้าและคอกม้าที่ค่าใช้จ่ายสูงมาก
แม้ว่าผู้จัดการแข่งขันโอลิมปิค จะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งม้าจากทั่วโลก หากก็ไม่ใช่ทุกประเทศจะสามารถมีม้าเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะประเทศเล็กๆ มักจะต้องใช้ม้าที่จัดเตรียมไว้ให้สำหรับการแข่งขัน หลายคนเข้าไปในเว็บคราวฟันดิง อย่าง โกฟันด์มี เพื่อที่จะระดมเงินสนับสนุนตัวเอง
นักยูโดชาวไอริช เบน เฟลทเชอร์ ต้องไปรับจ้างจัดสวนเพื่อนำเงินมาเป็นค่าเดินทางเข้าร่วมโอลิมปิค ส่วน พอล อดัมส์ นักยิงปืนชาวออสเตรเลีย ต้องไปฝึกอาชีพพยาบาล เพื่อทำงานหาเงินมาแข่งกีฬา
ขณะที่ ลินดา คิเอโกะ ก็หาทุนสำหรับการเข้าเป็นตัวแทนนักกีฬายิงปืนของแคนาดา ด้วยอาชีพวิศวกรโยธา
ความลำบากลำบนของนักกีฬาหลายคนก็เห็นผลดี อย่าง ทามีรา เมนซาห์-สต็อก ซึ่งเป็นนักกีฬามวยปล้ำหญิงผิวสีคนแรกของอเมริกาที่ได้เหรียญทอง ทำให้เธอได้เงินรางวัล 37,500 ดอลลาร์จากสมาคมมวยปล้ำฯ และสามารถซื้อฟู้ดทรัคให้แม่ได้ดังที่ตั้งใจ
“ฉันให้สัญญากับแม่เอาไว้ว่าจะซื้อให้ เธอชอบทำอาหารมาก และอยากมีฟู้ดทรักมานานแล้ว” นักกีฬาวัย 28 กล่าว “ฉันรีบโทรไปบอกแม่ หนูทำได้แล้วๆ”
อย่าง ซิโมน ไบล์ส นักยิมนาสติกความหวังของสหรัฐ หากเธอกวาดเหรียญทองไปทั้ง 6 ประเภทที่เข้าแข่งขันเธออาจจะได้เงินเหรียญละ 37,500 ดอลลาร์สหรัฐ บวกกับอีก 9,375 ดอลลาร์สำหรับกีฬาประเภททีมรวม จากคณะกรรมการโอลิมปิคและพาราลิมปิคสหรัฐ ทว่า ซีโมน คว้าได้เพียงเหรียญเงินจากประเภททีมรวม ทำให้ได้ส่วนแบ่งมา 5,625 ดอลลาร์ และได้อีก 15,000 จากเหรียญทองแดงคานทรงตัวหญิงเดี่ยว
ในฐานะนักกีฬาดาวเด่นของอเมริกา ซีโมน ยังนับว่าโชคดี เนื่องจากมีสปอนเซอร์มากมายสนับสนุนเธออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น แอธเลทา, วีซา, และนาบิสโก เพราะฉะนั้น เธอจึงเป็นนักกีฬาที่ค่อนข้างจะอู้ฟู่ ดูดีมีอนาคตทางการเงิน ไม่ว่าผลจากโตเกียวโอลิมปิคจะออกมาไม่ได้ดังใจ
นักยิมนาสติกวัย 24 สร้างรายได้จากสปอนเซอร์ต่างๆ ก่อนจะเข้าแข่งขันโอลิมปิค 2020 ราวๆ 2 ล้านดอลลาร์ต่อปี หลังจากที่เธอคว้า 4 เหรียญทองในโอลิมปิคคราวก่อน โดยนับว่าเป็นนักกีฬาโอลิมปิคของอเมริกา ที่ได้เหรียญทองมากเป็นอันดับ 2 รองจาก นักว่ายน้ำ ไมเคิล เฟลป์ส
นักกีฬาอเมริกันส่วนใหญ่ ไม่ได้รับเงินอัดฉีดจากรัฐบาลเป็นเงินก้อนโตอะไร ส่วนใหญ่มักจะเป็นเศรษฐีเพราะเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ เสียมากกว่า ขณะที่ประเทศที่จ่ายหนักที่สุดในการอัดฉีดนักกีฬาโอลิมปิคของตัวเองคือ สิงคโปร์ โดยผู้ที่สามารถคว้าเหรียญทองให้ประเทศสำเร็จ จะได้เงิน 740,000 ดอลลาร์สหรัฐ (คนที่เคยได้อย่าง โจเซป สคูลิง นักว่ายผีเสื้อ 100 เมตรชาย ในริโอ โอลิมปิค 2016) แถมยังจ่ายเป็นก้อนทีเดียวจบอีกด้วย
ขณะที่ ฟิลิปปินส์ ที่เพิ่งได้เหรียญทองเหรียญแรกจากนักกีฬายกน้ำหนักหญิง ไฮดีลิน ดิแอซ จะได้รางวัลจากเหรียญทองของเธอเป็นเงิน 200,000 ดอลลาร์อย่างเป็นทางการ แต่ข่าวแว่วๆ ว่า เธอจะได้มากกว่านั้น ในฐานะที่สร้างประวัติศาสตร์ให้ประเทศ
เช่นเดียวกับทีมฟันดาบหญิงของเอสโตเนีย ที่คว้าเหรียญทองแรกของชาติมาครอง ทั้งทีมจะได้เงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์ แต่พวกเขาต้องแบ่งครึ่งหนึ่งให้โค้ช อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ นักกีฬาทุกคนจะได้โบนัสปีละ 5,500 ดอลลาร์ รวมทั้งเงินบำนาญหลังเกษียณ
นักกีฬามากมายที่มาชนะคว้าเหรียญ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ แต่กลับบ้านไปพร้อมความภาคภูมิใจเฉยๆ ก็มีเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกีฬาประเภท ‘สมัครเล่น’ ทั้งหลาย ซึ่งนักกีฬาเหล่านี้ บางคนต้องอาศัยงบประมาณส่วนตัวในการจ้างโค้ช หาที่ฝึกฝนเอง และค่าอื่นๆ อีกมากมาย
วาชติ คันนิงแฮม นักกระโดดสูงหญิงที่มีบิดาอดีตนักอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอลป็นโค้ชให้ โชคดีที่ได้เซ็นสัญญากับไนกี ไม่อย่างนั้นก็อาจจะไม่ได้ไปร่วมแข่งโอลิมปิคที่โตเกียวได้
ขณะที่ เคเล็บ เดรสเซล ดาวโอลิมปิคว่ายน้ำปีนี้ ที่เคยต้องรอจนได้เหรียญทองในริโอ โอลิมปิค ถึงจะสามารถกลับไปเรียนหนังสือต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งฟลอริดาได้ และมีสปอนเซอร์อย่างสปีโดมาสนับสนุน
มิสซี แฟรงคลิน ได้เลื่อนระดับเป็นนักว่ายน้ำอาชีพ หลังคว้าเหรียญทองในลอนดอน โอลิมปิค 2012 ขณะที่ เมดิสัน โคเชียน และไคลา รอสส์ ก็ได้เข้ายูซีแอลเอ หลังคว้าเหรียญทองว่ายน้ำประเภททีมในริโอ โอลิมปิค ส่วน แกบบี โทมัส ที่คว้าเหรียญเงินในการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 เมตร และเหรียญทองแดง วิ่ง 200 เมตรหญิง ก็ได้ที่นั่งในมหาวิทยาลัยฮารวาร์ด และได้เซ็นสัญญากับนิวบาลานซ์ -- บ้างไม่ได้สปอนเซอร์ แต่ได้ทุนเรียนฟรีในมหาวิทยาลัยดัง ก็นับว่าคุ้ม (มั้ง)
ต่างจากนักแข่งจักรยานหญิงเหรียญทองจากอังกฤษ เบท ชรีเวอร์ ที่ถูกตัดเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ตัดสินใจจ่ายแต่นักกีฬาประเภทชายหลังจบจากริโอ โอลิมปิค ทำให้เบท ตัดสินใจลาออดจากสมาคมฯ หางานทำ และฝึกฝนด้วยตัวเอง
“การหาเงินสำหรับค่าเดินทางไปแข่งขันมันไม่ง่ายเลย ฉันเครียดมากกับเรื่องนี้” เบท เล่าว่า เธอต้องไปแบมืขอเงินจากครอบครัว พร้อมด้วยการไปรับจ้างเป็นครูเพื่อหาเงินมาแข่งจักรยาน “แม่ของฉันสอนอยู่ที่โรงเรียนนั้นด้วยดีกับฉันมาก พวกเขาสนับสนุนฉันเป็นอย่างดี ให้วันหยุดแบบไม่มีเงื่อนไขในวันที่ฉันต้องไปแข่งกีฬา”
ไม่เพียงเบท ที่ต้องกระเสือกกระสนหาเงิน แต่โค้ชของเธอ มาร์ค ซีแมน ก็ต้องช่วยกันหาเงินมาสนับสนุนตัวเขาเองเป็นค่าเดินทางเช่นกัน “รวมๆ แล้วเราต้องใช้ประมาณ 70,000 ดอลลาร์ เพื่อที่จะพาตัวเองมาแข่งในโตเกียวโอลิมปิคได้” โดยเบทได้อาศัยช่องทางคราวด์ฟันดิงเข้ามาช่วยอีกทางหนึ่ง
สำหรับนักกีฬาขี่ม้า ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากตั้งแต่ฝึกฝนจนกระทั่งเดินทางไปแข่ง ส่วนใหญ่จึงมีแต่ลูกเศรษฐีที่ ‘สามารถ’ เข้าสู่วงการนี้ได้
เจสสิกา สปริงทีน ลูกสาวของบรูซ สปริงทีน ตัวแทนทีมขี่ม้าสหรัฐที่ไปคว้าเหรียญเงินในโตเกียว โอลิมปิค บอกว่า นักกีฬาขี่ม้าต้องการเงินสนับสนุนพิเศษสำหรับกีฬาชนิดนี้ โดยเฉพาะเงินดูแลม้าและคอกม้าที่ค่าใช้จ่ายสูงมาก
แม้ว่าผู้จัดการแข่งขันโอลิมปิค จะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งม้าจากทั่วโลก หากก็ไม่ใช่ทุกประเทศจะสามารถมีม้าเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะประเทศเล็กๆ มักจะต้องใช้ม้าที่จัดเตรียมไว้ให้สำหรับการแข่งขัน หลายคนเข้าไปในเว็บคราวฟันดิง อย่าง โกฟันด์มี เพื่อที่จะระดมเงินสนับสนุนตัวเอง
นักยูโดชาวไอริช เบน เฟลทเชอร์ ต้องไปรับจ้างจัดสวนเพื่อนำเงินมาเป็นค่าเดินทางเข้าร่วมโอลิมปิค ส่วน พอล อดัมส์ นักยิงปืนชาวออสเตรเลีย ต้องไปฝึกอาชีพพยาบาล เพื่อทำงานหาเงินมาแข่งกีฬา
ขณะที่ ลินดา คิเอโกะ ก็หาทุนสำหรับการเข้าเป็นตัวแทนนักกีฬายิงปืนของแคนาดา ด้วยอาชีพวิศวกรโยธา
ความลำบากลำบนของนักกีฬาหลายคนก็เห็นผลดี อย่าง ทามีรา เมนซาห์-สต็อก ซึ่งเป็นนักกีฬามวยปล้ำหญิงผิวสีคนแรกของอเมริกาที่ได้เหรียญทอง ทำให้เธอได้เงินรางวัล 37,500 ดอลลาร์จากสมาคมมวยปล้ำฯ และสามารถซื้อฟู้ดทรัคให้แม่ได้ดังที่ตั้งใจ
“ฉันให้สัญญากับแม่เอาไว้ว่าจะซื้อให้ เธอชอบทำอาหารมาก และอยากมีฟู้ดทรักมานานแล้ว” นักกีฬาวัย 28 กล่าว “ฉันรีบโทรไปบอกแม่ หนูทำได้แล้วๆ”