ท่าง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ท่ายืน เดิน นั่ง นอน คุณทำถูกต้องแล้วหรือยัง? เพ็ญพิชชากร แสนคำ ผู้จัดการคลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี) แนะนำว่า ในการใช้ชีวิตประจำวันมักหนีไม่พ้นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่งและนอน และท่าทางเหล่านี้มีผลกระทบต่อโครงสร้างร่างกายเป็นอย่างมาก การอยู่ในท่าทางที่ผิด มักเป็นการสะสมความผิดปกติให้กับร่างกายและก่อทำให้เกิดโรคในที่สุด จึงจำเป็นที่ต้องตระหนักถึงการอยู่ในอิริยาบถที่ถูกต้อง ในทุกเมื่อเมื่อนึกได้
1. การยืน ที่ถูกวิธีนั้นเท้าทั้งสองข้างกางอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก ปลายเท้าชี้ไปด้านหน้า ลงน้ำหนักให้เท่าๆ กัน โดยน้ำหนักจะลงด้านนอกของฝ่าเท้า เข่าทั้งสองต้องเหยียดตรง ส่วนสะโพกให้ยืนขมิบก้นเล็กน้อย พร้อมแขม่วท้อง ลำตัวและสะบักลำตัวยืดตรง ดึงสะบักผายหัวไหล่ไปด้านหลังเล็กน้อย
2. ท่านั่ง เลื่อนก้นให้ชิดพนัก เข่าอยู่ระดับเดียวกันกับสะโพก หรือต่ำกว่าเล็กน้อย เท้าวางกับพื้นพอดีให้สบายๆ ข้อเท้าไม่ตกหรือลอยจากพื้น น้ำหนักตัวลงที่กลางก้นทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ยืดลำตัว ดึงสะบักและผลักหัวไหล่ไปด้านหลังเบาๆ อาจใช้หมอนดันที่บั้นเอวเพื่อให้หลังช่วงล่างแอ่นเล็กน้อย หรืออาจพิงพนักไปได้เลย หากพนักเก้าอี้ไม่เอนมากเกินไป องศาที่เหมาะสมเอนไปด้านหลังประมาณ 15-20 องศา
3. ท่านอน การอยู่ในท่านอนที่ถูกต้องเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและซ่อมแซมตัวเองได้ดีด้วย ท่านอนที่ถูกต้อง และทำให้โครงสร้างระบบกระดูกกล้ามเนื้อผ่อนคลายคือ ท่านอนหงาย มีหมอนรองใต้เข่า หมอนหนุนศีรษะต้องหนุนใต้หัวไหล่เล็กน้อย ศีรษะต้องอยู่แนวเดียวกันกับลำตัว ที่นอนต้องไม่นิ่มจนเกินไป การนอนตะแคงอาจเหมาะสมสำหรับบางท่านที่มีปัญหาเรื่องการหายใจ แต่สำหรับในทางโครงสร้างร่างกายแล้ว การนอนตะแคงจะทำให้น้ำหนักตัวกดทับหัวไหล่ คอด้านที่นอนทับจะพับกดการไหลเวียนของเลือดและเส้นประสาท
4. ท่าเดิน การเดินที่ถูกนั้น สังเกตง่ายๆ คือตอนลงน้ำหนักขาด้านไหน กล้ามเนื้อขาด้านนั้นต้องหดตัว ท่าง่ายๆ เพื่อฝึกเดินให้ถูกต้อง ให้ฝึกขมิบก้น-แขม่วท้อง ยืดตัวตรง ให้รู้สึกเหมือนร่างกายถูกดึงขึ้นด้านบน เหมือนกำลังลอยจากพื้นขณะก้าวเดิน จะกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางกระดูกสันหลัง ทำให้ลดแรงกระแทกตามข้อต่อต่างๆ ได้ ส่วนรูปแบบการเดินที่ถูกต้องนั้น เริ่มต้นจากการลงน้ำหนักที่เท้าแล้วค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักมาตรงกลางเท้า และปลายเท้าแล้วค่อยยกเท้าลอย ตอนที่ลงน้ำหนักขานั้นเป็นช่วงที่ต้องขมิบก้นไว้เพื่อให้สะโพกไม่บิดเกินไป
1. การยืน ที่ถูกวิธีนั้นเท้าทั้งสองข้างกางอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก ปลายเท้าชี้ไปด้านหน้า ลงน้ำหนักให้เท่าๆ กัน โดยน้ำหนักจะลงด้านนอกของฝ่าเท้า เข่าทั้งสองต้องเหยียดตรง ส่วนสะโพกให้ยืนขมิบก้นเล็กน้อย พร้อมแขม่วท้อง ลำตัวและสะบักลำตัวยืดตรง ดึงสะบักผายหัวไหล่ไปด้านหลังเล็กน้อย
2. ท่านั่ง เลื่อนก้นให้ชิดพนัก เข่าอยู่ระดับเดียวกันกับสะโพก หรือต่ำกว่าเล็กน้อย เท้าวางกับพื้นพอดีให้สบายๆ ข้อเท้าไม่ตกหรือลอยจากพื้น น้ำหนักตัวลงที่กลางก้นทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ยืดลำตัว ดึงสะบักและผลักหัวไหล่ไปด้านหลังเบาๆ อาจใช้หมอนดันที่บั้นเอวเพื่อให้หลังช่วงล่างแอ่นเล็กน้อย หรืออาจพิงพนักไปได้เลย หากพนักเก้าอี้ไม่เอนมากเกินไป องศาที่เหมาะสมเอนไปด้านหลังประมาณ 15-20 องศา
3. ท่านอน การอยู่ในท่านอนที่ถูกต้องเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและซ่อมแซมตัวเองได้ดีด้วย ท่านอนที่ถูกต้อง และทำให้โครงสร้างระบบกระดูกกล้ามเนื้อผ่อนคลายคือ ท่านอนหงาย มีหมอนรองใต้เข่า หมอนหนุนศีรษะต้องหนุนใต้หัวไหล่เล็กน้อย ศีรษะต้องอยู่แนวเดียวกันกับลำตัว ที่นอนต้องไม่นิ่มจนเกินไป การนอนตะแคงอาจเหมาะสมสำหรับบางท่านที่มีปัญหาเรื่องการหายใจ แต่สำหรับในทางโครงสร้างร่างกายแล้ว การนอนตะแคงจะทำให้น้ำหนักตัวกดทับหัวไหล่ คอด้านที่นอนทับจะพับกดการไหลเวียนของเลือดและเส้นประสาท
4. ท่าเดิน การเดินที่ถูกนั้น สังเกตง่ายๆ คือตอนลงน้ำหนักขาด้านไหน กล้ามเนื้อขาด้านนั้นต้องหดตัว ท่าง่ายๆ เพื่อฝึกเดินให้ถูกต้อง ให้ฝึกขมิบก้น-แขม่วท้อง ยืดตัวตรง ให้รู้สึกเหมือนร่างกายถูกดึงขึ้นด้านบน เหมือนกำลังลอยจากพื้นขณะก้าวเดิน จะกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางกระดูกสันหลัง ทำให้ลดแรงกระแทกตามข้อต่อต่างๆ ได้ ส่วนรูปแบบการเดินที่ถูกต้องนั้น เริ่มต้นจากการลงน้ำหนักที่เท้าแล้วค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักมาตรงกลางเท้า และปลายเท้าแล้วค่อยยกเท้าลอย ตอนที่ลงน้ำหนักขานั้นเป็นช่วงที่ต้องขมิบก้นไว้เพื่อให้สะโพกไม่บิดเกินไป