กลางคืนคู่กับกลางวันฉันท์ใด "ไฮโซ" ก็ต้องคู่กับ "เพชร" เพราะเวลาออกงานสังคมแต่ละครั้ง คุณไฮโซทั้งหลายจะต้องขุดเพชรกันออกมาโปะให้ตู้มไปทั้งตัว ยิ่งใครห้อยเพชรเม็ดโตประชันกับแสงแฟลชด้วยแล้ว ประกายเพชรจะเจิดจรัสให้เจ้าของได้โดดเด่นในงานเลยทีเดียว
จึงไม่แปลกที่ไฮโซหลายคนผันตัวเองมาเป็น “เจ้าของร้านเพชร” ซะเลย เพราะนอกจากจะมีเพชรใส่อออกงานแล้ว อีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่อยู่ในเพชรเม็ดงามราคาหลายสิบล้านก็คือ พวกเขาเหล่านี้ได้เป็นผู้เจียระไนเพชรเม็ดงาม ออกไปประกาศศักดาให้คนทั่วโลกได้รู้ว่า ประเทศไทยมีอัญมณีอันล้ำค่าไม่แพ้ชาติในในโลก

ในแวดวงอัญมณีเมืองไทย ชื่อแรกที่แวบเข้ามาในหัวคือ เสี่ยหนึ่ง-สุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด นักธุรกิจหนุ่มหน้าใสวัย 45 กะรัต ที่เข้ามารับไม้ต่อในการบริหารอาณาจักรเพชรอันใหญ่โตจากผู้เป็นบิดา ดร.พรสิทธิ์ และคุณแม่ ดร.สุณี จนทำให้ทุกวันนี้เพชรของบิวตี้เจมส์โด่งดังไกลไปทั่วโลก ด้วยการส่งออกเพชรไปขายถึง 44 ประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกาและยุโรป ซึ่งนอกเหนือจากความร่ำรวยแล้ว อีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ทำให้ต่างชาติรู้จักเพชรที่เป็นบริษัทของคนไทย ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยนั่นเอง
เสี่ยหนึ่ง พูดถึงตลาดอัญมณีของไทยในทุกวันนี้ว่า เติบโตสูงกว่าทุกปี เพราะการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในเรื่องการเปิดอุตสาหกรรม AEC และการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวที่ประเทศไทย ได้เลือกซื้อเครื่องประดับเพชร หรืออัญมณีชิ้นงาม ที่เป็นสินค้าของคนไทยติดไม้ติดมือไปเป็นของฝาก หรือเก็บไว้เป็นของที่ระลึก จึงทำให้ ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีภายในประเทศ มีเงินหมุนเวียนมากถึงปีละ5แสนล้านบาท และมีผู้ประกอบการที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมอัญมณีถึง 2 ล้านคน
เสี่ยหนึ่งบอกว่าปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมเพชรในเมืองไทยใหญ่เป็นอันดับ3 ของประเทศนั้น กลุ่มคนที่มีความสำคัญไม่แพ้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ก็คือ “ช่าง” นั่นเอง สำหรับบิวตี้เจมส์ สิ่งที่เสี่ยหนึ่งภูมิใจมากที่สุดก็คือ โรงงานผลิตเพชรของเขานั้นล้วนเป็นช่างชาวไทยแทบทั้งสิ้น
"ฝีมือช่างชาวไทยเก่งและดีไม่แพ้ชาติใดในโลก โดยเฉพาะ เรื่องความประณีต และหนึ่งในความภูมิใจของผมคือ เราได้เห็นเพชรหรืออัญมณีที่บิวตี้เจมส์ส่งออกไปขายยังต่างประเทศทั้ง 44 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป อเมริกา หรือราชวงศ์สวีเดน ราชวงศ์บรูไน ฯลฯ และประเทศในแถบAEC อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซียฯ เป็นเพชรที่ผลิตโดยบริษัทคนไทยและเป็นฝีมือช่างชาวไทย"
ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปีที่เสี่ยหนึ่งเข้ามาสานต่อฝันของคุณพ่อ ที่อยากให้เพชรของบิวตี้เจมส์โด่งดังไปทั่วโลก แล้วทุกวันนี้เขาก็ได้สร้างอาณาจักรเพชรอันใหญ่โตอยู่ในหัวใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแล้ว อีกหนึ่งความประทับใจที่เสี่ยหน้าใสคนนี้ไม่เคยลืมเลือนไปจากหัวใจเลยก็คื อการที่เขาได้จัดสร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกตทั้ง 3 ฤดู เมื่อปี พ.ศ.2538
"ครั้งนั้นเราได้รับมอบหมายจากสมาคมอัญมณีไทย ให้เป็นผู้จัดหาเครื่องทรงพระแก้วมรกตทั้ง 3 ฤดูแทนของเก่าที่ผลิตเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว เป็นงานที่ยากมากเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องเป็นผู้ทรงเองทั้ง 3 ฤดู ซึ่งเครื่องทรงแต่ละฤดูเราต้องพิถีพิถันให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เครื่องทรงบางฤดูใช้พลอยเป็นหมื่นชิ้น ไพลิน100 กะรัตกว่า 9 เม็ด และด้วยความตั้งใจทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดีดังจะเห็นได้จากเครื่องทรงพระแก้วมรกต ที่อยู่ในโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ดังเช่นทุกวันนี้" เสี่ยหนึ่งเล่าความประทับใจที่ไม่มีวันลืมเลือน

เมื่อพูดถึง บูล ริเวอร์ ไดมอนด์ ในอดีตทุกคนจะนึกถึง “ณรงค์-วิภาดา ธรรมาวรานุคุปต์” ผู้ก่อตั้งและสร้างชื่อแบรนด์จิวเวลรีให้เป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมอัญมณีมากว่า 30 ปี แต่ในปัจจุบันนี้ที่นับเป็นช่วงผลัดใบ ให้เจนเนอเรชัน 2อย่างบุตรทั้ง 3 คน ก้าวขึ้นมาสืบสานธุรกิจแทน จึงทำให้สาววัยเพียง 34 ปี อย่าง “นุ่น-ณิชยา ธรรมาวรานุคุปต์ เอครพานิช” เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญระดับเอ็กซ์เซกคูทีพ ไดเรกเตอร์ รับหน้าที่สำคัญในการเจียระไน บูล ริเวอร์ อันเป็นชื่อแบรนด์ที่หญิงสาวเป็นผู้ปรับเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ทั้งหมด ให้สว่างใสระยิบระยับอยู่ในหัวใจคนไทยทั้งประเทศ
ผู้บริหารสาวสวยบอกว่า เธอมีเวลาเรียนรู้งานที่จะเข้ามาสานต่องานจากบิดาแค่ปีครึ่งหลังจากที่ทราบว่าบิดาป่วยเป็นมะเร็ง แต่ด้วยความมุ่งมั่นในฐานะทายาทคนสุดท้องที่จะสืบทอดกิจการของครอบครัว อันเป็นความภาคภูมิใจของลูกๆ จึงทำให้ บูล ริเวอร์ เป็นแบรนด์ที่ไปนั่งอยู่ในหัวใจเพชรเลิฟเวอร์ทุกคน
"นุ่นเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจตั้งแต่อายุยังไม่มากค่ะ ตอนนั้นอายุ 23 ปี ที่จริงวางแผนว่า หลังเรียนจบอยากทำงานบริษัทอื่น ลองเป็นลูกจ้างสักระยะหนึ่ง แต่ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน เพราะนุ่นทำงานได้เพียงปีเดียวคุณพ่อก็ล้มป่วย เลยลาออกมาดูแลท่าน พอท่านเสียก็ไปเรียนต่อแล้วรีบกลับมาช่วยธุรกิจครอบครัวแบบเต็มตัว”
อีกสิ่งที่เป็นความท้าทายของผู้บริหารสาวในการมารับไม้ต่อจากผู้เป็นบิดา นั้นก็คือการเปลี่ยนโฉมและเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก บูล ริเวอร์ ไดมอนด์ เป็น บูล ริเวอร์
"สิ่งที่นุ่นต้องทำเป็นอันดับแรกหลังเข้ามาบริหารงานคือ การเปลี่ยนเป็นชื่อเหลือเพียงแค่ บลู ริเวอร์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ดูจากชื่อเราเห็นคำว่า ไดมอนด์ ก็คิดว่าธุรกิจหลักเราคือการจำหน่ายเพชร ซึ่งในความเป็นจริงเราเป็นแบรนด์จิวเวลรีที่มีความหลากหลาย ทั้งเพชรและพลอย และยังปรับแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น กระฉับกระเฉง โดยมีการเปลี่ยนโลโก้ จัดแบ่งคอลเลกชันใหม่และเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้า รวมไปถึงการนำแบรนด์ออกไปต่างประเทศ เปลี่ยนจากเป็นผู้ผลิตเป็นส่งออกเต็มตัว" ผู้บริหารสาวอธิบาย
อีกหนึ่งความแตกต่างที่ทำให้เครื่องประดับของบูล ริเวอร์ มีความแตกต่างและโดดเด่นไม่เป็นสองรองใครนั้น นุ่นบอกว่าสิ่งสำคัญอยู่ที่การดีไซน์ให้มีความทันสมัย และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ต้องคำนึงเสมอว่าเมื่อเพชรหรือเครื่องประดับไปอยู่ในเรือนร่างของผู้สวมใส่แล้ว จะต้องทำให้เขาดูสวยโดดเด้งสะกดทุกสายตาขึ้นมาทันที
"การออกแบบเครื่องประดับของเราแต่ละชิ้น โดยเฉพาะ เพชร ก่อนอื่นต้องดูกลุ่มลูกค้าก่อนว่าเป็นกลุ่มไหน ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 40-50 ปี เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเป็นของตัวเอง ดังนั้น การออกแบบเพชรของเรานอกจากเน้นความประณีตในการเจียระไนแล้ว ยังเน้นการดีไซน์ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ ที่ไม่ได้มีเพชรเพื่อเก็บไว้ในกรุ แต่ต้องนำมาสวมใส่ได้ในชีวิตจริง เครื่องประดับหนึ่งชิ้นต้องใส่ได้หลายอย่าง เช่น สร้อยคอ ก็ต้องนำมาประยุกต์ใส่เป็นกำไลแขน หรือเทียร่า เป็นต้น และการเลือกใส่เครื่องประดับของคนในยุคปัจจุบัน การซื้อเพชร 1 ชิ้นที่มากกว่าการเก็บไว้เก็งกำไรนั้น คือต้องนำเพชรที่ซื้อมาสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย และดูเก๋ไม่ซ้ำใครอีกด้วย"

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายแบรนด์อัญมณีที่มีเจ้าของเป็นคนไทย และไปเปล่งประกายอยู่ในทั่วทุกมุมโลกอาทิ
บริษัทยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การบริหารงานของ อัญรัตน์ พรประกฤต หญิงสาวร่างเล็กมากความสามารถ ทายาทคนเก่งของ วิโรจน์ พรประกฤต ที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจค้าเพชร เจนเนอเรชันที่ 4ของตระกูล ระยะเวลากว่า 15 ปีที่เธอเข้ามาขับเคลื่อนอาณาจักรเครื่องประดับเพชรยูบิลลี่ เธอสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพลิกโฉมเคาน์เตอร์แบรนด์เพชรจากสีน้ำเงินเป็นดำ สร้างสินค้านวัตกรรมด้วยกรรมวิธีฝังเพชร เจียระไนเพชรระดับ triple excellent diamond กระทั่งการผลักดันยูบิลลี่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ จึงทำให้ยูบิลลี่กลายเป็นน้ำหนึ่งแห่งวงการเพชรในเมืองไทยได้อย่างสวยงาม

ถ้าไม่พูดถึงไฮโซชื่อคุ้นหู ชูชัย ชัยฤทธิเลิศ ที่หลงใหลในแสงระยิบระยับของเพชรนิลจินดาจ้าของร้านเพชร 'เจมส์ พีซ บาย ชูชัย' ที่โด่งดังมานับทศวรรษคงไม่ได้ เพราะพ่อค้าเพชรคนนี้ถือเป็นต้นแบบของคนมีความฝันและสานฝันตัวเองจนเป็นจริง จากชีวิตปากกัดตีนถีบหาเงินเรียนต่อไม่ได้ ต้องลาออกมาหาเลี้ยงตัวเองลองผิดลองถูกอยู่ถึง 20 ปี กว่าเขาจะมีบูทขายเพชรกับกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่ง 5 วันทำเงินหลักล้าน ต่อมาอีก 2 ปี GemPeace by Chuchai จึงกำเนิดขึ้นที่ ดิ เอ็มโพเรียม จากนั้นก็เปิดสาขาที่สองและสาม ตามสถานที่ชอปปิงของคนรวยทั่วกรุงเทพฯ แต่ที่สร้างปรากฏการณ์สุดฮือฮาด้วยเครื่องประดับ “จับปิ้งเพชร” คลอดแบรนด์น้องใหม่ราคาเบาๆ ภายใต้ร่มเงา Gem Peaceในชื่อ Chuchai Gem Peace และ C2 by Chuchai 2009 ขายเพชรออนไลน์ พร้อมกับเปิดร้านแนวใหม่ C2 Diamond Loungeที่ขายทั้งเพชรและกาแฟในแห่งเดียวกัน

อีกหนึ่งแบรนด์จิวเวลรีสัญชาติไทยอย่าง ยลวารี (YOLWAREE) ของผู้บริหารสาวสวย อิง-ยลวารี สัตยนาวิน ลูกสาวคนเดียวของ สุวิชา-อ้อมทิพย์ สัตยนาวิน นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของตึกสูงและที่ดินมากมายย่านรัชดาฯ เธอรักและสนใจสะสมเครื่องประดับ เช่น แหวน กำไลข้อมือ และต่างหู มาตั้งแต่เด็ก จึงวางแผนไปเรียนทางด้านเครื่องประดับและการดูเพชร ที่ โรงเรียนอัญมณีศาสตร์และการออกแบบเครื่องประดับ (จีไอเอ) หรือ Gemological Institute of America เพื่อมาเปิด เฮาส์ออฟจิวเวลรี (Haus of Jewelry) ขายเครื่องประดับแบรนด์ดังนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึง “ยลวารี” จิวเวลรีแบรนด์ที่เธอก่อตั้งขึ้น ออกแบบดีไซน์เองทั้งหมด จนทำให้แบรนด์นี้กลายเป็นที่รู้จักและในหมู่เซเลบเมืองไทยและดาราคนดังเป็นจำนวนมาก ด้วยการออกแบบที่ทันสมัยและมีความสวยงามนั่นเอง

ส่วนอีกหนึ่งแบรนด์เพชรที่เป็นขวัญใจมหาเศรษฐีเมืองไทยก็คือ “เจมส์ พาวิลเลี่ยน” ภายใต้ปีกบริหารของนักธุรกิจไฮโซ ท็อป-ปิยะ อัจฉริยศรีพงศ์ ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องประดับที่เกิดขึ้นอย่างสง่างามและเติบโตมากว่า 20 ปีแล้ว ด้วยการออกแบบอัญมณีล้ำค่าที่ใช้วัตถุดิบชั้นสูงที่มี 3 องค์ประกอบสำคัญได้แก่ ดีไซน์ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เพชรและอัญมณีมีคุณภาพสูง และการผลิตงานฝีมือที่มีความประณีต จนกลายเป็นดีเอ็นเอของเจมส์ พาวิลเลียน ที่ว่า “ไม่ดีไม่ได้ ไม่สวยไม่ทำ”

สำหรับคนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่มีโอกาสได้รู้จักกับแบรนด์ NARA Joaillerie (นรา จอยเลอรี) ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท วี แอนด์ พี จิวเวลเลอร์รี่ มากนัก แต่ทว่าในตลาดโลกนั้น แบรนด์นี้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับ Fine Jewelery ระดับท็อปจากประเทศไทย โดยมี ทิพย์ นราธัศจรรย์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ด้วยความโดดเด่นเรื่องดีไซน์ มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละคอลเลกชันนั้นสวยคลาสสิกสมคุณค่า Fine Jewelry ไม่มีหลุดคอนเซ็ปต์จึงทำให้ “นรา จอยเลอรี” ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศนั้น
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของไฮโซขายเพชร ที่บางคนร่ำรวยจากธุรกิจนี้เป็นพันล้าน หากแต่ความร่ำรวยเหล่านี้ยังไม่เท่ากับความภูมิใจ ที่พวกเขาเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการนำพาเพชรน้ำหนึ่งของเมืองไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกว่า คนไทยมีดีและเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก
จึงไม่แปลกที่ไฮโซหลายคนผันตัวเองมาเป็น “เจ้าของร้านเพชร” ซะเลย เพราะนอกจากจะมีเพชรใส่อออกงานแล้ว อีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่อยู่ในเพชรเม็ดงามราคาหลายสิบล้านก็คือ พวกเขาเหล่านี้ได้เป็นผู้เจียระไนเพชรเม็ดงาม ออกไปประกาศศักดาให้คนทั่วโลกได้รู้ว่า ประเทศไทยมีอัญมณีอันล้ำค่าไม่แพ้ชาติในในโลก
ในแวดวงอัญมณีเมืองไทย ชื่อแรกที่แวบเข้ามาในหัวคือ เสี่ยหนึ่ง-สุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด นักธุรกิจหนุ่มหน้าใสวัย 45 กะรัต ที่เข้ามารับไม้ต่อในการบริหารอาณาจักรเพชรอันใหญ่โตจากผู้เป็นบิดา ดร.พรสิทธิ์ และคุณแม่ ดร.สุณี จนทำให้ทุกวันนี้เพชรของบิวตี้เจมส์โด่งดังไกลไปทั่วโลก ด้วยการส่งออกเพชรไปขายถึง 44 ประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกาและยุโรป ซึ่งนอกเหนือจากความร่ำรวยแล้ว อีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ทำให้ต่างชาติรู้จักเพชรที่เป็นบริษัทของคนไทย ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยนั่นเอง
เสี่ยหนึ่ง พูดถึงตลาดอัญมณีของไทยในทุกวันนี้ว่า เติบโตสูงกว่าทุกปี เพราะการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในเรื่องการเปิดอุตสาหกรรม AEC และการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวที่ประเทศไทย ได้เลือกซื้อเครื่องประดับเพชร หรืออัญมณีชิ้นงาม ที่เป็นสินค้าของคนไทยติดไม้ติดมือไปเป็นของฝาก หรือเก็บไว้เป็นของที่ระลึก จึงทำให้ ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีภายในประเทศ มีเงินหมุนเวียนมากถึงปีละ5แสนล้านบาท และมีผู้ประกอบการที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมอัญมณีถึง 2 ล้านคน
เสี่ยหนึ่งบอกว่าปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมเพชรในเมืองไทยใหญ่เป็นอันดับ3 ของประเทศนั้น กลุ่มคนที่มีความสำคัญไม่แพ้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ก็คือ “ช่าง” นั่นเอง สำหรับบิวตี้เจมส์ สิ่งที่เสี่ยหนึ่งภูมิใจมากที่สุดก็คือ โรงงานผลิตเพชรของเขานั้นล้วนเป็นช่างชาวไทยแทบทั้งสิ้น
"ฝีมือช่างชาวไทยเก่งและดีไม่แพ้ชาติใดในโลก โดยเฉพาะ เรื่องความประณีต และหนึ่งในความภูมิใจของผมคือ เราได้เห็นเพชรหรืออัญมณีที่บิวตี้เจมส์ส่งออกไปขายยังต่างประเทศทั้ง 44 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป อเมริกา หรือราชวงศ์สวีเดน ราชวงศ์บรูไน ฯลฯ และประเทศในแถบAEC อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซียฯ เป็นเพชรที่ผลิตโดยบริษัทคนไทยและเป็นฝีมือช่างชาวไทย"
ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปีที่เสี่ยหนึ่งเข้ามาสานต่อฝันของคุณพ่อ ที่อยากให้เพชรของบิวตี้เจมส์โด่งดังไปทั่วโลก แล้วทุกวันนี้เขาก็ได้สร้างอาณาจักรเพชรอันใหญ่โตอยู่ในหัวใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแล้ว อีกหนึ่งความประทับใจที่เสี่ยหน้าใสคนนี้ไม่เคยลืมเลือนไปจากหัวใจเลยก็คื อการที่เขาได้จัดสร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกตทั้ง 3 ฤดู เมื่อปี พ.ศ.2538
"ครั้งนั้นเราได้รับมอบหมายจากสมาคมอัญมณีไทย ให้เป็นผู้จัดหาเครื่องทรงพระแก้วมรกตทั้ง 3 ฤดูแทนของเก่าที่ผลิตเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว เป็นงานที่ยากมากเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องเป็นผู้ทรงเองทั้ง 3 ฤดู ซึ่งเครื่องทรงแต่ละฤดูเราต้องพิถีพิถันให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เครื่องทรงบางฤดูใช้พลอยเป็นหมื่นชิ้น ไพลิน100 กะรัตกว่า 9 เม็ด และด้วยความตั้งใจทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดีดังจะเห็นได้จากเครื่องทรงพระแก้วมรกต ที่อยู่ในโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ดังเช่นทุกวันนี้" เสี่ยหนึ่งเล่าความประทับใจที่ไม่มีวันลืมเลือน
เมื่อพูดถึง บูล ริเวอร์ ไดมอนด์ ในอดีตทุกคนจะนึกถึง “ณรงค์-วิภาดา ธรรมาวรานุคุปต์” ผู้ก่อตั้งและสร้างชื่อแบรนด์จิวเวลรีให้เป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมอัญมณีมากว่า 30 ปี แต่ในปัจจุบันนี้ที่นับเป็นช่วงผลัดใบ ให้เจนเนอเรชัน 2อย่างบุตรทั้ง 3 คน ก้าวขึ้นมาสืบสานธุรกิจแทน จึงทำให้สาววัยเพียง 34 ปี อย่าง “นุ่น-ณิชยา ธรรมาวรานุคุปต์ เอครพานิช” เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญระดับเอ็กซ์เซกคูทีพ ไดเรกเตอร์ รับหน้าที่สำคัญในการเจียระไน บูล ริเวอร์ อันเป็นชื่อแบรนด์ที่หญิงสาวเป็นผู้ปรับเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ทั้งหมด ให้สว่างใสระยิบระยับอยู่ในหัวใจคนไทยทั้งประเทศ
ผู้บริหารสาวสวยบอกว่า เธอมีเวลาเรียนรู้งานที่จะเข้ามาสานต่องานจากบิดาแค่ปีครึ่งหลังจากที่ทราบว่าบิดาป่วยเป็นมะเร็ง แต่ด้วยความมุ่งมั่นในฐานะทายาทคนสุดท้องที่จะสืบทอดกิจการของครอบครัว อันเป็นความภาคภูมิใจของลูกๆ จึงทำให้ บูล ริเวอร์ เป็นแบรนด์ที่ไปนั่งอยู่ในหัวใจเพชรเลิฟเวอร์ทุกคน
"นุ่นเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจตั้งแต่อายุยังไม่มากค่ะ ตอนนั้นอายุ 23 ปี ที่จริงวางแผนว่า หลังเรียนจบอยากทำงานบริษัทอื่น ลองเป็นลูกจ้างสักระยะหนึ่ง แต่ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน เพราะนุ่นทำงานได้เพียงปีเดียวคุณพ่อก็ล้มป่วย เลยลาออกมาดูแลท่าน พอท่านเสียก็ไปเรียนต่อแล้วรีบกลับมาช่วยธุรกิจครอบครัวแบบเต็มตัว”
อีกสิ่งที่เป็นความท้าทายของผู้บริหารสาวในการมารับไม้ต่อจากผู้เป็นบิดา นั้นก็คือการเปลี่ยนโฉมและเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก บูล ริเวอร์ ไดมอนด์ เป็น บูล ริเวอร์
"สิ่งที่นุ่นต้องทำเป็นอันดับแรกหลังเข้ามาบริหารงานคือ การเปลี่ยนเป็นชื่อเหลือเพียงแค่ บลู ริเวอร์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ดูจากชื่อเราเห็นคำว่า ไดมอนด์ ก็คิดว่าธุรกิจหลักเราคือการจำหน่ายเพชร ซึ่งในความเป็นจริงเราเป็นแบรนด์จิวเวลรีที่มีความหลากหลาย ทั้งเพชรและพลอย และยังปรับแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น กระฉับกระเฉง โดยมีการเปลี่ยนโลโก้ จัดแบ่งคอลเลกชันใหม่และเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้า รวมไปถึงการนำแบรนด์ออกไปต่างประเทศ เปลี่ยนจากเป็นผู้ผลิตเป็นส่งออกเต็มตัว" ผู้บริหารสาวอธิบาย
อีกหนึ่งความแตกต่างที่ทำให้เครื่องประดับของบูล ริเวอร์ มีความแตกต่างและโดดเด่นไม่เป็นสองรองใครนั้น นุ่นบอกว่าสิ่งสำคัญอยู่ที่การดีไซน์ให้มีความทันสมัย และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ต้องคำนึงเสมอว่าเมื่อเพชรหรือเครื่องประดับไปอยู่ในเรือนร่างของผู้สวมใส่แล้ว จะต้องทำให้เขาดูสวยโดดเด้งสะกดทุกสายตาขึ้นมาทันที
"การออกแบบเครื่องประดับของเราแต่ละชิ้น โดยเฉพาะ เพชร ก่อนอื่นต้องดูกลุ่มลูกค้าก่อนว่าเป็นกลุ่มไหน ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 40-50 ปี เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเป็นของตัวเอง ดังนั้น การออกแบบเพชรของเรานอกจากเน้นความประณีตในการเจียระไนแล้ว ยังเน้นการดีไซน์ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ ที่ไม่ได้มีเพชรเพื่อเก็บไว้ในกรุ แต่ต้องนำมาสวมใส่ได้ในชีวิตจริง เครื่องประดับหนึ่งชิ้นต้องใส่ได้หลายอย่าง เช่น สร้อยคอ ก็ต้องนำมาประยุกต์ใส่เป็นกำไลแขน หรือเทียร่า เป็นต้น และการเลือกใส่เครื่องประดับของคนในยุคปัจจุบัน การซื้อเพชร 1 ชิ้นที่มากกว่าการเก็บไว้เก็งกำไรนั้น คือต้องนำเพชรที่ซื้อมาสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย และดูเก๋ไม่ซ้ำใครอีกด้วย"
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายแบรนด์อัญมณีที่มีเจ้าของเป็นคนไทย และไปเปล่งประกายอยู่ในทั่วทุกมุมโลกอาทิ
บริษัทยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การบริหารงานของ อัญรัตน์ พรประกฤต หญิงสาวร่างเล็กมากความสามารถ ทายาทคนเก่งของ วิโรจน์ พรประกฤต ที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจค้าเพชร เจนเนอเรชันที่ 4ของตระกูล ระยะเวลากว่า 15 ปีที่เธอเข้ามาขับเคลื่อนอาณาจักรเครื่องประดับเพชรยูบิลลี่ เธอสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพลิกโฉมเคาน์เตอร์แบรนด์เพชรจากสีน้ำเงินเป็นดำ สร้างสินค้านวัตกรรมด้วยกรรมวิธีฝังเพชร เจียระไนเพชรระดับ triple excellent diamond กระทั่งการผลักดันยูบิลลี่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ จึงทำให้ยูบิลลี่กลายเป็นน้ำหนึ่งแห่งวงการเพชรในเมืองไทยได้อย่างสวยงาม
ถ้าไม่พูดถึงไฮโซชื่อคุ้นหู ชูชัย ชัยฤทธิเลิศ ที่หลงใหลในแสงระยิบระยับของเพชรนิลจินดาจ้าของร้านเพชร 'เจมส์ พีซ บาย ชูชัย' ที่โด่งดังมานับทศวรรษคงไม่ได้ เพราะพ่อค้าเพชรคนนี้ถือเป็นต้นแบบของคนมีความฝันและสานฝันตัวเองจนเป็นจริง จากชีวิตปากกัดตีนถีบหาเงินเรียนต่อไม่ได้ ต้องลาออกมาหาเลี้ยงตัวเองลองผิดลองถูกอยู่ถึง 20 ปี กว่าเขาจะมีบูทขายเพชรกับกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่ง 5 วันทำเงินหลักล้าน ต่อมาอีก 2 ปี GemPeace by Chuchai จึงกำเนิดขึ้นที่ ดิ เอ็มโพเรียม จากนั้นก็เปิดสาขาที่สองและสาม ตามสถานที่ชอปปิงของคนรวยทั่วกรุงเทพฯ แต่ที่สร้างปรากฏการณ์สุดฮือฮาด้วยเครื่องประดับ “จับปิ้งเพชร” คลอดแบรนด์น้องใหม่ราคาเบาๆ ภายใต้ร่มเงา Gem Peaceในชื่อ Chuchai Gem Peace และ C2 by Chuchai 2009 ขายเพชรออนไลน์ พร้อมกับเปิดร้านแนวใหม่ C2 Diamond Loungeที่ขายทั้งเพชรและกาแฟในแห่งเดียวกัน
อีกหนึ่งแบรนด์จิวเวลรีสัญชาติไทยอย่าง ยลวารี (YOLWAREE) ของผู้บริหารสาวสวย อิง-ยลวารี สัตยนาวิน ลูกสาวคนเดียวของ สุวิชา-อ้อมทิพย์ สัตยนาวิน นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของตึกสูงและที่ดินมากมายย่านรัชดาฯ เธอรักและสนใจสะสมเครื่องประดับ เช่น แหวน กำไลข้อมือ และต่างหู มาตั้งแต่เด็ก จึงวางแผนไปเรียนทางด้านเครื่องประดับและการดูเพชร ที่ โรงเรียนอัญมณีศาสตร์และการออกแบบเครื่องประดับ (จีไอเอ) หรือ Gemological Institute of America เพื่อมาเปิด เฮาส์ออฟจิวเวลรี (Haus of Jewelry) ขายเครื่องประดับแบรนด์ดังนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึง “ยลวารี” จิวเวลรีแบรนด์ที่เธอก่อตั้งขึ้น ออกแบบดีไซน์เองทั้งหมด จนทำให้แบรนด์นี้กลายเป็นที่รู้จักและในหมู่เซเลบเมืองไทยและดาราคนดังเป็นจำนวนมาก ด้วยการออกแบบที่ทันสมัยและมีความสวยงามนั่นเอง
ส่วนอีกหนึ่งแบรนด์เพชรที่เป็นขวัญใจมหาเศรษฐีเมืองไทยก็คือ “เจมส์ พาวิลเลี่ยน” ภายใต้ปีกบริหารของนักธุรกิจไฮโซ ท็อป-ปิยะ อัจฉริยศรีพงศ์ ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องประดับที่เกิดขึ้นอย่างสง่างามและเติบโตมากว่า 20 ปีแล้ว ด้วยการออกแบบอัญมณีล้ำค่าที่ใช้วัตถุดิบชั้นสูงที่มี 3 องค์ประกอบสำคัญได้แก่ ดีไซน์ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เพชรและอัญมณีมีคุณภาพสูง และการผลิตงานฝีมือที่มีความประณีต จนกลายเป็นดีเอ็นเอของเจมส์ พาวิลเลียน ที่ว่า “ไม่ดีไม่ได้ ไม่สวยไม่ทำ”
สำหรับคนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่มีโอกาสได้รู้จักกับแบรนด์ NARA Joaillerie (นรา จอยเลอรี) ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท วี แอนด์ พี จิวเวลเลอร์รี่ มากนัก แต่ทว่าในตลาดโลกนั้น แบรนด์นี้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับ Fine Jewelery ระดับท็อปจากประเทศไทย โดยมี ทิพย์ นราธัศจรรย์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ด้วยความโดดเด่นเรื่องดีไซน์ มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละคอลเลกชันนั้นสวยคลาสสิกสมคุณค่า Fine Jewelry ไม่มีหลุดคอนเซ็ปต์จึงทำให้ “นรา จอยเลอรี” ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศนั้น
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของไฮโซขายเพชร ที่บางคนร่ำรวยจากธุรกิจนี้เป็นพันล้าน หากแต่ความร่ำรวยเหล่านี้ยังไม่เท่ากับความภูมิใจ ที่พวกเขาเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการนำพาเพชรน้ำหนึ่งของเมืองไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกว่า คนไทยมีดีและเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก