xs
xsm
sm
md
lg

ใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะแบบ เพชร-บุญญาภาณิ์ เบญจรงคกุล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บุญญาภาณิ์ เบญจรงคกุล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA)
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ทุกวันนี้ศิลปะได้แทรกซึมเข้ามาอยู่ในการดำเนินชีวิตของเรา ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว เพราะว่าทั้งสองสิ่งนี้เป็นของคู่กัน แต่การจะใช้ชีวิตให้มีศิลปะนั้นไม่ง่าย เพราะเงื่อนไขชีวิตแต่ละคนนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมด้วยเวลาที่มีติดตัวเท่ากันคือ 24 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน เพชร-บุญญาภาณิ์ เบญจรงคกุล คือหนึ่งในตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ ที่แสดงให้เราเห็นว่า การบริหารความสมดุลของของชีวิตที่ดีนั้นเป็นอย่างไร

 
ปลายสัปดาห์ที่ฟ้าฉ่ำฝน เรามีนัดคุยกับอีกหนึ่งเพชรน้ำงาม บุญญาภาณิ์ เบญจรงคกุล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA) ลูกสาวคนสวยของ บุญชัย เบญจรงคกุล กับ คุณแม่วรรณา ที่หายหน้าหายตาไปซุ่มศึกษางานด้านศิลปะที่นิวยอร์ก ก่อนถูกพ่อเรียกตัวกลับดูแล MOCA สถานที่จัดเก็บงานศิลปะทรงคุณค่าของบุญชัย ที่ตั้งใจก่อตั้งให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษา และสัมผัสงานฝีมือศิลปินชั้นนำทั่วโลก

เพชรเริ่มต้นเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอกับงานศิลปะว่า สนใจมาตั้งแต่เด็ก ส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่ได้เห็นพ่อเก็บสะสมงานศิลปะมาตั้งแต่เด็ก และซึมซับเพิ่มมากขึ้นเมื่อตอนไปเรียนที่อังกฤษ ที่ปลูกฝังให้เด็กทุกคนได้เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะนั่นเอง และเมื่อพ่อเริ่มโครงการ MOCA เธอจึงไปเรียนศิลปะเพิ่มที่ Sotheby’s Institute of Art นิวยอร์ก เพื่อกลับมาช่วยงานพ่อ

 
การเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการ MOCA ของสาวเพชรนั้น ดูเหมือนจะสวนทางกับหลักการเลี้ยงลูกของ “บุญชัย” ที่เคยบอกเสมอว่า ให้อิสระในการดำเนินชีวิตกับลูกทุกคน แต่เมื่อ “เพชร” ผู้เป็นลูกสาวรักงานศิลปะเหมือนกับเขา เขาจึงยกตำแหน่งผู้อำนวยการ MOCA ให้ด้วยความเต็มใจ

“ตอนเข้ามารับงาน พ่อไม่ได้สอนอะไร แต่จะบอกจุดมุ่งหมายและเป้าหมายว่า ภายใน 5 ปี 10 ปีข้างหน้า อยากเห็นพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างไร ซึ่งเพชรก็พยายามทำให้ได้ตามที่พ่อบอก หน้าที่หลักคือ บริหารจัดการทุกอย่าง ทำประชาสัมพันธ์ การตลาด ดูแลการจัดนิทรรศการต่างๆ ยกเว้นเรื่องเดียวคือ ชิ้นงานที่จะนำมาโชว์ในพิพิธภัณฑ์ ตรงนี้คุณพ่อยังทำอยู่ค่ะ อย่างพอรู้ว่าที่ไหนมีงานน่าสนใจคุณพ่อจะไปดูทันที”

 
เพชรยังบอกอีกว่า มุมมองเรื่องศิลปะของเธอกับพ่อนั้นต่างกัน พ่อมองศิลปะชั้นสูง แต่ศิลปะของเธอนั้น ไม่จำกัดรูปแบบ เธอชอบศิลปะความคิดสร้างสรรค์ที่เสนอออกมาในลักษณะสวยงาม รับรู้ได้ตรงไปตรงมา

"เพชรชอบศิลปะสไตล์โมเดิร์น แบบป๊อป อาร์ต ชอบอะไรดูสดใส เห็นแล้วมีความสุข บางชิ้นก็ดูจะเป็นการ์ตูนเล็กๆ เป็นงานที่ขายได้กึ่งๆ คอมเมอร์เชียล เช่น งานของ KAWS หรือ งานมูรากามิของ หลุยส์ วิตตอง คือเห็นแล้วสามารถหยิบจับได้ ศิลปะแบบที่เรานำมาสกรีนเสื้อหรือกระเป๋าได้ แต่ของพ่อจะเป็นแบบภาพเขียนของศิลปินดัง และงานประติมากรรมเป็นหลักค่ะ"

แม้รสนิยมทางด้านศิลปะ ระหว่างเธอกับพ่อจะแตกต่างกัน แต่เมื่อพ่อวางใจให้เธอเข้ามาบริหารงานแล้ว เธอก็ต้องทำให้ได้ดีตามที่พ่อตั้งเป้าหมายไว้ให้ได้

 
สำหรับการทำงานของเธอนั้น เธอยอมรับว่าในช่วงแรกมีปัญหาไม่เข้าใจวิธีการทำงาน เพราะการทำงานกับองค์กรของครอบครัว ทำให้เผลอติดความเป็น พ่อ-ลูก พอมีเรื่องปุ๊บยังไม่ทันได้แก้ปัญหา เธอก็ปรึกษาพ่อทันที ซึ่งจุดนี้เธอมองว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะการทำงานที่ดีต้องวางตัวให้เป็นเพียงลูกจ้างคนหนึ่งเท่านั้น

"พ่อไม่เคยชม หรือให้กำลังใจมากนัก เขาจะมองห่างๆ และทุกอาทิตย์ครอบครัวเราจะต้องไปมีตติ้งกัน มีปัญหาอะไรเพชรจะปรึกษาคุณพ่อตรงนั้น ทั้งในเรื่องงานและการใช้ชีวิต แต่พ่อทำงานหลายอย่าง ค่อนข้างยุ่ง เดี๋ยวนี้ถ้าที่ทำงานมีปัญหาอะไรเพชเมื่อถามถึงผลการดำเนินงานของ MOCA เพชรบอกว่าเริ่มดีขึ้น คนไทยหันมาให้ความสนใจงานศิลปะมากขึ้น ก่อนจากกันเธอยังบอกอีกว่า ในอนาคต คงได้เห็นพิพิธภัณฑ์เฟส 2 อย่างแน่นอนรก็พยายามแก้ไขเองก่อนค่ะ”

อนึ่ง MOCA  หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง ได้เงินสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ ไม่เหมือนกับพิพิธภัณฑ์ของต่างประเทศ องค์กรต้องอยู่รอดด้วยตัวเอง หารายได้จากการขายตั๋ว ผลิตหนังสือ จัดนิทรรศการ แต่ยังคงยืนอยู่บนพื้นฐานของการตอบแทนสังคม เปิดโลกศิลปะให้นิสิต นักศึกษาเข้ามาหาความรู้ที่นี่ได้

กำลังโหลดความคิดเห็น