xs
xsm
sm
md
lg

ปรางค์-อภินรา ศรีกาญจนา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปรางค์-อภินรา ศรีกาญจนา เซเลบสาวหน้าหวานรูปร่างบอบบาง หากดูผิวเผินเหมือนเด็กสาวรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องความสวยความงาม หากแต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดและพูดคุยกับเธอแล้ว ทำให้รู้สาวคนนี้มีไม่ธรรมดา เพราะแค่ช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ไปเผชิญชีวิตในต่างแดนทำให้เธอมีมุมมองชีวิตที่น่าสนใจ อีกทั้งยังผ่านเรื่องราวหลากหลาย ทำให้เธอแข็งแกร่งสมเป็นสาวสมัยใหม่

 
ปรางค์-อภินรา เป็นลูกคนโตในสามใบเถาว์ของ จุลพยัพ ศรีกาญจนา เจ้าของบริษัท เอเชียประกันภัย กับ ยูกิ-นราวดี ผู้บริหาร เพนดูลัม และร้านอาหารนารา หลังจบมหาวิทยาลัยวาเซดะ จากญี่ปุ่น ก่อนจะเหินฟ้าไปต่อปริญญาโทที่อังกฤษ เพื่อนำใบปริญญาบัตรกลับมาเป็นของขวัญใหคูณพ่อ-คูณแม่

ซึ่งทันทีที่กลับถึงไทยทั้งคุณพ่อ ชวนไปช่วยงานที่บริษัท แต่ก็ปฎิเสธไปเพราะมองว่าธุรกิจประกันภัยของพ่อดูแมนเกินไปไม่เหมาะกับผู้หญิง “ถ้าถามทำได้มั๊ย ปรางทำได้ค่ะ แต่ไม่ทำเพราะคิดว่าไม่เหมาะกับตัวเอง ปรางไม่เคยปิดกั้นตัวเองนะคะ วันข้างหน้าหากคุณพ่ออยากให้ช่วยหรือคิดเรื่องกรมธรรม์ประกันภัยเกี่ยวกับผู้หญิงปรางก็ต้องช่วย”

 
หลังปฏิเสธคุณพ่อไปแล้วปรางจึงเข้าไปทำงานบริษัท ซิเซโด้ จำกัด เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่เมื่อถึงจุดที่ชีวิตพลิกผัน วันที่ร้านอาหารที่คุณแม่ทำขึ้นมาด้วยความชอบส่วนตัว กลายเป็นธุรกิจที่เริ่มเติบใหญ่ขึ้น สาวน้อยคนนี้จึงตัดสินใจลาออกจากซิเซโด้เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานแม่ทันที

“ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องมาทำงานตรงนี้เลย แต่งานร้านอาหารนาราที่เคยเป็นร้านเล็กๆ ตอนนี้ต้องขยายสาขาเพิ่ม คุณแม่เริ่มเหนื่อยแล้วยังขาดคนดูแลปรางจึงต้องมาช่วยคุณแม่ก่อน”

 
ในวันที่ต้องละจากงานบริษัทญี่ปุ่น มาดูแลธุรกิจร้านอาหารไทยของตัวเอง ที่แม้จะระบบงานจะแตกต่างกัน แต่นั้นไม่ใช่ปัญหา โดยปรางบอกว่า งานร้านอาหารเป็นงานที่ละเอียดและหนักมาก ถ้าไม่ลงไปทำด้วยตัวเองจะไม่มีทางรู้ว่าเป็นงานที่เหนื่อยมากมาย

“คุณแม่พูดเสมอว่า พนักงานทุกคนเป็นเหมือนคนในครอบครัว ปรางค์ให้ความสำคัญในเรื่องของจิตใจ เพราะมีเรื่องจุกจิกเยอะมาก อย่างบางคนเจอลูกค้าบ่นว่า บางคนมีปัญหาสุขภาพเขาไม่สบายต้องรีบเข้าไปดู ปรางค์เคยเสิร์ฟอาหารที่ญี่ปุ่นเพราะอยากมีรายได้ คุณแม่ก็สนับสนุนเพราะไม่อยากให้ลูกคิดว่าต้องคุณหนู ตอนนั้นทำทุกอย่างตั้งแต่เอาผ้าร้อนให้ลูกค้า รินชากาแฟเอง เหนื่อยมาก ปรางล้างจานจนเล็บฉีก ใส่ชุดไทยเสิร์ฟ ยืนตั้งแต่ห้าโมงเช้าถึงเที่ยงคืน วันแรกเสิร์ฟวันรุ่งขึ้นน็อคไข้ขึ้น (หัวเราะ) เจ้านายที่ร้านอาหารโทรมาตามให้ไปทำงานแต่ไปไม่ไหว มันปวดร้าวไปทั้งตัวจำได้ว่าไปเรียนไม่ไหวเลยค่ะ”

 
กับตำแหน่งสาวนักบริหารหน้าใหม่ที่อายุยังน้อยนัก ปรางค์ยอมรับว่าหนักบ้าง แต่ด้วยความที่เป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่งทำให้เธอรู้สึกสนุกมากกว่า โดยปรางยึดหลักการทำงานแบบลูกผสมคือนำเอาหลักบริหารงานที่มีวินัยแบบญี่ปุ่น มาผสมกับการทำงานแบบไทยที่อาศัยความคล่องตัวเป็นหลัก

 
“บริษัทญี่ปุ่นดีตรงที่เขามีวินัยมาก มีอะไรเขาจะรายงานตรงเจ้านายก่อน ทุกอย่างมาเป็นขั้นตอน มีระบบระเบียบ มีวินัย เข้าทำงานตรงเวลา ให้ความใส่ใจกับทุกรายละเอียด อย่างเวลาเราไปซื้อของ กว่าเขาจะพับจะแพคของให้เราได้ต้องใช้เวลานานพอสมควร ถ้าฝนตกห่อเสร็จแล้วเขาจะเอาพลาสติกคลุมให้ก่อนออกจากห้าง ทำให้เห็นว่าทุกสิ่งเขาคิดมาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุด แต่ของไทยบางทีทำไปก่อนแล้วไปแก้ที่หลัง มีเดินแฟชั่นแล้วไฟดับถ้าเป็นคนไทยก็จะเรียกช่างไปซ่อมเลย แต่ถ้าเป็นของญี่ปุ่นต้องแจ้งหัวหน้า หัวหน้าแจ้งเจ้านาย ทีนี้กว่าจะผ่านแต่ละขั้นตอนมันช้ามาก แต่ถ้าเราเอาความคล่องตัวมาใช้กับความเป็นระบบระเบียบของญี่ปุ่นก็จะเป็นการมิกซ์ที่ได้บรานซ์พอดี"  อภินารากล่าว

 
เมื่อถามถึงวันเวลาว่างในตอนนี้ ปรางค์บอกว่า มีเรียนภาษาจีน และภาษาอังกฤษเพิ่มเติม หากว่าก็ไปเที่ยวกับน้องสาว และหากเธอเครียด เธอจะใช้วิธีนั่งสมาธิซึ่งทำเองที่บ้านและถ้ามีเวลาก็จะไปปฎิบัติธรรมที่วัด “เรื่องปฎิธรรม ปรางทำมา 2 ปีกว่าแล้ว มัดหมี่เป็นคนชวนไป พอไปนั่งแล้วเรารู้สึกสงบกลับมาทำงานแล้วรู้สึกโล่งมากค่ะ” สาวสวยหน้าหวานกล่าวทิ้งท้ายก่อนจากกัน

 
จากคำพูดที่ชัดเจนฉะฉานทำให้เราอดชื่นชมเอไม่ได้ ซึ่งเธอเองยังกล่าวอย่างถ่อมตัวว่า ทั้งหมดเอได้มาจากพ่อและแม่ บวกกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยที่เธอได้พบ เอเองยังยอมรับว่าโชคดีที่ได้พบเจอแต่สิ่งดีๆ ที่เมื่อนำมาหลอมรวมกันแล้วทำให้เธอเป็นหญิงสาวที่ไม่ต่างไปจากคุณแม่ของเธอเลย

กำลังโหลดความคิดเห็น