By Lady Manager
เข้าปลายฝนต้นหนาวแล้ว เสียงไอจามค่อกแค่กเริ่มดังให้ได้ยินถี่ขึ้นเรื่อยๆ จากคนรอบตัว
…ถึงเทศกาล เป็นหวัด กันอีกแล้วสินะ!!
จากสถิติพบว่า โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก-คนสูงอายุมากกว่า
“หวัดเป็นโรคที่หายได้เองด้วยการดูแลตัวเองอย่างง่ายๆ ก็สามารถหายได้ภายในไม่กี่วัน” นพ. อิทธิชัย วัชรีคุปต์ แพทย์สาขาอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 กล่าว
“เราจะรู้สึกตัวว่าเป็นหวัดเมื่อเริ่มรู้สึกล้าๆ ตัวรุมๆ เจ็บคอ ไอ เริ่มมีน้ำมูกใสๆ หรือมีอากาศปวดศีรษะร่วมด้วย โรคจะเริ่มแสดงอาการหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคภายใน 16 ชั่วโมง และจะมีอาการหนักที่สุดภายใน 2-4 วันหลังเริ่มแสดงอาการ ซึ่งปกติจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน”
คุณหมออิทธิชัยเจาะประเด็นอาการหวัดอันเนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงต่อว่า
“ช่วงเปลี่ยนฤดู เรามักจะเป็นหวัดได้ง่ายเมื่อถูกลมแรงๆ ในช่วงก่อนฝนตกและถูกละอองฝน ลมที่พัดแรงก่อนฝนตกจะทำให้เชื้อไวรัสที่อยู่ตามพื้นดินฟุ้งกระจาย รวมทั้งอากาศที่เย็นลงทำให้เชื้อไวรัสอยู่ได้นานขึ้น ดังนั้นเมื่อเราสูดเอาละอองฝุ่นเข้าไป จะทำให้มีเชื้อไวรัสเกาะติดอยู่ที่โพรงจมูก และหากถูกไอฝนร่วมด้วยจะทำให้อุณหภูมิภายในเยื้อบุโพรงจมูกลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสหวัด”
ดังนั้นควรป้องกันโรคหวัดได้ด้วยการใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดจมูกและปาก เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย
แต่ถ้าใครเปียกหรือถูกละอองฝนแล้ว หมอแนะนำให้ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้ โดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือมือปิดบนบริเวณโพรงจมูกส่วนบนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสหวัดเจริญเติบโตได้ยากขึ้น
“ช่วงหน้าหนาว เราก็มักจะเป็นหวัดกันง่ายขึ้น และเดี๋ยวนี้อากาศเปลี่ยนแปลงสลับไปมา เช้าร้อน บ่ายฝน กลางคืนเย็น ทำให้ร่างกายต้องปรับระบบสมดุลภายใน ส่งผลให้ภูมิต้านทานลดต่ำลง อากาศที่แห้งในช่วงหน้าหนาวทำให้เซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์เยื่อบุโพรงจมูก คอ หลอดลม ฯลฯ แห้งลงกว่าเดิม ทำให้ไม่มีน้ำมูก (เมือก) มาป้องกันเซลล์จากเชื้อโรค เชื้อโรคเลยสัมผัสกับเซลล์โดยตรง รวมกับอากาศที่เย็นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสหวัด
ในขณะที่ประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายลดลง ตัวเราและคนรอบข้างจึงมักจะเป็นหวัด ภูมิแพ้ และโรคต่างๆ ที่เกิดจากทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สังเกตง่ายๆ ว่าช่วงหน้าหนาวผิวจะแห้งและจะพบว่ามีน้ำมูกแห้งติดอยู่ในโพรงจมูกมากกว่าช่วงหน้าอื่นๆ”
คุณหมอยังแนะนำว่า เมื่อเริ่มเป็นหวัด ไม่ควรรับประทานยาแก้ไข้ทันที่ที่รู้สึกว่าตัวรุมๆ เพราะร่างกายกำลังเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย การทานยาลดไข้จะกลับทำให้ขัดขวางการทำงานของระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย
การป้องกัน สามารถทำได้โดยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายด้วยวิธีง่ายๆ คือ รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศ เช่น ต้มยำไก่ร้อนๆ ที่รสไม่จัดจ้าน เพราะสมุนไพรสดที่ใส่อยู่ในต้มยำมีฤทธิ์ต้านอาการหวัดได้เป็นอย่างดี อย่าง พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด และในเนื้อไก่ยังมีสารซีสเทอีน (Cysteine) ซึ่งสามารถช่วยลดอาการไอ และคัดจมูกลงได้
ควรรับประทานผัก, ผลไม้, ถั่วที่มีวิตามินเอ, ซี, อี เข้านอนแต่หัวค่ำเมื่อเริ่มมีอาการและนอนให้ได้อย่างน้อย 7 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะการนอนหลับ และใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นจะทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจากเชื้อโรคต่างๆ รวมทั้งเชื้อหวัดได้ดี
ที่สำคัญ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งหลาย เพราะความเครียดทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
อย่าลืม หมั่นดื่มน้ำอุ่นๆ เพราะน้ำอุ่นช่วยลดเสมหะ ขับเสมหะ ลดอาการเจ็บคอ และช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้นเพราะทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น ถ้ารู้สึกว่าจมูกไม่โล่งก็ควรสูดไอน้ำร้อน นอนหมอนสูง หรือใช้ผ้าร้อนบริเวณดั้งจมูกก็จะช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น
ควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ หรือเดิน หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนมาก และเป็นห้องแอร์ เพราะเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคอื่นเพิ่ม กลั้วคอด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบริเวณลำคอ
แน่นอน ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“หากเริ่มรู้สึกตัวว่ากำลังจะเป็นหวัด การดูแลตัวเองตั้งแต่ช่วงแรกที่มีอาการจะช่วยลดอาการรุนแรงของโรคได้ รวมทั้งลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เพราะการป้องกันโรคหวัดที่ดีที่สุดคือ การดูแลตัวเองตามที่แนะนำ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูปลายฝนต้นหนาวที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้ ” คุณหมออิทธิชัยฝากทิ้งท้าย
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
เข้าปลายฝนต้นหนาวแล้ว เสียงไอจามค่อกแค่กเริ่มดังให้ได้ยินถี่ขึ้นเรื่อยๆ จากคนรอบตัว
…ถึงเทศกาล เป็นหวัด กันอีกแล้วสินะ!!
จากสถิติพบว่า โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก-คนสูงอายุมากกว่า
“หวัดเป็นโรคที่หายได้เองด้วยการดูแลตัวเองอย่างง่ายๆ ก็สามารถหายได้ภายในไม่กี่วัน” นพ. อิทธิชัย วัชรีคุปต์ แพทย์สาขาอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 กล่าว
“เราจะรู้สึกตัวว่าเป็นหวัดเมื่อเริ่มรู้สึกล้าๆ ตัวรุมๆ เจ็บคอ ไอ เริ่มมีน้ำมูกใสๆ หรือมีอากาศปวดศีรษะร่วมด้วย โรคจะเริ่มแสดงอาการหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคภายใน 16 ชั่วโมง และจะมีอาการหนักที่สุดภายใน 2-4 วันหลังเริ่มแสดงอาการ ซึ่งปกติจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน”
คุณหมออิทธิชัยเจาะประเด็นอาการหวัดอันเนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงต่อว่า
“ช่วงเปลี่ยนฤดู เรามักจะเป็นหวัดได้ง่ายเมื่อถูกลมแรงๆ ในช่วงก่อนฝนตกและถูกละอองฝน ลมที่พัดแรงก่อนฝนตกจะทำให้เชื้อไวรัสที่อยู่ตามพื้นดินฟุ้งกระจาย รวมทั้งอากาศที่เย็นลงทำให้เชื้อไวรัสอยู่ได้นานขึ้น ดังนั้นเมื่อเราสูดเอาละอองฝุ่นเข้าไป จะทำให้มีเชื้อไวรัสเกาะติดอยู่ที่โพรงจมูก และหากถูกไอฝนร่วมด้วยจะทำให้อุณหภูมิภายในเยื้อบุโพรงจมูกลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสหวัด”
ดังนั้นควรป้องกันโรคหวัดได้ด้วยการใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดจมูกและปาก เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย
แต่ถ้าใครเปียกหรือถูกละอองฝนแล้ว หมอแนะนำให้ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้ โดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือมือปิดบนบริเวณโพรงจมูกส่วนบนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสหวัดเจริญเติบโตได้ยากขึ้น
“ช่วงหน้าหนาว เราก็มักจะเป็นหวัดกันง่ายขึ้น และเดี๋ยวนี้อากาศเปลี่ยนแปลงสลับไปมา เช้าร้อน บ่ายฝน กลางคืนเย็น ทำให้ร่างกายต้องปรับระบบสมดุลภายใน ส่งผลให้ภูมิต้านทานลดต่ำลง อากาศที่แห้งในช่วงหน้าหนาวทำให้เซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์เยื่อบุโพรงจมูก คอ หลอดลม ฯลฯ แห้งลงกว่าเดิม ทำให้ไม่มีน้ำมูก (เมือก) มาป้องกันเซลล์จากเชื้อโรค เชื้อโรคเลยสัมผัสกับเซลล์โดยตรง รวมกับอากาศที่เย็นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสหวัด
ในขณะที่ประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายลดลง ตัวเราและคนรอบข้างจึงมักจะเป็นหวัด ภูมิแพ้ และโรคต่างๆ ที่เกิดจากทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สังเกตง่ายๆ ว่าช่วงหน้าหนาวผิวจะแห้งและจะพบว่ามีน้ำมูกแห้งติดอยู่ในโพรงจมูกมากกว่าช่วงหน้าอื่นๆ”
คุณหมอยังแนะนำว่า เมื่อเริ่มเป็นหวัด ไม่ควรรับประทานยาแก้ไข้ทันที่ที่รู้สึกว่าตัวรุมๆ เพราะร่างกายกำลังเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย การทานยาลดไข้จะกลับทำให้ขัดขวางการทำงานของระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย
การป้องกัน สามารถทำได้โดยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายด้วยวิธีง่ายๆ คือ รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศ เช่น ต้มยำไก่ร้อนๆ ที่รสไม่จัดจ้าน เพราะสมุนไพรสดที่ใส่อยู่ในต้มยำมีฤทธิ์ต้านอาการหวัดได้เป็นอย่างดี อย่าง พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด และในเนื้อไก่ยังมีสารซีสเทอีน (Cysteine) ซึ่งสามารถช่วยลดอาการไอ และคัดจมูกลงได้
ควรรับประทานผัก, ผลไม้, ถั่วที่มีวิตามินเอ, ซี, อี เข้านอนแต่หัวค่ำเมื่อเริ่มมีอาการและนอนให้ได้อย่างน้อย 7 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะการนอนหลับ และใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นจะทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจากเชื้อโรคต่างๆ รวมทั้งเชื้อหวัดได้ดี
ที่สำคัญ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งหลาย เพราะความเครียดทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
อย่าลืม หมั่นดื่มน้ำอุ่นๆ เพราะน้ำอุ่นช่วยลดเสมหะ ขับเสมหะ ลดอาการเจ็บคอ และช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้นเพราะทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น ถ้ารู้สึกว่าจมูกไม่โล่งก็ควรสูดไอน้ำร้อน นอนหมอนสูง หรือใช้ผ้าร้อนบริเวณดั้งจมูกก็จะช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น
ควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ หรือเดิน หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนมาก และเป็นห้องแอร์ เพราะเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคอื่นเพิ่ม กลั้วคอด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบริเวณลำคอ
แน่นอน ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“หากเริ่มรู้สึกตัวว่ากำลังจะเป็นหวัด การดูแลตัวเองตั้งแต่ช่วงแรกที่มีอาการจะช่วยลดอาการรุนแรงของโรคได้ รวมทั้งลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เพราะการป้องกันโรคหวัดที่ดีที่สุดคือ การดูแลตัวเองตามที่แนะนำ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูปลายฝนต้นหนาวที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้ ” คุณหมออิทธิชัยฝากทิ้งท้าย
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net