By Lady Manager
เข้าสู่หน้าฝนมาแล้ว 2 เดือน รองเท้าคู่โปรดต้องเดินบวกวิ่งฝ่าฝน ลุยน้ำ ตากแดด เผชิญฝุ่น มันถึงเวลาที่จะต้องทำความสะอาด เก็บรักษาเพื่อคงสภาพกันสักหน่อยมั้ยคะ
โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าที่ทำจากหนัง หรือผ้าใบ จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี หลังจากนั้น หนังของรองเท้าจะเริ่มเสื่อม กาวเริ่มหมดคุณภาพ จึงถึงเวลาปลดระวางรองเท้าคู่เก่ากัน ทว่ารองเท้าหลายคู่กลับมีอายุการใช้งานสั้นกว่านั้น เนื่องมาจากการเก็บรักษา หรือทำความสะอาดไม่ถูกวิธีนั่นเอง
งั้น...เรามาเรียนรู้วิธีเพื่อรักษารองเท้าคู่โปรดให้อยู่คู่เท้าเรากันให้นานที่สุดดีกว่า
-> กรรมวิธีทำความสะอาด
:: หนังกลับเลี่ยงน้ำ ห้ามฮาร์ดคอร์ขัดถูแรง
รองเท้าหนังกลับ หรือรองเท้ากำมะหยี่ แนะนำให้ใช้แปรงชนิดพิเศษที่ใช้กับหนังประเภทนี้เท่านั้น แปรงสิ่งสกปรกออกจากรองเท้าให้หมด แล้วใช้น้ำยาพิเศษที่ใช้ในการทำความสะอาดในบริเวณที่เราแปรง
ห้ามขัดหรือถูพื้นผิวของรองเท้าแรงๆ เพราะจะทำให้เสียลักษณะของหนัง เมื่อรองเท้าสะอาดแล้วให้ใช้สเปรย์ที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำแบบไร้สี หรือสเปรย์ที่มีสีเดียวกับรองเท้าฉีดให้ทั่วเพื่อรักษาคุณสมบัติของหนังไว้
พวกหนังกลับ จะดูแลยากมาก เมื่อใส่รองเท้าขับรถ ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ส้นรองเท้า กับหน้ารองเท้าจะดำ และตัวหนังกลับทำความสะอาดยากมาก เช่นเดียวกับหนังแกะ ซึ่งจะคล้ายกับหนังกลับ ตรงที่มีความนิ่มอยู่ในตัว ถ้าลงน้ำยาทำความสะอาดไม่ดี สีก็จะหลุด หนังแกะเป็นสีที่หลุดง่ายที่สุดในบรรดาหนังทุกชนิด
สำหรับการดูแลเบื้องต้น เมื่อเกิดคราบเปื้อนเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเป็นหนังแกะ อาจเอาผ้าชุบน้ำอุ่นไม่ต้องลงน้ำยา เช็ดบางๆ คราบสกปรกก็จะหลุดอยู่แล้ว แต่ต้องใช้น้ำอุ่นเท่านั้น เพราะน้ำเย็นจะทำลายสี ส่วนหนังกลับ แนะนำเบื้องต้นว่า ให้หลีกเลี่ยงน้ำ อย่าไปลุยน้ำจังๆ หากฝนตก ให้เปลี่ยนเป็นรองเท้าแตะจะดีกว่า เพราะหนังกลับเขาดูแลรักษายากจริงๆ
:: หนังวัวทำความสะอาดง่าย แต่ระวังยับย่น
รองเท้าหนังวัวดูแลง่าย เบื้องต้นเมื่อกลับถึงมาบ้าน ถ้าจะเช็ดทำความสะอาด ก็อย่าใช้น้ำยาที่มีความรุนแรงสูง เพราะหากน้ำยามีความรุนแรง พอเช็ดไปแล้วจะเกิดเป็นรอยด่าง พอเกิดรอยด่างจะแก้ไขได้ยาก ต้องเอามาให้ที่ร้านทำสีอย่างเดียวเท่านั้น จึงแนะนำว่า ให้ใช้นำอุณหภูมิปกติ เช็ดทำความสะอาดแค่นั้นคราบสกปรกก็ออกแล้ว
ทว่าแม้จะทำความสะอาดง่าย แต่มักเกิดรอยยับรอยย่นขึ้นกับรองเท้าหนังวัว ถ้าจะลบรอยด้วยตัวเอง ให้หาฟองน้ำนุ่มเนื้อละเอียด เช่น ฟองน้ำสำหรับเกลี่ยรองพื้น มาลงน้ำยาสำหรับหนังชนิดนั้นๆ แล้วหมุนวนไปช้าๆ เบาๆ ก็จะช่วยลดรอยเบื้องต้นได้ แต่ข้อสำคัญคือ ฟองน้ำต้องนิ่มมาก และเวลาทำต้องใจเย็นค่อยทำ
:: หนังแก้ว ห้ามวางติดรองเท้าคู่อื่น ระวังเปลี่ยนสี!
ส่วนรองเท้าหนังแก้วให้ใช้กระดาษชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดรองเท้าจากฝุ่นและสิ่งสกปรก จากนั้นทาครีมที่ใช้รักษารองเท้าหนังแก้วโดยเฉพาะ แล้วพ่นสเปรย์เพื่อป้องกันหนังแห้งและลดการก่อตัวของรอยแตก
ทว่าการดูแลรักษาความสะอาดก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับหนังวัว แต่ต้องใส่ใจให้มากในเรื่องการเก็บรักษา
หนังแก้วจะมีการดูดสีง่ายที่สุด หนังแก้วกับพลาสติก วางใกล้กันเมื่อไหร่ สีจะดูดเข้าไป กลายเป็นเรื่องใหญ่มาก ทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากทำสีใหม่ ซึ่งการทำสีหนังแก้ว ก็จะมีราคาสูงกว่าการทำสีแบบอื่นๆ ด้วย ดังนั้นจึงต้องเข้มงวดกับการเก็บรักษา
ที่สำคัญ อย่าวางรองเท้าหนังแก้ว ติดกับรองเท้าคู่อื่นๆ ถ้าต้องวางรวมกับคู่อื่น ก็ควรเอากระดาษห่อรองเท้าหนังแก้วไว้ รวมถึงไม่ควรเก็บลงกล่องรองเท้าที่อับ ไม่มีการระบาย เพราะจะยิ่งทำให้รองเท้าประเภทนี้อับ บวม และสามารถเปลี่ยนสีได้ง่าย
:: ผ้าใบห้ามใช้ขันตักราด ตากแดดแรงเหลือง!
รองเท้าที่ดูแลเองได้ง่ายที่สุดคือวัสดุ "ผ้า" เพราะมันง่ายต่อการซักด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องระวังเรื่องของการเปลี่ยนสี โดยเฉพาะรองเท้าสีขาว ที่อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ การห่อกระดาษทิชชู่ขณะตาก ก็จะช่วยลดอัตราการเปลี่ยนสีรองเท้าจากสีขาวเป็นสีเหลืองได้
นอกจากนี้ การซักก็ต้องห้ามซักโดนบริเวณขอบยาง เพราะตรงนั้นจะมีรอยกาวด้านข้างอยู่ หากไปซักโดนมันอาจจะหลุดออกมาโดนผ้า และกลายเป็นรอยกาวสีเหลืองได้
ส่วนกรรมวิธีการซักรองเท้าผ้า ให้เอาสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็กผสมน้ำแค่นั้นก็พอแล้ว แต่ถ้าจะใช้เป็นผงซักฟอก ก็ต้องผสมน้ำเยอะๆ และสิ่งสำคัญคือ แปรงที่ใช้ขัด คนชอบเข้าใจว่า ยิ่งแปรงหัวแข็งเท่าไหร่ ยิ่งเอาความสกปรกออกได้เยอะเท่านั้น จริงๆ มันจะส่งผลให้ด้ายรัน เกิดเป็นรอยถลอกได้
แปรงที่ใช้ขัด ควรเป็นแปรงสีฟันหัวนิ่มๆ ค่อยๆ ทำ เพราะการขัดรองเท้าต้องใจเย็น ถ้าใจร้อนรองเท้ามันจะถลอก และน้ำอาจจะเยิ้มจนกาวที่ขอบออกมาโดนเนื้อผ้า และที่สำคัญคือ ไม่ควรตักน้ำราดลงบนรองเท้าเด็ดขาด ให้ค่อยๆ แปรงทีละนิด เช่น ตักน้ำมา 1 ขันเอาแปรงสีฟันจุ่มน้ำสบู่ แล้วค่อยๆ ถูไปทีละนิด
นอกจากนี้ ยังควรสังเกตดูด้วยว่า หากเป็นด้ายคนละสีก็ต้องทำความสะอาดทีละส่วน เช่น หากมีขอบด้ายสีดำ ก็ต้องเว้นขอบสีดำนั้นไว้ก่อน อย่าแปรงรวมกัน ไม่อย่างนั้นสีดำอาจจะไปติดด้ายสีขาว
สุดท้าย การตากให้แห้ง ไม่แนะนำให้ตากแดดแรง หลายคนเข้าใจว่าตากแดดแรง เพื่อลดกลิ่น แต่ความจริงคือ มันจะทำให้รองเท้าเหลือง ที่แนะนำคือ ควรตากแดดอ่อนๆ เท่านั้น ส่วนพื้นรองเท้า สามารซักเองได้ที่บ้าน โดยงัดพื้นออกมาทำความสะอาดได้เลย และสามารถตากแดดแรงได้ เพราะแม้สีจะซีดไปบ้าง ก็ไม่มีผลต่อการมองเห็นอยู่แล้ว ดังนั้นก็สามารถตากแดดลดกลิ่นได้เต็มที่ ในส่วนของพื้นรองเท้า
:: รองเท้าพลาสติก แค่เช็ดถูก็สวยปิ้งใหม่เว่อร์
หน้าฝนลื่นปรี๊ด ถนนหนทางเฉอะแฉะขนาดนี้ จะมามัวสวมใส่รองเท้าหนังส้นเข็มสูง 3 นิ้ว ไม่ไหวแล้วล่ะค่า ช่วงนี้นำรองเท้าวัสดุผ้า-หนัง ไปเก็บเข้ากรุไว้ก่อน
เพราะข้อดีของเจ้ารองเท้าพลาสติกนั้นเหมาะกับหน้าฝนสุดฤทธิ์ ยึดติดเกาะพื้น ไม่ลื่นหกล้มอายชาวบ้าน รองเท้าพลาสติกที่วางขายอยู่นั้น จะเห็นได้ว่าพื้นรองเท้าทำลวดลายลึก ชัดเจน รับรองปัญหาส้น หรือพื้นรองเท้าสึกเร็วไม่เกิดขึ้นแน่ ทนทานหายห่วง หากต้องใส่เดินย่ำน้ำในวันฝนตก ไร้ปัญหาหกล้มหัวทิ่มชัวร์จ้า
เนื่องจากวัสดุพลาสติกจะไม่ซึมซับน้ำ แห้งไว การทำความสะอาดจึงง่ายมาก วิธีการง่ายสุดๆ หากรองเท้าพลาสติกของคุณเลอะ เพียงแค่ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณที่เปื้อนให้คราบสกปรกหลุดออกมา หรือถ้าคราบติดแน่นมากใช้แปรงสีฟันนุ่มๆ ขัดเบาๆ ก็ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุพลาสติกจึงง่ายต่อทำความสะอาด
ส่วนในวันฝนพรำยามลุยน้ำลุยฝนเสร็จ ควรผึ่งรองเท้าพลาสติกให้แห้งก่อนเพื่อสุขภาพเท้าที่ดี ไร้เชื้อรา ทว่าการเก็บรักษารองเท้าให้คงรูปทรงสวยงามอยู่ตลอดนั้น ด้วยความเป็นวัสดุพลาสติก แน่นอนต้องอ่อน นิ่ม จึงเสียรูปทรงง่าย ควรเก็บไว้ในกล่องรองเท้าจะดีที่สุด
-> วิธีเก็บรักษา
:: เก็บในกล่องกระดาษเจาะรู ห้ามกล่องพลาสติก
แนะเก็บรองเท้าของตัวเองไว้ในกล่องกระดาษที่เจาะรูไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้รองเท้าอับมาก การใส่กล่องแบบนี้หลายคนอาจจะขี้เกียจทำ เพราะมองว่าทำให้หารองเท้ายาก เนื่องจากเรามองไม่เห็นรองเท้าในกล่อง
อ้อ! ที่สำคัญ ไม่ควรเก็บรองเท้าในกล่องพลาสติก ที่ไม่มีรูระบายอากาศ หลายคนเข้าใจว่า กล่องพลาสติกเหมาะกับการเก็บรองเท้าเพราะจะได้เห็นหน้าตารองเท้าสะดวกแก่การหยิบใส่ให้เข้าชุดสวย
ทว่ากล่องพลาสติกไม่เหมาะกับการเก็บทั้งรองเท้าหนังและรองเท้าผ้า เพราะมันจะดูดความร้อน พอดูดความร้อนเข้ามา รองเท้าก็จะอับชื้นอยู่ในกล่อง ดังนั้นหากจะใช้กล่องพลาสติกมาใส่รองเท้า ก็ต้องเจาะรูเพื่อให้สามารถระบายอากาศได้
เรามีวิธีช่วยคุณเลือกรองเท้าด้วยภาพถ่ายในกรณีสาวบ้ารองเท้าซื้อไว้เต็มบ้าน แนะนำให้ถ่ายรูปรองเท้าเป็นรูปเล็กๆ แล้วปิดไว้ข้างกล่อง คุณจะดูรู้ว่าคู่ไหนเป็นคู่ไหน การเก็บแบบนี้มันจะทำให้เราดูแลรองเท้าได้ง่ายขึ้น ทั้งทรงรองเท้า และสีรองเท้า
:: เก็บรองเท้าหลังรถ คอนเฟิร์ม! เสียทุกคู่
คุณเคยจอดรถไว้กลางแดดเปรี้ยงและต้องรีบขับรถกลับบ้านบ้างมั้ย คุณจะรู้ว่านรกมีจริง เพราะมันร้อนสุดๆ ผิวแทบไหม้ ต้องรีบเปิดแอร์ ลดกระจกลดลงไล่อุณหภูมิร้อนให้ไว! แล้วรองเท้าหลังรถคุณล่ะ ไม่สงสารบ้างเหรอไง
ผู้หญิงหลายคนมักเอารองเท้ากีฬาไว้ท้ายรถ หรือไม่ก็รองเท้าส้นสูง ส้นเตี้ย เต็มหลังรถไปหมด เพราะเน้นสะดวกเข้าว่า...ก็แนะนำว่าอย่าทำอย่างนั้น หากไปฟิตเนส (fitness) ก็ให้เช่าตู้ล็อกเกอร์ไว้ดีกว่า อย่าทิ้งรองเท้าไว้หลังรถ เพราะหากวางรองเท้าไว้หลังรถจะพัง เสียของ พื้นรองเท้าละลาย ยางละลาย สีกลายเป็นสีเหลือง เพราะความร้อนระอุนั่นเอง
:: เช็ดสิ่งสกปรก-ผึ่งรองเท้าให้แห้งก่อนเก็บเสมอ
“มีอยู่ครั้งหนึ่ง ลูกค้าเอารองเท้ามาให้ทำความสะอาด เพราะว่าไส้เดือนเข้าไปอยู่ในรองเท้า และมีแมลงต่างๆ เต็มไปหมด ออกลูกออกหลานอยู่ในรองเท้าผ้าใบ เพราะเค้าไปตีกอล์ฟ แล้วไปโดนขี้ดินขี้ทราย เมื่อไม่เช็ดออก แล้วเก็บรองเท้าเข้าตู้ไปนานๆ แมลงเหล่านั้นก็ออกลูก ลามไปถึงรองเท้าคู่อื่นๆ ในตู้” เจ้าของร้านทำความสะอาดกระเป๋า ดูแลรองเท้า เล่าให้ฟัง
ดังนั้นก่อนจะเก็บรองเท้าเข้าตู้ หรือแม้แต่ขึ้นรถ ควรนำขี้ฝุ่น หรือเช็ดให้สิ่งสกปรกคราบโคลนออกเสียก่อน เพื่อในวันรุ่งขึ้นจะได้ทำความสะอาดคราบสกปรกนั้นได้ง่ายขึ้นไงล่ะ
และเมื่อรองเท้าโดนฝน หรือเพิ่งลุยน้ำมา ควรผึ่งให้แห้งก่อนเสมอ คนส่วนมากชอบเข้าใจว่า เอายัดเข้าตู้เก็บรองเท้าไปก็ได้ ซึ่งการทำแบบนั้น เชื้อราจะขึ้น และเวลาเชื้อราขึ้น มันจะขึ้นติดรองเท้าคู่อื่นไปด้วย ดังนั้นแนะนำให้ตากรองเท้าข้างนอกก่อน ยังไม่ต้องรีบเอาเข้าตู้ หรือหากชื้นมากก็ควร ตากแดดอ่อนๆ อาจเป่าด้วยลมเย็นของไดร์เป่าผมก็ได้ แต่ห้ามเป่าด้วยลมร้อน ถ้าเป็นลมร้อนเป่า หนังรองเท้าจะเหี่ยวได้
:: ยัดกระดาษปลายรองเท้า รักษารูปทรง
เวลาเก็บรองเท้า ควรจะยัดกระดาษสีขาว ไว้ที่ปลายรองเท้าเพื่อรักษาทรงรองเท้า และไม่ควรใช้เป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ เพราะสีหมึกอาจซึมลงในรองเท้าได้
:: ใส่แผ่นกันรองเท้ากัด
แน่นอนสาวเราสิ่งที่เป็นกังวลและทำให้เกิดผิวหนังพองบริเวณเท้าคือ "รองเท้ากัด" ในรายที่ซื้อรองเท้ามาใหม่ และเดินเป็นเวลานาน หากรองเท้ากัด ควรหาซื้อแผ่นกันรองเท้ากัดมาติด หรือหากไม่อยากให้รองเท้ามีรอยกาวแผ่นกันรองเท้ากัดสามารถมาที่ร้านดูแลรองเท้า เพื่อหาหนังนิ่มๆ มาเย็บติดบริเวณที่รองเท้ากัดได้
:: ใส่ถุงถ่านในรองเท้า ดับกลิ่น
หากรองเท้ามีกลิ่นเหม็นอับ โดยเฉพาะผู้ชาย แต่ผู้หญิงบางนางก็ใช่ย่อย กลิ่นแรงไม่แพ้กัน บางคนถอดรองเท้ามาที กลิ่นโชยราวหนูตายท้องกลม
วิธีแก้เบื้องต้น ให้นำถุงเล็กๆ คล้ายถุงชา บรรจุถ่านไม้สีดำ บดละเอียดใส่เข้าไปในรองเท้า เพื่อให้ดูดกลิ่นอับในรองเท้า
อ๊ะ! เพียงแค่นี้ รองเท้าคู่โปรดก็อยู่เคียงเท้าของคุณไปนานกว่า 2 ปี แน่นอนเล้ย ^_^
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
เข้าสู่หน้าฝนมาแล้ว 2 เดือน รองเท้าคู่โปรดต้องเดินบวกวิ่งฝ่าฝน ลุยน้ำ ตากแดด เผชิญฝุ่น มันถึงเวลาที่จะต้องทำความสะอาด เก็บรักษาเพื่อคงสภาพกันสักหน่อยมั้ยคะ
โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าที่ทำจากหนัง หรือผ้าใบ จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี หลังจากนั้น หนังของรองเท้าจะเริ่มเสื่อม กาวเริ่มหมดคุณภาพ จึงถึงเวลาปลดระวางรองเท้าคู่เก่ากัน ทว่ารองเท้าหลายคู่กลับมีอายุการใช้งานสั้นกว่านั้น เนื่องมาจากการเก็บรักษา หรือทำความสะอาดไม่ถูกวิธีนั่นเอง
งั้น...เรามาเรียนรู้วิธีเพื่อรักษารองเท้าคู่โปรดให้อยู่คู่เท้าเรากันให้นานที่สุดดีกว่า
-> กรรมวิธีทำความสะอาด
:: หนังกลับเลี่ยงน้ำ ห้ามฮาร์ดคอร์ขัดถูแรง
รองเท้าหนังกลับ หรือรองเท้ากำมะหยี่ แนะนำให้ใช้แปรงชนิดพิเศษที่ใช้กับหนังประเภทนี้เท่านั้น แปรงสิ่งสกปรกออกจากรองเท้าให้หมด แล้วใช้น้ำยาพิเศษที่ใช้ในการทำความสะอาดในบริเวณที่เราแปรง
ห้ามขัดหรือถูพื้นผิวของรองเท้าแรงๆ เพราะจะทำให้เสียลักษณะของหนัง เมื่อรองเท้าสะอาดแล้วให้ใช้สเปรย์ที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำแบบไร้สี หรือสเปรย์ที่มีสีเดียวกับรองเท้าฉีดให้ทั่วเพื่อรักษาคุณสมบัติของหนังไว้
พวกหนังกลับ จะดูแลยากมาก เมื่อใส่รองเท้าขับรถ ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ส้นรองเท้า กับหน้ารองเท้าจะดำ และตัวหนังกลับทำความสะอาดยากมาก เช่นเดียวกับหนังแกะ ซึ่งจะคล้ายกับหนังกลับ ตรงที่มีความนิ่มอยู่ในตัว ถ้าลงน้ำยาทำความสะอาดไม่ดี สีก็จะหลุด หนังแกะเป็นสีที่หลุดง่ายที่สุดในบรรดาหนังทุกชนิด
สำหรับการดูแลเบื้องต้น เมื่อเกิดคราบเปื้อนเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเป็นหนังแกะ อาจเอาผ้าชุบน้ำอุ่นไม่ต้องลงน้ำยา เช็ดบางๆ คราบสกปรกก็จะหลุดอยู่แล้ว แต่ต้องใช้น้ำอุ่นเท่านั้น เพราะน้ำเย็นจะทำลายสี ส่วนหนังกลับ แนะนำเบื้องต้นว่า ให้หลีกเลี่ยงน้ำ อย่าไปลุยน้ำจังๆ หากฝนตก ให้เปลี่ยนเป็นรองเท้าแตะจะดีกว่า เพราะหนังกลับเขาดูแลรักษายากจริงๆ
:: หนังวัวทำความสะอาดง่าย แต่ระวังยับย่น
รองเท้าหนังวัวดูแลง่าย เบื้องต้นเมื่อกลับถึงมาบ้าน ถ้าจะเช็ดทำความสะอาด ก็อย่าใช้น้ำยาที่มีความรุนแรงสูง เพราะหากน้ำยามีความรุนแรง พอเช็ดไปแล้วจะเกิดเป็นรอยด่าง พอเกิดรอยด่างจะแก้ไขได้ยาก ต้องเอามาให้ที่ร้านทำสีอย่างเดียวเท่านั้น จึงแนะนำว่า ให้ใช้นำอุณหภูมิปกติ เช็ดทำความสะอาดแค่นั้นคราบสกปรกก็ออกแล้ว
ทว่าแม้จะทำความสะอาดง่าย แต่มักเกิดรอยยับรอยย่นขึ้นกับรองเท้าหนังวัว ถ้าจะลบรอยด้วยตัวเอง ให้หาฟองน้ำนุ่มเนื้อละเอียด เช่น ฟองน้ำสำหรับเกลี่ยรองพื้น มาลงน้ำยาสำหรับหนังชนิดนั้นๆ แล้วหมุนวนไปช้าๆ เบาๆ ก็จะช่วยลดรอยเบื้องต้นได้ แต่ข้อสำคัญคือ ฟองน้ำต้องนิ่มมาก และเวลาทำต้องใจเย็นค่อยทำ
:: หนังแก้ว ห้ามวางติดรองเท้าคู่อื่น ระวังเปลี่ยนสี!
ส่วนรองเท้าหนังแก้วให้ใช้กระดาษชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดรองเท้าจากฝุ่นและสิ่งสกปรก จากนั้นทาครีมที่ใช้รักษารองเท้าหนังแก้วโดยเฉพาะ แล้วพ่นสเปรย์เพื่อป้องกันหนังแห้งและลดการก่อตัวของรอยแตก
ทว่าการดูแลรักษาความสะอาดก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับหนังวัว แต่ต้องใส่ใจให้มากในเรื่องการเก็บรักษา
หนังแก้วจะมีการดูดสีง่ายที่สุด หนังแก้วกับพลาสติก วางใกล้กันเมื่อไหร่ สีจะดูดเข้าไป กลายเป็นเรื่องใหญ่มาก ทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากทำสีใหม่ ซึ่งการทำสีหนังแก้ว ก็จะมีราคาสูงกว่าการทำสีแบบอื่นๆ ด้วย ดังนั้นจึงต้องเข้มงวดกับการเก็บรักษา
ที่สำคัญ อย่าวางรองเท้าหนังแก้ว ติดกับรองเท้าคู่อื่นๆ ถ้าต้องวางรวมกับคู่อื่น ก็ควรเอากระดาษห่อรองเท้าหนังแก้วไว้ รวมถึงไม่ควรเก็บลงกล่องรองเท้าที่อับ ไม่มีการระบาย เพราะจะยิ่งทำให้รองเท้าประเภทนี้อับ บวม และสามารถเปลี่ยนสีได้ง่าย
:: ผ้าใบห้ามใช้ขันตักราด ตากแดดแรงเหลือง!
รองเท้าที่ดูแลเองได้ง่ายที่สุดคือวัสดุ "ผ้า" เพราะมันง่ายต่อการซักด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องระวังเรื่องของการเปลี่ยนสี โดยเฉพาะรองเท้าสีขาว ที่อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ การห่อกระดาษทิชชู่ขณะตาก ก็จะช่วยลดอัตราการเปลี่ยนสีรองเท้าจากสีขาวเป็นสีเหลืองได้
นอกจากนี้ การซักก็ต้องห้ามซักโดนบริเวณขอบยาง เพราะตรงนั้นจะมีรอยกาวด้านข้างอยู่ หากไปซักโดนมันอาจจะหลุดออกมาโดนผ้า และกลายเป็นรอยกาวสีเหลืองได้
ส่วนกรรมวิธีการซักรองเท้าผ้า ให้เอาสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็กผสมน้ำแค่นั้นก็พอแล้ว แต่ถ้าจะใช้เป็นผงซักฟอก ก็ต้องผสมน้ำเยอะๆ และสิ่งสำคัญคือ แปรงที่ใช้ขัด คนชอบเข้าใจว่า ยิ่งแปรงหัวแข็งเท่าไหร่ ยิ่งเอาความสกปรกออกได้เยอะเท่านั้น จริงๆ มันจะส่งผลให้ด้ายรัน เกิดเป็นรอยถลอกได้
แปรงที่ใช้ขัด ควรเป็นแปรงสีฟันหัวนิ่มๆ ค่อยๆ ทำ เพราะการขัดรองเท้าต้องใจเย็น ถ้าใจร้อนรองเท้ามันจะถลอก และน้ำอาจจะเยิ้มจนกาวที่ขอบออกมาโดนเนื้อผ้า และที่สำคัญคือ ไม่ควรตักน้ำราดลงบนรองเท้าเด็ดขาด ให้ค่อยๆ แปรงทีละนิด เช่น ตักน้ำมา 1 ขันเอาแปรงสีฟันจุ่มน้ำสบู่ แล้วค่อยๆ ถูไปทีละนิด
นอกจากนี้ ยังควรสังเกตดูด้วยว่า หากเป็นด้ายคนละสีก็ต้องทำความสะอาดทีละส่วน เช่น หากมีขอบด้ายสีดำ ก็ต้องเว้นขอบสีดำนั้นไว้ก่อน อย่าแปรงรวมกัน ไม่อย่างนั้นสีดำอาจจะไปติดด้ายสีขาว
สุดท้าย การตากให้แห้ง ไม่แนะนำให้ตากแดดแรง หลายคนเข้าใจว่าตากแดดแรง เพื่อลดกลิ่น แต่ความจริงคือ มันจะทำให้รองเท้าเหลือง ที่แนะนำคือ ควรตากแดดอ่อนๆ เท่านั้น ส่วนพื้นรองเท้า สามารซักเองได้ที่บ้าน โดยงัดพื้นออกมาทำความสะอาดได้เลย และสามารถตากแดดแรงได้ เพราะแม้สีจะซีดไปบ้าง ก็ไม่มีผลต่อการมองเห็นอยู่แล้ว ดังนั้นก็สามารถตากแดดลดกลิ่นได้เต็มที่ ในส่วนของพื้นรองเท้า
:: รองเท้าพลาสติก แค่เช็ดถูก็สวยปิ้งใหม่เว่อร์
หน้าฝนลื่นปรี๊ด ถนนหนทางเฉอะแฉะขนาดนี้ จะมามัวสวมใส่รองเท้าหนังส้นเข็มสูง 3 นิ้ว ไม่ไหวแล้วล่ะค่า ช่วงนี้นำรองเท้าวัสดุผ้า-หนัง ไปเก็บเข้ากรุไว้ก่อน
เพราะข้อดีของเจ้ารองเท้าพลาสติกนั้นเหมาะกับหน้าฝนสุดฤทธิ์ ยึดติดเกาะพื้น ไม่ลื่นหกล้มอายชาวบ้าน รองเท้าพลาสติกที่วางขายอยู่นั้น จะเห็นได้ว่าพื้นรองเท้าทำลวดลายลึก ชัดเจน รับรองปัญหาส้น หรือพื้นรองเท้าสึกเร็วไม่เกิดขึ้นแน่ ทนทานหายห่วง หากต้องใส่เดินย่ำน้ำในวันฝนตก ไร้ปัญหาหกล้มหัวทิ่มชัวร์จ้า
เนื่องจากวัสดุพลาสติกจะไม่ซึมซับน้ำ แห้งไว การทำความสะอาดจึงง่ายมาก วิธีการง่ายสุดๆ หากรองเท้าพลาสติกของคุณเลอะ เพียงแค่ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณที่เปื้อนให้คราบสกปรกหลุดออกมา หรือถ้าคราบติดแน่นมากใช้แปรงสีฟันนุ่มๆ ขัดเบาๆ ก็ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุพลาสติกจึงง่ายต่อทำความสะอาด
ส่วนในวันฝนพรำยามลุยน้ำลุยฝนเสร็จ ควรผึ่งรองเท้าพลาสติกให้แห้งก่อนเพื่อสุขภาพเท้าที่ดี ไร้เชื้อรา ทว่าการเก็บรักษารองเท้าให้คงรูปทรงสวยงามอยู่ตลอดนั้น ด้วยความเป็นวัสดุพลาสติก แน่นอนต้องอ่อน นิ่ม จึงเสียรูปทรงง่าย ควรเก็บไว้ในกล่องรองเท้าจะดีที่สุด
-> วิธีเก็บรักษา
:: เก็บในกล่องกระดาษเจาะรู ห้ามกล่องพลาสติก
แนะเก็บรองเท้าของตัวเองไว้ในกล่องกระดาษที่เจาะรูไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้รองเท้าอับมาก การใส่กล่องแบบนี้หลายคนอาจจะขี้เกียจทำ เพราะมองว่าทำให้หารองเท้ายาก เนื่องจากเรามองไม่เห็นรองเท้าในกล่อง
อ้อ! ที่สำคัญ ไม่ควรเก็บรองเท้าในกล่องพลาสติก ที่ไม่มีรูระบายอากาศ หลายคนเข้าใจว่า กล่องพลาสติกเหมาะกับการเก็บรองเท้าเพราะจะได้เห็นหน้าตารองเท้าสะดวกแก่การหยิบใส่ให้เข้าชุดสวย
ทว่ากล่องพลาสติกไม่เหมาะกับการเก็บทั้งรองเท้าหนังและรองเท้าผ้า เพราะมันจะดูดความร้อน พอดูดความร้อนเข้ามา รองเท้าก็จะอับชื้นอยู่ในกล่อง ดังนั้นหากจะใช้กล่องพลาสติกมาใส่รองเท้า ก็ต้องเจาะรูเพื่อให้สามารถระบายอากาศได้
เรามีวิธีช่วยคุณเลือกรองเท้าด้วยภาพถ่ายในกรณีสาวบ้ารองเท้าซื้อไว้เต็มบ้าน แนะนำให้ถ่ายรูปรองเท้าเป็นรูปเล็กๆ แล้วปิดไว้ข้างกล่อง คุณจะดูรู้ว่าคู่ไหนเป็นคู่ไหน การเก็บแบบนี้มันจะทำให้เราดูแลรองเท้าได้ง่ายขึ้น ทั้งทรงรองเท้า และสีรองเท้า
:: เก็บรองเท้าหลังรถ คอนเฟิร์ม! เสียทุกคู่
คุณเคยจอดรถไว้กลางแดดเปรี้ยงและต้องรีบขับรถกลับบ้านบ้างมั้ย คุณจะรู้ว่านรกมีจริง เพราะมันร้อนสุดๆ ผิวแทบไหม้ ต้องรีบเปิดแอร์ ลดกระจกลดลงไล่อุณหภูมิร้อนให้ไว! แล้วรองเท้าหลังรถคุณล่ะ ไม่สงสารบ้างเหรอไง
ผู้หญิงหลายคนมักเอารองเท้ากีฬาไว้ท้ายรถ หรือไม่ก็รองเท้าส้นสูง ส้นเตี้ย เต็มหลังรถไปหมด เพราะเน้นสะดวกเข้าว่า...ก็แนะนำว่าอย่าทำอย่างนั้น หากไปฟิตเนส (fitness) ก็ให้เช่าตู้ล็อกเกอร์ไว้ดีกว่า อย่าทิ้งรองเท้าไว้หลังรถ เพราะหากวางรองเท้าไว้หลังรถจะพัง เสียของ พื้นรองเท้าละลาย ยางละลาย สีกลายเป็นสีเหลือง เพราะความร้อนระอุนั่นเอง
:: เช็ดสิ่งสกปรก-ผึ่งรองเท้าให้แห้งก่อนเก็บเสมอ
“มีอยู่ครั้งหนึ่ง ลูกค้าเอารองเท้ามาให้ทำความสะอาด เพราะว่าไส้เดือนเข้าไปอยู่ในรองเท้า และมีแมลงต่างๆ เต็มไปหมด ออกลูกออกหลานอยู่ในรองเท้าผ้าใบ เพราะเค้าไปตีกอล์ฟ แล้วไปโดนขี้ดินขี้ทราย เมื่อไม่เช็ดออก แล้วเก็บรองเท้าเข้าตู้ไปนานๆ แมลงเหล่านั้นก็ออกลูก ลามไปถึงรองเท้าคู่อื่นๆ ในตู้” เจ้าของร้านทำความสะอาดกระเป๋า ดูแลรองเท้า เล่าให้ฟัง
ดังนั้นก่อนจะเก็บรองเท้าเข้าตู้ หรือแม้แต่ขึ้นรถ ควรนำขี้ฝุ่น หรือเช็ดให้สิ่งสกปรกคราบโคลนออกเสียก่อน เพื่อในวันรุ่งขึ้นจะได้ทำความสะอาดคราบสกปรกนั้นได้ง่ายขึ้นไงล่ะ
และเมื่อรองเท้าโดนฝน หรือเพิ่งลุยน้ำมา ควรผึ่งให้แห้งก่อนเสมอ คนส่วนมากชอบเข้าใจว่า เอายัดเข้าตู้เก็บรองเท้าไปก็ได้ ซึ่งการทำแบบนั้น เชื้อราจะขึ้น และเวลาเชื้อราขึ้น มันจะขึ้นติดรองเท้าคู่อื่นไปด้วย ดังนั้นแนะนำให้ตากรองเท้าข้างนอกก่อน ยังไม่ต้องรีบเอาเข้าตู้ หรือหากชื้นมากก็ควร ตากแดดอ่อนๆ อาจเป่าด้วยลมเย็นของไดร์เป่าผมก็ได้ แต่ห้ามเป่าด้วยลมร้อน ถ้าเป็นลมร้อนเป่า หนังรองเท้าจะเหี่ยวได้
:: ยัดกระดาษปลายรองเท้า รักษารูปทรง
เวลาเก็บรองเท้า ควรจะยัดกระดาษสีขาว ไว้ที่ปลายรองเท้าเพื่อรักษาทรงรองเท้า และไม่ควรใช้เป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ เพราะสีหมึกอาจซึมลงในรองเท้าได้
:: ใส่แผ่นกันรองเท้ากัด
แน่นอนสาวเราสิ่งที่เป็นกังวลและทำให้เกิดผิวหนังพองบริเวณเท้าคือ "รองเท้ากัด" ในรายที่ซื้อรองเท้ามาใหม่ และเดินเป็นเวลานาน หากรองเท้ากัด ควรหาซื้อแผ่นกันรองเท้ากัดมาติด หรือหากไม่อยากให้รองเท้ามีรอยกาวแผ่นกันรองเท้ากัดสามารถมาที่ร้านดูแลรองเท้า เพื่อหาหนังนิ่มๆ มาเย็บติดบริเวณที่รองเท้ากัดได้
:: ใส่ถุงถ่านในรองเท้า ดับกลิ่น
หากรองเท้ามีกลิ่นเหม็นอับ โดยเฉพาะผู้ชาย แต่ผู้หญิงบางนางก็ใช่ย่อย กลิ่นแรงไม่แพ้กัน บางคนถอดรองเท้ามาที กลิ่นโชยราวหนูตายท้องกลม
วิธีแก้เบื้องต้น ให้นำถุงเล็กๆ คล้ายถุงชา บรรจุถ่านไม้สีดำ บดละเอียดใส่เข้าไปในรองเท้า เพื่อให้ดูดกลิ่นอับในรองเท้า
อ๊ะ! เพียงแค่นี้ รองเท้าคู่โปรดก็อยู่เคียงเท้าของคุณไปนานกว่า 2 ปี แน่นอนเล้ย ^_^
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net