xs
xsm
sm
md
lg

Review : ASUS WL-330N3G ไวเลสเราท์เตอร์จิ๋วอเนกประสงค์-แชร์ 3G ได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




ส่วนใหญ่ไวเลสเราท์เตอร์ มาตรฐานมักมีขนาดที่ใหญ่และเหมาะแก่การติดตั้งอยู่กับที่ แต่สำหรับไวเลสเราท์เตอร์ ที่ทีมงานผู้จัดการไซเบอร์ได้รับมาวันนี้ในชื่อ ASUS WL-330N3G ถือเป็นไวเลสเราท์เตอร์ ขนาดเล็กเพียงฝ่ามือ และมาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานครบครันถึง 6 รูปแบบ รวมถึงความสามารถในการรองรับ 3G Sharing จาก 3G Dongle ภายนอกได้ด้วย

Design and Specifications



โดยส่วนแรกสำหรับสเปกของไวเลสเราท์เตอร์ ASUS WL-330N3G ด้านรูปร่างจะมีขนาดเล็กกว่าเครดิตการ์ดและความยาวxกว้างxสูงอยู่ที่ 90x38.9x12.8 มิลลิเมตร พร้อมรองรับการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย Wireless-N ความเร็วสูงสุด 150Mbps

ในส่วนระบบการจัดการเน็ตเวิร์กที่รองรับได้แก่ DHCP server, DHCP client, DNS Proxy, Automatic IP, PPPoE, PPTP login client support, Static IP, Static Route, NTP support, UPnP, DDNS, WMM และระบบรักษาความปลอดภัยที่รองรับแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบคือ

Firewall :
NAT, SPI, DoS attack prevention, Virtual DMZ
Filtering :
Port, IP address, Protocol, URL Keyword
Encryption :
64/128-bit WEP, WPA-PSK TKIP/AES, WPA2-PSK TKIP/AES
Authentication :
MAC address



สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อรอบๆ ตัวเครื่องประกอบด้วย พอร์ต RJ45 (10/100 BaseT with auto cross-over function (MDI/MDI-X)), พอร์ตเชื่อมต่อ microUSB สำหรับเชื่อมต่ออะแดปเตอร์ AC และสามารถเชื่อมต่อกับสาย USB 2.0 แบบ 2 หัวเข้ากับโน้ตบุ๊ก - พีซี - Power Backup และ Mac เพื่อดึงไฟจากอุปกรณ์เหล่านั้นมาเลี้ยงไวเลสเราท์เตอร์ ได้



และในส่วนพอร์ต USB 2.0 บริเวณด้านข้างไวเลสเราท์เตอร์ จะใช้เชื่อมต่อกับ 3G Dongle เพื่อเปิดใช้งานฟังก์ชัน 3G Sharing (จะอธิบายวิธีใช้ในหัวข้อถัดไป)


รายชื่อ 3G Dongle ที่รองรับกับ ASUS WL-330N3G



สุดท้ายในส่วนสัญญาณไฟสถานะด้านบนตัวเครื่องจะประกอบด้วย ไฟแสดงสถานะเมื่อผู้ใช้เริ่มใช้งาน 3G Dongle ถัดมาเป็นไฟสถานะเมื่อเชื่อมต่อ Ethernet จากนั้นจะเป็นไฟแสดงสถานะเมื่อใช้งาน Wireless LAN และสุดท้ายไฟแสดงสถานะเปิด-ปิด ตัวเครื่อง

6 in 1 Mobile Router

ขึ้นชื่อว่าเป็นไวเลสเราท์เตอร์ อเนกประสงค์เพราะฉะนั้นในเรื่องความสามารถก็ต้องครอบคลุมรูปแบบการใช้งานถึง 6 รูปแบบได้แก่

1.ใช้เป็น Wireless Router กล่าวคือ ใช้เป็นตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากโมเด็มที่เชื่อมต่อกับ ADSL ปกติ
2.ใช้เป็น Access Poimt กล่าวคือ สามารถเป็นตัวกลางเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กเข้ากับโฮสต์ของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ
3.ใช้เป็น Universal Repeater กล่าวคือ ใช้เป็นตัวขยายขอบเขตสัญญาณไร้สายจากเราท์เตอร์ ตัวอื่นๆ ให้ใช้งานได้ไกลขึ้น
4.ใช้เป็น Ethernet Adapter กล่าวคือ สามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายหรือจาก 3G Dongle แล้วปล่อยเป็นสัญญาณอินเตอร์เน็ตผ่านสายแลนไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับได้
5.ใช้เป็น Hotspot กล่าวคือ สามารถใช้ร่วมกับ WiFi สาธารณะที่ต้องเสียเงินเปิดใช้ต่อ 1 อุปกรณ์ ให้สามารถ Log in ที่ WL-330N3G เพียงครั้งเดียวก็สามารถกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้ทันที
6.3G Sharing กล่าวคือ สามารถใช้ 3G Dongle ร่วมกับ WL-330N3G และแชร์อินเตอร์เน็ตไปยังอุปกรณ์ที่รองรับได้ทันที

หน้าตั้งค่า WL-330N3G ผ่านเว็บบราวเซอร์






สำหรับการเข้าตั้งค่าไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G สามารถเข้าผ่านเว็บบราวเซอร์ได้โดยพิมพ์ 192.168.1.1 ที่ Address Bar จากนั้นใส่ Username และ Password ว่า admin เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าใช้งานในส่วนการตั้งค่าไวเลสเราท์เตอร์ ได้

โดยการปรับแต่งส่วนต่างๆ จะเห็นว่าสามารถทำได้ง่าย เพราะมีภาพและตัวหนังสืออธิบายมาอย่างชัดเจน อีกทั้งระบบการทำงานของ WL-330N3G ส่วนใหญ่จะสามารถตั้งแบบอัตโนมัติได้

3G Sharing




ถึงแม้ไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G จะไม่สามารถใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์และต่อ 3G ได้โดยตรง แต่ทางเอซุสก็ให้ฟีเจอร์ที่สามารถนำ 3G Dongle มาเชื่อมต่อกับไวเลสเราท์เตอร์ และแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านไวเลสแบบ Plug and Play ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งไดร์วเวอร์เพิ่มเติมใดๆ

โดยสเปกในส่วน 3G ที่ไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G รองรับ จะสามารถใช้กับสัญญาณ 3G ได้ทั้ง HSDPA/HSDPA+ หรือ CDMA และในส่วนของโปรไฟล์ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับแต่งได้เองผ่านทางหน้า admin ของไวเลสเราท์เตอร์ ตามรูปตัวอย่าง

ทดสอบประสิทธิภาพและสรุป

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G ด้วยการใช้ฟีเจอร์ Wireless Router, 3G Sharing, Repeater และ Hotspot สามารถทำงานได้ดี และการตั้งค่าทำได้ง่าย เพราะมีคำอธิบายบอกอย่างชัดเจน อีกทั้งในส่วนของฟีเจอร์เด่นอย่าง 3G Sharing ซึ่งทีมงานได้ร่วมทดสอบกับ 3G Dongle - iFox 212 HSPA+ พบว่าสามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล และสามารถเชื่อมต่อกับซิมการ์ดทั้ง DTAC True AIS หรือ TOT3G ได้ทันทีโดยไม่ต้องตั้งโปรไฟล์ใดๆ

อีกทั้งในเรื่องของขนาดที่ค่อนข้างเล็ก น้ำหนักเบา โยกย้ายไปไหนมาไหนสะดวกสบาย ก็ถือว่าเป็นจุดเด่นของไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G ได้อย่างดี

มาที่การทดสอบ Wireless LAN Draft-N กับฮาร์ดไดร์ฟ WD Caviar Blue 500GB โดยคัดลอกข้อมูลประมาณ 4GB สำหรับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลในโหมด N จะอยู่ที่ประมาณ 70-80Mbps ส่วนในโหมด G จะอยู่ที่ประมาณ 35Mbps และสุดท้ายทดสอบเปิดไฟล์วิดีโอสตรีมมิ่ง Full HD 1080p ที่เข้ารหัส AVCHD แบบไร้สายในโหมด N พบว่าการทำงานลื่นไหลมาก ถึงแม้จะกด Seek โดดไปมาเพียงใดการเล่นวิดีโอความละเอียดสูงก็ไม่มีสะดุดแต่อย่างใด

สำหรับข้อสังเกตของไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G คงอยู่ที่เรื่องของความร้อนที่แผ่ออกมาระหว่างใช้งานอาจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมต่อกับ 3G Dongle พบว่าความร้อนแผ่ออกมาค่อนข้างสูง รวมถึงตัวไวเลสเราท์เตอร์ WL-330N3G ไม่มีแบตเตอรี Li-ion มาให้ภายใน ซึ่งการใช้งานต้องพึ่งไฟทั้งจาก AC Power และไฟจากพอร์ต USB 2.0 โดยเมื่อนำไปเชื่อมต่อกับเน็ตบุ๊กสำหรับใช้งานนอกบ้าน พบว่าค่อนข้างกินแบตเตอรีโน้ตบุ๊กพอๆ กับการชาร์จแบตเตอรีสมาร์ทโฟนผ่านโน้ตบุ๊กเลยทีเดียว

ราคาประมาณ 1,900 บาท

ขอชม
- ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
- ครอบคลุมทุกการใช้งาน
- เชื่อมต่อกับ 3G Dongle เพื่อใช้แชร์อินเตอร์เน็ตไปยังอุปกรณ์ที่รองรับได้
- การตั้งค่าการเชื่อมต่อทำได้ง่าย
- Wireless LAN เป็น Draft-N

ขอติ
- ความร้อนระหว่างใช้งานค่อนข้างมาก
- ไม่มีแบตเตอรีภายในมาให้ ถ้าใช้งานภายนอกอาจต้องอาศัยพลังงานจากโน้ตบุ๊กหรือ Power Backup

Company Related Link :
ASUS


กำลังโหลดความคิดเห็น