xs
xsm
sm
md
lg

ใครกันแน่!?กัมพูชาโอดครวญเฟคนิวส์พุ่งกระฉูด โดยเฉพาะประเด็นพิพาทกับไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงข่าวสารกัมพูชา ผ่านคณะกรรมการต่อต้านข่าวปลอม ตรวจพบเคสเฟคนิวส์ราวๆ 1,800 กรณี ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นพิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย

เมื่อปีที่แล้ว ทางกระทรวงข่าวสารกัมพูชาพบเคสเฟคนิวส์ 3,651 กรณี เพิ่มขึ้นจากระดับ 3,208 เคสของปี 2023 เกือบๆ 14%

ล่าสุดจากรายงานของกระทรวงข่าวสารกัมพูชาที่เผยแพร่ในวันอังคาร(1มิ.ย.) ระบุว่าพบกรณีการบิดเบือนข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2025 โดยเฉพาะในเรื่องความตึงเครียดทางชายแดนที่กำลังคุกรุ่นระหว่างกัมพูชากับไทย ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม

รวมแล้วมีราวๆ 180 เคสที่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทชายแดน ซึ่งทางกระทรวงข่าวสารกัมพูชาระบุว่ามันถือเป็นหัวข้อเฟคนิวส์ที่พบเห็นบ่อยสุดในช่วงเวลาดังกล่าว

รายงานข่าวระบุว่าในบรรดาเรื่องเล่าปลอมๆเหล่านั้น จำนวนมากถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(เอไอ) และเกี่ยวข้องกับการแอบอ้างพวกผู้นำกัมพูชา เป็นสถาบันต่างๆของรัฐ บุคคลทั้งหลายและคอนเทนต์หลอกลวงอื่นๆ

ทางกระทรวงข่าวสารกัมพูชาพบว่ามีมากกว่า 10 เคส ที่เป็นข่าวปลอมโดยใช้เทคโนโลยีเอไอ พร้อมเน้นว่าคอนเทนต์ที่สร้างโดยเอไอ ถูกใช้ฉ้อโกง หลอกหลวง หรือแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ที่เป็นภัยต่อสิทธิ ความเป็นส่วนหนึ่งและเกียรติภูมิของผู้คน และส่งผลกระทบต่อเกียรติยศของพวกผู้นำของประเทศ

กระทรวงข่าวสารเตือนว่าการเผยแพร่ข้อมูลข่าวที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีต้นตอจากแหล่งข่าวที่พูดเกินจริง บิดเบือนและไม่มีจรรยาบรรณ ก่อความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติอย่างร้ายแรง และอาจก่ออันตรายแก่พวกเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ทำงานปกป้องชายแดน และโหมกระพือความตึงเครียดระหว่างประเทศ ในช่วงเวลาที่อ่อนไหวอยู่ก่อนแล้ว

เทพ อิทธิฤทธิ์ โฆษกกระทรวงข่าวสาร กล่าวว่าข่าวปลอมถูกแพร่กระจายออกมาในเกือบทุกวันท่ามกลางประเด็นพิพาทด้านชายแดนกัมพูชา-ไทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนสื่อสังคมออนไลน์และมีต้นทางจากต่างประเทศ

เขาพิพากษ์วิจารณ์สื่อมวลชนและนักสร้างคอนเทนต์ในต่างแดน ในนั้นรวมถึงในไทย ว่าไม่ยึดถือจริยธรรมสื่อสารมวลชน

เขากล่าวหานักสร้างคอนเทนต์และสื่อมวลชนเหล่านั้น ละเมิดมาตรฐานทางอาชีพและใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นอาวุธทางการเมืองให้กลุ่มคนหัวรุนแรง ที่ไม่ให้ความเคารพทั้งกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

อิทธิฤทธิ์ บอกว่าการกระทำต่างๆเช่นนี้ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงความสื่อสัตย์และชื่อเสียของสื่อมวลชน ทั้งในกัมพูชาและในระดับนานาชาติ

(ที่มา:ขแมร์ไทม์ส)


กำลังโหลดความคิดเห็น