เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - Crisis Grop ของ จอร์จ โซรอส ที่เคยทำให้ค่าเงินบาทล่มในวิกฤตต้มยำกุ้งรายงานวันที่ 1 ก.ค ถึงสถานการณ์พิพาทพรมแดนไทย-กัมพูชานำมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญไทยออกคำสั่งให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฎิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค เป็นต้นไป
ธิงแทงก์ชื่อดัง Council on Foreign Relations หรือ CFR ชี้เมื่อวันที่ 30 มิ.ย ว่า บรรยากาศในเวลานี้ซึ่งเป็นอีกครั้งที่กองทัพออกมาชี้อย่างเปิดกว้างว่า รัฐบาลพลเรือนไทยปัจจุบันกำลังอ่อนแอ และนายกรัฐมนตรีนั้นไร้เดียงสาด้อยประสบการณ์ที่บรรดาผู้นำพลเรือนไม่สามารถรับมือวิกฤตนี้ได้
การพิพาททางพรมแดนเกี่ยวข้องกับ ปัญหา ช่องบก หรือ สามเหลี่ยมมรกต จ.อุบลราชธานี หรือ mon bai ตามการเรียกของกัมพูชา มีพื้นที่ราว 12 กิโลเมตรถือเป็นจุดยุทธศาสตรทางการทหารจากการที่มีพื้นที่ติดต่อ 3 ประเทศ ไทย-ลาว-กัมพูชา ที่มีปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และ ปราสาทตาควาย
อ้างอิงจากสื่อไทยได้รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.คถึงความสำคัญของ 'ช่องบก' ว่า ทหารไทยเคยขับไล่กองทัพเวียดนามจนสละชีพมาแล้ว 109 นายเมื่อระหว่างปี 2528 - ปี 2530
และไทยยัง้องประสบปัญหาล่าสุดเมื่อกูเกิล แมพ (Google Maps)ของบริษัท อัลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลของสหรัฐฯได้แสดงที่ตั้งของปราสาทาตาเมือนธมให้ไปอยู่ในฝั่งของกัมพูชา สื่อไทยภาคภาษาอังกฤษรายงานวันที่ 2 ก.ค ว่า อย่างไรก็ตาม กองทัพไทยออกมาอ้างว่า ไม่ให้ความสำคัญจากที่ 'ไม่มีน้ำหนักทางกฎหมาย' และไทยยังคงอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ปราสาทดังกล่าว
Crisis Grop กล่าวว่า มีผู้สังเกตการณ์หลายคนต่างพยายามคาดเดาว่า เหตุใดอดีตผู้นำกัมพูชา ฮุน เซน ถึงเลือกช่วงเวลานี้ในการเผาสะพานเชื่อมระหว่างเขาและอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นบิดาของนายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบัน แพทองธาร
โดยมีการตั้งทฤษฎีต่างๆที่มีบางส่วนชี้ไปว่า ฮุน เซน วิตกต่อการกวาดล้างของไทยต่ออาชญากรรมข้ามประเทศที่มีหลักฐานแสดงว่ามีชนชั้นนำของเขมรร่วมอยู่ในศูนย์โกงทางออนไลน์
Crisis Group กล่าวไปถึงข้อพิพาทดินแดนที่ฮุน เซนประกาศจะยื่นต่อศาลโลก ICJ โดยวิเคราะห์ว่า หากแม้ว่าศาล ICJ ตัดสินใจเข้าแทรก แต่ทางฝ่ายไทยจะไม่ยอมรับและต่อต้านต่อคำพิพากษา ทำให้การแก้ปัญหาที่แท้จริงจะยังคงต้องอยู่ในระดับทวิภาคี 2 ประเทศต่อไป
การปะทะทางทหารครั้งใหญ่ระหว่าง 2 ชาติครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นระหว่างปี 2008 – ปี 2011 ที่มีการสู้รบและยิงปืนใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 34 คนและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และทำให้ประชาชนพลัดถิ่นอีกมากมาย
Crisis Group ของโซรอสชี้ไปว่า ผลจากปัญหาคลิปเสียงรั่วกลายเป็นบาดแผลทางการเมืองให้กับนายกรัฐมนตรีมือใหม่ แพทองธาร ชินวัตร และยังเปิดความลับให้เห็นถึงการไม่ไว้ใจระหว่างกันระหว่างพรรครัฐบาลเพื่อไทยและกองทัพ
ในสายตาคนไทยเป็นจำนวนมาก คลิปเสียงโทรศัพท์ที่ผู้นำกัมพูชา ฮุน เซน ปฎิเสธว่าไม่ได้เป็นคนปล่อยออกมานี้กลายเป็นหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาจากฝ่ายตรงข้ามตระกูลชินวัตรที่ว่า “สามารถขายประเทศเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว”
ปัญหาไทย-กัมพูชาและแพทองธารถูกสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่นี้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากทั้งธิงแทงก์ชื่อดังของอเมริกาตั้งแต่ Crisis Group ของมหาเศรษฐี จอร์จ โซรอส และธิงแทงก์ Council on Foreign Relations ที่มีฐานอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ซิตี สื่อดิพโพลแมท และหนังสือพิมพ์ Christian Science Monitor ต่างออกมาวิเคราะห์ไปในแนวทางว่า ปัญหาพรมแดนอาจนำมาสู่การเกิดรัฐประหารครั้งใหม่ในไทย
The Christian Science Monitor ของสหรัฐฯ รายงานถึงการปรากฎตัวของกลุ่มต่อต้านที่นำโดย สนธิ ลิ้มทองกุล , จตุพร พรหมพันธุ์ และ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ภายใต้คณะรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตยออกมากดดันรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรเมื่อวันที่ 28 มิ.ย ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างความหวั่นไหวให้กับรัฐบาลเพื่อไทยและสังคมไทยโดยรวม
The Christian Science Monitor ในวันอังคาร(1)รายงานคำปราศรัยของผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการและเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในการเมืองไทย สนธิ ลิ้มทองกุล กลางเวทีซึ่งออกมาจุดประกายรัฐประหาร แต่ในตอนท้ายพบว่าเขา
ใช้น้ำเสียงอย่างระมัดระวังมากขึ้น เตือนบรรดาผู้ประท้วงว่า สมควรต้องให้ความสำคัญกับผู้นำพลเรือนมากกว่า
โดยส่งวาทะประโยคทิ้งท้ายว่า “แต่ขอให้เลือกนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ...อย่านำพวกนายพลเหล่านั้นกลับมา”
ส่งผลให้ในวันถัดมา(วันอาทิตย์) พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์ประณามถึงความพยายามใดๆในการแสดงความชอบธรรมต่อการรัฐประหาร
สื่อสหรัฐฯชื่อดังรายงานว่า ประเทศไทยมีรัฐประหารมาแล้ว 22 ครั้ง และอาจกำลังเดินหน้าสู่ครั้งที่ 23 เหมือนที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของ “วัฒนธรรมรัฐประหาร” หรือ coup culture ในไทย
เหมือนที่เคยในประเทศไทย กองทัพที่รู้สึกถึงความแข็งแกร่งมากขึ้น ผู้นำพลเรือนอ่อนแอ และการผงาดขึ้นมาของกระแสชาตินิยมสร้างความวิตกอย่างแท้จริงของการเกิดรัฐประหารซึ่งไทยขึ้นชื่ออย่างอื้อฉาว เป็นการรายงานจากสื่อดิพโพลแมทเมื่อวันที่ 11 มิ.ย ที่แสดงความกังวลว่า หรือไทยกำลังถึงจุดหักมุมใกล้ที่จะเกิดการรัฐประหารรอบใหม่