พวกผู้ส่งออกชาวจีนกำลังใช้หนทางต่างๆนานา เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการรีดภาษีสูงลิ่วของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงขนส่งสินค้าผ่านประเทศที่ 3 แล้วปิดบังแหล่งที่มา ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์สในวันอาทิตย์(4เม.ย.) อ้างอิงข้อมูลจากที่ปรึกษาทางการค้า พวกเจ้าที่ศุลกากรและข้อความที่โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์
วิธีการนี้ที่เรียกกันว่า "ขจัดถิ่นกำเนิด" เกี่ยวกับการเปลี่ยนเส้นทางสินค้าผ่านไปยังประเทศต่างๆอย่างเช่น มาลเซีย, เวียดนาม, ไทย และเกาหลีใต้ แล้วส่งออกสินค้าเหล่านั้นต่อไปยังสหรัฐฯ ภายใต้ใบรับรองใหม่เกี่ยวกับแหล่งต้นทางของสินค้า
เมื่อเร็วนี้ รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำหนดมาตรการรีดภาษี 145% เล่นงานสินค้านำเข้าจากจีน อ้างอิงความกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติและความไม่สมดุลทางการค้า พวกผู้ส่งออกจีนเกรงว่าเพดานภาษีสูงลิ่วดังกล่าวจะเป็นตัวกีดกันพวกเขาจากการเข้าถึงหนึ่งในตลาดที่สำคัญมากที่สุด
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์สรายงานว่า แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆของจีน เต็มไปด้วยแอดโฆษณาเสนอมอบ "ลบล้างแหล่งต้นทางของสินค้า"
ตามรายงานของไฟแนนเชียลไทม์ส พวกเจ้าหน้าที่ในมาเลเซีย, เวียดนามและไทย กำลังดำเนินการตรวจสอบวิธีการปฏิบัติดังกล่ว และกำลังใช้มาตรการต่างๆเพื่อยกระดับการตรวจสอบแห่งที่มาของสินค้า
ปกติแล้วพวกผู้ส่งออกของจีนมากขายสินค้าแบบ free on board (FOB) หรือถ่ายโอนความรับผิดชอบไปยังผู้ซื้อครั้งที่สินค้าออกจากจีนไปแล้ว ซึ่งมันก่อความยุ่งยากซับซ้อนต่อความพยายามดำเนินการตรวจสอบ
นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานเกี่ยวกับวิธีการหลบเลี่ยงอื่นๆ ในนั้นรวมถึงการนำสินค้าต้นทุนสูงผสมรวมกับสินค้าราคาถูก เพื่อที่ผู้ส่งออกสามารถรายงานมูลค่ารวมของสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไม์รายงานอ้างกล่าวของที่ปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศรายหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็มีคนกลางเสนอมอบแนวทางอันซับซ้อน สำหรับหลีกเลี่ยงมาตรการภาษี ให้แก่บรรดาธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
ปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตัน "รังแกทางเศรษฐกิจ" และตอบโต้ด้วยการกำหนดเพดานภาษี 125% กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากสหรัฐฯและควบคุมการส่งออก อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์จีนเผยในสัปดาห์ที่แล้วว่า พวกเขากำลังประเมินความเป็นไปได้ในการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ แต่เน้นย้ำว่าวอชิงตันต้องแสดงออกถึงความจริงใจ ด้วยการยกเลิกมาตรการรีดภาษีของพวกเขาก่อน ถ้าต้องการให้มีการเจรจาที่ก่อประโยชน์
(ที่มา:ไฟแนนเชียลไทม์ส/อาร์ทีนิวส์)