สหรัฐฯและยูเครนในวันพุธ(30เม.ย.) ลงนามในข้อตกลงแร่หลังถูกเลื่อนออกมากว่า 2 เดือน ในสิ่งที่รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกว่าเป็นรูปแบบใหม่ในคำมั่นสัญญาของอเมริกาที่มีต่อเคียฟ หลังยุติความช่วยเหลือด้านการทหาร
ยูเครนเผยว่าพวกเขาได้ผลประโยชน์สำคัญๆ ตามหลังการเจรจาที่ยืดเยื้อ ในนั้นรวมถึงอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์เหนือแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆและส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีการสำรวจ
เบื้องต้น ทรัมป์ เรียกร้องสิทธิในความมั่นคงทางแแร่ธาตุของยูเครน เป็นค่าชดเชยอาวุธของสหรัฐฯหลายแสนล้านดอลลาร์ ที่ป้อนแก่ยูเครน ในสมัยของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตามหลังการรุกรานของรัสเซียเมื่อ 3 ปีก่อน
หลังมีท่าทีลังเลในเบื้องต้น ยูเครนตอบรับข้อตกลงแร่ในแนวทางหนึ่งๆที่จะรับประกันการลงทุนของสหรัฐฯในระยะยาว ในขณะที่ทรัมป์พยายามลดระดับคำมั่นสัญญาด้านความมั่นคงของอเมริกาที่มีต่อทั่วโลกลงอย่างมาก
ในการแถลงลงนามข้อตกลงในกรุงวอชิงตัน ทาง สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯระบุว่า "มันแสดงให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาของทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสันติภาพที่ยั่งยืนและความรุ่งเรืองในยูเครน"
"ข้อตกลงนี้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนไปยังรัสเซีย ว่ารัฐบาลทรัมป์มีพันธสัญาต่อกระบวนการสันติภาพ โดยมีเสรีภาพ อธิปไตยและความรุ่งเรือง เป็นแก่นกลาง ในระยะยาว" เบสเซนต์กล่าว "และเพื่อความชัดเจน ไม่มีรัฐไหนหรือบุคคลใดที่สนับสนุนทางการเงินหรือจัดหากลไกลสงครามแก่รัสเซีย ที่จะได้รับอนุญาตให้ฉวยประโยชน์จากากรฟื้นฟูยูเครน"
ในกรุงเคียฟ เดนีส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ว่าข้อตกลงนี้ "เป็นข้อตกลงที่ดี มีความเท่าเทียมและเป็นประโยชน์"
ต่อมา ชมีกัล โพสต์ข้อความบนเทเลแกรม ระบุว่าทั้ง 2 ประเทศ จะจัดตั้งกองทุนการลงทุนฟื้นฟู(Reconstruction Investment Fund) ที่แต่ละฝ่ายจะถือครองสิทธิ์โหวต 50% "ยูเครนยังคงถือครองการควบคุมโดยสมบูรณ์เหนือใต้ดิน โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรธรรมชาติ"
ทั้งนี้ในการทำตามข้อกังวลสำคัญของเคียฟ เขาบอกว่ายูเครนจะไม่ถูกขอให้จ่ายคืนหนี้ใดๆ "มูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ ที่สหรัฐฯมอบให้ทั้งในด้านอาวุธและการสนับสนุนอื่นๆ นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 "ผลกำไรของกองทุนจะถูกนำกลับไปลงทุนใหม่อย่างครอบคลุมในยูเครน" เขากล่าว
ยูเลีย ชีฟรีเดนโก รัฐมนตรีเศรษฐกิจยูเครน เขียนบนเฟซบุ๊ก ระบุว่าข้อจตกลงนี้จะเป็นการสนับนุนทางการเงินโครงการแร่ น้ำมันและก๊าซ เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องและกระบวนการแปรูป
ในข้อเสนอดั้งเดิมนั้น ทรัมป์ ต้องการสิทธิในรายได้จากทรัพยากรแร่มูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4 เท่า ของเงินสนับสนุนที่อเมริกามอบแก่ยูเครนนับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้น
ทรัมป์ ลังเลที่จะมอบคำรับประกันด้านความมั่นคงแก่ยูเครน และปฏิเสธความทะเยอทะยานของเคียฟในการเข้าร่วมนาโต แต่ในวันพุธ(30เม.ย.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯบอกว่าการปรากฏตัวของอเมริกาในพื้นที่ จะเป็นประโยชน์แก่ยูเครน "ผมคิดว่า การปรากฏตัวของอเมริกา จะช่วยกันตัวละครแย่ๆออกจากประเทศแห่งนี้ หรือออกจากบางพื้นที่ บริเวณที่เราจะทำการขุดเจาะ" ทรัมป์ บอกกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันอังคาร(29เม.ย.) มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ขู่ว่ารัฐบาลทรัมป์จะถอนตัวออกจากการเป็นคนกลางความขัดแย้ง จนกว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะมาพร้อมกับข้อเสนอที่เป็นรูปเป็นร่าง
ทรัมป์ ผลักดันทางออกหนึ่งๆซึ่ง ยูเครน จะต้องยอมสละดินแดนบางส่วนที่ถูกยึดครองโดยรัสเซีย อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ปฏิเสธการสละแคว้นไครเมียอย่างเป็นทางการให้รัสเซีย แม้ว่าแหลมแห่งนี้ถูกรัสเซียยึดไปตั้งแต่ปี 2014 และมอสโกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางเสียงปฏิเสธของนานาชาติ
อ้างอิงจากการประเมินต่างๆนานา ยูเครนถือครองทรัพยากรแร่และแร่แรร์เอิร์ธ คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 5% ของทรัพยากรแร่และแร่แรร์เอิร์ธทั้งหมดของโลก อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้จำนวนมากของทรัพยากรเหล่านั้นยังไม่ได้มีการขุดเจาะ และที่ตั้งหลายแห่งอยู่ในดินแดน ที่เวลานี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรัสเซีย
รัสเซียควบคุมดินแดนของยูเครน คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 20% ตามหลังการสู้รบอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่ลากยาวมานานกว่า 3 ปี ที่ค่าชีวิตผู้คนไปหลายหมื่นคน ในนั้นรวมถึงพลเรือน
(ที่มา:เอเอฟพี)