xs
xsm
sm
md
lg

ตาไม่กระพริบ! ภาษีสหรัฐฯสุดโหด 104% เรียกเก็บจาก 'สินค้าจีน' เริ่มต้นแล้ว ส่วน “ปักกิ่ง” เดือดจัดโต้คืนสั่งเพิ่มภาษีสินค้าอเมริกัน 84% กูรูชี้การเติบโตเศรษฐกิจเอเชียรับเคราะห์ไปเต็มๆ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/รอยเตอร์ – ภาษีศุลกากรนำเข้าสหรัฐฯอัตรา 104% สำหรับสินค้าจีนมีผลบังคับใช้แล้วในวันพุธ(9 เม.ย)ตามคำสั่งผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ล่าสุดปักกิ่งประกาศตอบโต้สินค้าอเมริกันด้วยอัตราภาษี 84% แต่ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมาลงที่การเติบโตเศรษฐกิจเอเชียโดนหั่นไปถึง1 ใน 3 ของ 1% ในปีนี้

เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันนี้(9 เม.ย)ว่า อัตราภาษีทรัมป์ใหม่ที่กำหนดบังคับใช้หลายสิบประเทศรวมภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าจีนที่อัตรา 104% ได้มีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อย

อัตราภาษีสหรัฐฯใหม่ที่เรียกว่า มาตรการตอบโต้ภาษีทางการค้ารวมอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าสูงลิ่วถึง 104% สำหรับ 'สินค้าจีน' มีผลบังคับใช้เมื่อเวลา 24.01 น.ตามเวลาฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯในวันพุธ(9) สร้างความวิตกไปทั่วถึงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่และได้ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตกอย่างหนัก

ล่าสุดในวันพุธ(9)ปักกิ่งประกาศตอบโต้สหรัฐฯสั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรนำเข้า 84% สำหรับสินค้าสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้จากสงครามการค้าของทรัมป์สร้างความวิตกว่าจะมีการยกระดับสูงขึ้น

รัฐมนตรีการคลังจีนแถลงว่า จะสั่งบังคับใช้ภาษี 84% ต่อสินค้าอเมริกันมีผลบังคับใช้พรุ่งนี้(10) จากของเดิมที่ 34% ที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า รอยเตอร์รายงาน

เดอะการ์เดียนชี้ว่า บรรดาผู้นำระดับสูงจากรัฐบาลปักกิ่งของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง จะมีการประชุมหารือในวันนี้(9)ถึงการตอบโต้กำแพงภาษีสหรัฐฯและจะหารือถึงมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้ตลาดทุนเสถียร

แหล่งข่าว 2 คนเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากคณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน(State Council of the People's Republic of China) และรวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนไม่มากนักและหน่วยงานกำกับต่างๆคาดว่าจะเข้าประชุม
บางส่วนของมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกสามารถบังคับใช้ได้ในไม่อีกกี่สัปดาห์ที่จะถึง แหล่งข่าวคนที่ 2 แสดงความเห็น

สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนและมาตรการกำแพงภาษีทรัมป์นี้ส่งผลต่อเศรษฐกิจเอเชีย

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ADB (Asian Development Bank)แถลงวันพุธ(9) ภาษีทรัมป์หากบังคับใช้โดยสมบูรณ์จะลดการเติบโตทางเศรษฐกิจเอเชียปีนี้ถึง 1 ใน 3 ของ 1 % และคาดว่าในปี 2026 การเติบโตทางเศรษฐกิจเอเชียจะถูกลดไป 1% เต็ม

ธนาคาร ADB มีสมาชิกทั้งหมด 46 ชาติมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคาร ADB อัลเบิร์ต ปาร์ค(Albert Park) กล่าวในงานแถลงข่าววันพุธ(9)ว่า การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจนี้เกิดขึ้นก่อนที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ จะเปิดเผยอัตรากำแพงภาษีนำเข้าใหม่ทั่วโลกสัปดาห์ที่แล้ว

ในรายงานเอาท์ลุคการพัฒนาเอเชียของธนาคาร ADB ได้ประเมินว่า การเติบโตการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเอเชียจะลดลงอย่างระมัดระวังและช้าไปที่ 4.9% ในปี 2025 ซึ่งเป็นก้าวที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2022 และจะช้าลงอย่างต่อเนื่องไปที่ 4.7% ในปี 2026 จากระดับ 5% ในปี 2024 รอยเตอร์ชี้

ปาร์คกล่าวต่อว่า ผลกระทบในท้ายที่สุดของกำแพงภาษีทรัมป์ยังคงไม่แน่นอน จากการที่ขอบเขตและเงื่อนเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้เนื่องมาจากการเจรจาต่อรอง การสั่งให้ล่าช้าออกไป หรือการได้รับการยกเว้น

“อีกด้านที่ร้ายแรงคือ จะมีการตอบโต้ที่แรงขึ้นและทำให้มีการยกระดับที่อาจส่งผลกระทบใหญ่ตามมา”

และกล่าวต่อว่า “ นอกเหนือจากนี้ ขนาดและความเร็วในการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯชุดใหม่สามารถลดการลงทุนทั่วโลกและในภูมิภาค ระหว่างความตรึงเครียดทางการค้าเพิ่มขึ้นและการกระจัดกระจายจะเพิ่มต้นทุนทางการค้าและทำให้ซัพพลายเชนส์โลกเกิดปัญหาติดขัด”

การคาดากรณ์เส้นพื้นฐาน(baseline) ที่อ่อนลงได้สะท้อนไปถึงการช้าลงที่เคยคาดไว้ก่อนหน้าในจีนจากการประเมินการเติบโตที่ 4.7% ในปีนี้ต่ำกว่าระดับ 5.0% ในปี 2024 และคาดว่าจะโตน้อยลงอย่างต่อเนื่องในปีถัดไป 2026 ที่ 4.3%

รอยเตอร์รายงานว่า ธนาคารพัฒนาเอเชีย ADB ได้ประเมินว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยได้รับอานิสงค์ในปี 2018 จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนเมื่อรัฐบาลสมัยทรัมป์ 1.0 คาดว่าจะสูญเสียการเติบโตไปโดยคาดจะเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคปี 2025 ที่ 4.7% ลดลงเล็กน้อยจาก 4.8% ในปี 2024

อย่างไรก็ตามที่ภูมิภาคเอเชียใต้นั้นมีการเติบโตพุ่งขึ้นอย่างสวนทางกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย ADB ประเมินว่า จุดสว่างอยู่ที่เอเชียใต้ที่มความต้องการภายในแข็งแกร่งที่คาดการณ์ว่าจสามารถผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ถึง 6.% ในปี 2025 และ6.2% ในปี 2026 สูงจากปี 2024 ที่ 5.8%


กำลังโหลดความคิดเห็น