xs
xsm
sm
md
lg

หมดกัน F-35 สหรัฐฯ! จีนอ้างพัฒนาโดรนเรือเหาะ ตรวจจับเครื่องบินล่องหนจากระยะ 2 พัน กม.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พวกนักวิจัยจากสถาบันสถาบันทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ขั้นสูง และฟิสิกส์แห่งฉางชุน (CIOMP) มีรายงานว่าสามารถพัฒนาโดรนเรือเหาะแบบใหม่ ที่สามารถตรวจจับเครื่องบินล่องหนจากระยะที่อยู่ห่างออกไปถึง 2,000 กิโลเมตร โดรนเรือเหาะนี้สามารถล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศและติดตั้งเซ็นเซอร์อินฟราเรดพิเศษที่สามารถตรวจจับอากาศยานล่องหนได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเรดาร์

ถ้าเป็นจริง พัฒนาการนี้จะเป็นบ่งชี้ถึงช่องโหว่อ่อนแอสำคัญของบรรดาเครื่องบินล่องหนทั้งหลาย เช่น F-35 และ F-22 ของอเมริกา และเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของจีนในด้านศักยภาพตอบโต้เทคโนโลยีนี้

CIOMP ผู้เล่นรายสำคัญในโครงการขีปนาวุธและอวกาศของจีน ได้ทำการพัฒนาโดรนนี้ขึ้นมา ตามหลังทำการวิเคราะห์สัญญาณอินฟราเรดจากอากาศยานล่องหน ในการจำลองเหตุการณ์การสู้รบเหนือน่านฟ้าใต้หวัน

รายงานข่าวระบุว่า คณะทำงานของ CIOMP ค้นพบว่าสารเคลือบดูดกลืนคลื่นเรดาร์ของเครื่องบินและความเย็นภายนอก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 281 องศาเคลวิน (7.85 องศาเซลเซียส) นั่นช่วยให้มันมีประสิทธิภาพปิดบังตนเองจากวิธีการตรวจจับแบบดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม ไอเสียของเครื่องยนต์มีอุณหูมิใกล้ๆ 1,000 องศาเคลวิน และปล่อยคลื่นรังสีอินฟราเรดระดับกลาง มากกว่าตัวเครื่องบินถึง 3 เท่า ดังนั้นคณะทำงานจึงตัดสินใจใช้ข้อมูลนี้ พยายามมุ่งเน้นไปที่ความยาวคลื่น 2.8-4.3 ไมโครมิเตอร์ เพื่อดูว่ามันสามารถตรวจจับไอเสียนี้จากระยะไกลได้หรือไม่

คณะทำงานจึงได้พัฒนาตัวตรวจจับแบบ Mercury Cadmium Telluride (MCT) และกล้องโทรทรรศน์รูรับแสง 300 มม. เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ พวกเขายังตัดสินใจติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับดังกล่าวบนโดรนเรือเหาะไร้คนขับ เป็นหนทางในการตรวจจับแบบพาสซีฟและระยะไกล ณ ความสูง 20 กิโลเมตร

ผลการศึกษาพบว่ากลยุทธ์ดังกล่าวสามารถช่วยให้เรือเหาะตรวจจับเครื่องบินล่องหนจากระยะไกลมาก ครั้งที่มองจากด้านข้างหรือด้านหลัง แต่การตรวจจับจากด้านหน้า มีระยะจำกัดที่ราว 350 กิโลเมตร สืบเนื่องจากโครงสร้างลดความร้อนบริเวณด้านหน้าเครื่องบิน

ทีมวิจัยบ่งชี้ว่าการประจำการโดรนเรือเหาะนี้เป็นกลุ่ม อาจช่วยมอบระบบตรวจจับแจ้งเตือนล่วงหน้าในน่านฟ้าสำคัญๆ ของจีนในหลายพื้นที่ ขณะเดียวกันโดรนเรือเหาะขนาดเล็กกว่านี้ที่ประจำการเป็นฝูงใหญ่ ก็อาจมอบโครงข่ายการตรวจการณ์ที่สอดคล้องกันด้วย "แพลตฟอร์มนี้สามารถลอยอยู่ที่ระดับความสูง 20 กิโลเมตรหรือสูงกว่านั้น เป็นเวลาหลายเดือน สูงเกินกว่าระยะทำการของขีปนาวุธยิงจากพื้นผิวสู่อากาศหรือเครื่องบินขับไล่" เทียน เหาะ หนึ่งในคณะวิจัยของ CIOMP ระบุ

กระนั้น คณะทำงานเน้นย้ำว่า ไม่ใช่ว่าโดรนเรือเหาะนี้จะไม่มีจุดอ่อน พวกมันเคลื่อนที่ค่อนข้างช้า สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วแค่ราว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และด้วยที่มันนมีขนาดความยาว 150 เมตร ตัวของมันเองจึงแทบล่องหนไม่ได้ ทำให้มันอ่อนแอต่อตัวสกัดกั้นอย่างเฉพาะเจาะจง

(ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์)


กำลังโหลดความคิดเห็น