เอเอฟพี/รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – อังกฤษวันอาทิตย์(15 ธ.ค) กลายเป็นชาติแรกในยุโรปร่วมข้อตกลงการค้าเสรีรอบแปซิฟิก CPTPP อย่างเป็นทางการ เป็นการหาตลาดใหม่แดนผู้ดีหลังยุค BREXIT เตรียมรับอเมริกายุคทรัมป์จ่อโดนบีบคอซื้อเนื้อวัวคุณภาพสูงแบบปลอดภาษี
เอเอฟพีรายงานวันอาทิตย์(15 พ.ค)ว่า อังกฤษได้กลายเป็นชาติแรกจากยุโรป ที่ได้เข้าร่วมข้อตกลงข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership)
โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอาทิตย์(15) เป็นต้นไปและส่งผลทำให้อังกฤษกลายเป็นชาติที่ 12 ของกลุ่ม
นอกเหนือจากอังกฤษแล้วพบว่า ทั้งจีนและไต้หวันต่างยื่นใบสมัครเข้าร่วมด้วยเช่นกันแต่อังกฤษนั้นได้รับการอนุมัติก่อนและมีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสื่อจีน โกลบอลไทม์ส ให้ความสนใจโดยในรายงานวานนี้(15) กล่าวว่า การขยายตัวของกลุ่มการค้าเสรีแปซิฟิก CPTPP ที่จะรวมถึง "จีน" หลังจาก "อังกฤษ" แล้วจะช่วยกระตุ้นการค้าเสรีโลก
โกลบอลไทม์สกล่าวว่า ในขณะที่การค้าเสรีโลกกำลังเผชิญหน้าต่อความท้าทายมากมาย รวมความตรึงเครียดการเมืองภูมิศาสตร์และการปกป้องการค้าเพิ่มขึ้น การขยายของ CPTPP นั้นกลายเป็นความสำคัญเพิมขึ้นสำหรับการค้าระหว่างประเทศ
และสื่อจีนพร้อมยกย่องความสำคัญต่อการเข้าเป็นสมาชิกของปักกิ่งในระหว่างที่ไต้หวันถูกปฎิเสธการเข้ารับสมัครเป็นสมาชิกโดยกล่าวว่า "หากว่าจีนได้กลายเป็นสมาชิก จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการกระตุ้นการค้าเสรี"
พร้อมกันนั้นยังโจมตีสหรัฐฯคู่แข่งไปในทีว่า "ทั้งนี้ข้อตกลงการค้าเสรีแปซิฟิก TPP (TPP หรือ ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ) นันแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากแฟ็คเตอร์ทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ ความสำคัญของมันในการค้าโลกได้เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่สหรัฐฯได้ถอนตัวออกไป"
ซึ่งก่อนหน้า CPTPP นั้นมีประเทศสมาชิกยักษ์ใหญ่อยู่เดิมได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก
ซึ่งกลุ่มการค้าเสรี CPTPP นี้ยังมีมาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์เข้าร่วมแต่ทว่า ไทยที่ได้ยื่นสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ BRICS ที่กำลังร้อนแรง ซึ่งมีรัสเซียและจีนเป็นหัวหอกผู้นำโลกขั้วใหม่แต่ทว่าไทยยังคงลังเลที่จะเข้าร่วมกลุ่มการค้าเสรี CPTPPถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาและการถกเถียงในภาคประชาชนมาอย่างยาวนาน
รอยเตอร์เคยรายงานว่า สมาชิกกลุ่มการค้าเสรี CPTPP ถูกกำหนดต้องทำลายกำแพงภาษีหรือลดภาษีนำเข้าอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงมีพันธสัญญาในการเปิดกว้างทางด้านในตลาดด้านบริการและการลงทุน และมีกฎด้านการแข่งขัน สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาลัการปกป้องให้แก่บริษัทต่างชาติ
รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่า ไม่ต่ำกว่า 99% ของการส่งออกสินค้าอังกฤษปัจจุบันไปยังชาติสมาชิก CPTPP ทั้งหลายจะปลอดภาษีทันทีหลังข้อตกลงการร่วมเป็นสมาชิกนั้นมีผลบังคับใช้ที่เกิดขึ้นแล้ววานนี้(15) ที่จะส่งผลมหันต์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอังกฤษได้ราว 2 พันล้านปอนด์ (2.6 พันล้านดอลาร์)ต่อปีภายในปี 2040
เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อังกฤษต้องรับมือกับสหรัฐฯภายใต้การกลับมาของอดีตประธานาธิบดีพรรครีพับลิกัน โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ขู่จะขึ้นภาษีนำเข้าต่อสินค้าต่างชาติครั้งใหญ่
เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันเสาร์(14)ว่า ภายใต้ทรัมป์คาดว่าสหรัฐฯจะเดินหน้าผลักดันบีบให้อังกฤษต้องนำเข้าเนื้อวัวอเมริกาคุณภาพสูงที่คาดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงใดๆที่จะลงนามภายใต้รัฐบาลทรัมป์ในอนาคต
ทั้งนี้ก่อนหน้าสหรัฐฯเคยพยายามผลักดันแต่ล้มเหลวในการเรียกร้องอังกฤษให้ยอมนำเข้า เนื้อไก่ที่ผ่านการล้างด้วยคลอรีน(chlorinated chicken)และเนื้อวัวที่ขุนด้วยโฮโมน(hormone-fed beef) ของอเมริกานั้นผิดกฎหมายในอังกฤษ
แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลเป็นที่รู้จักด้านอุตสาหกรรมและการค้าในสหรัฐฯในเวลานี้กล่าวว่า สิ่งที่เคยกีดขวางในอดีตสามารถขจัดออกไปได้เพียงแต่แค่เปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่เป็นไปตามมาตรฐานอังกฤษนั้นเข้าสู่ประเทศโดยไม่มีภาษี
คนเหล่านั้นกล่าวต่อว่า ตลาดสำหรับเนื้อสัตว์ประเภทนี้นั้นกำลังเฟื่องฟูในอเมริกานับตั้งแต่ปัญหาข้อตกลงการค้าหลัง BREXIT ได้ถูกหยิบยกขึ้นมา
ด้านอีริน บอร์เรอร์ (Erin Borror) รองประธานสมาพันธ์ส่งออกเนื้อสัตว์สหรัฐฯ (US Meat Export Federation) แสดงความเห็นว่า
“ในมุมมองของพวกเรา มันมีความเป็นไปได้แบบ 360 องศา ผู้ผลิตของพวกเรา ผู้ส่งออกของพวกเรานั้นกำลังส่งในสิ่งที่ผู้บริโภคและลูกค้าต้องการ ปล่อยให้ตลาดทำงาน”
ขณะที่ว่าที่ผู้แทนการค้าสหรัฐฯคนใหม่ที่ทรัมป์เปิดชื่อคือ เจมีสัน เกรียร์ (Jamieson Greer) แสดงความเห็นว่า อเมริกาสมควรหันไปแสวงหาการเข้าถึงตลาดที่ไม่มีจีนผ่านข้อตกลงระดับทวิภาคีกับประเทศอื่นๆ
เกรียร์ยังแสดงความเห็นว่า อเมริกาสมควรต้องการให้ความสำคัญกับคู่ค้าเป็นต้นว่า อังกฤษ เคนยา ฟิลิปปินส์ และอินเดียนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี