(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Middle East peace may be beyond Trump the dealmaker’s reach
by Amin Saikal
15/11/2024
ทรัมป์ประกาศว่าเขาจะช่วยอิสราเอลเพื่อยุติสงครามกาซาและสงครามเลบานอนให้จบลงไปอย่างรวดเร็ว ทว่ามันเป็นเรื่อง “พูดง่ายยิ่งกว่าทำ” จริงๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่กำลังเกิดความผันผวนปรวนแปรอย่างรุนแรงเชี่ยวกราก
โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯอีกสมัยหนึ่งเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่ตะวันออกกลางก็เกิดความผันผวนปั่นป่วนอย่างสุดขีด
ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันผู้นี้สัญญาที่จะยุติสงครามทุกๆ สงคราม ด้วยลักษณะท่าทางหุนหันพลันแล่นและไม่สามารถคาดเดาทำนายได้ อันเป็นความปกติธรรมดาอย่างเคยๆ ของเขา ทรัมป์ประกาศให้คำมั่นว่าจะแก้ไขคลี่คลาย [1] สงครามยูเครนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง อีกทั้งจะช่วยอิสราเอลยุติ [2] การปฏิบัติการของพวกเขาในกาซาและเลบานอนให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ตะวันออกกลางเป็นสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความซับซ้อน ทรัมป์จะต้องประสบความยากลำบากมากมายในการสร้างความสมดุลระหว่างการให้ความสนับสนุนอิสราเอลอย่างแสนจะกระตือรือร้นของเขา กับความทะเยอทะยานอื่นๆ ของเขาในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาถึงพลวัตที่กำลังเปลี่ยนแปลงระหว่างอิหร่าน กับศัตรูเก่าของประเทศนั้นอย่างซาอุดีอาระเบีย
ตรงนี้คือสิ่งที่ทรัมป์สามารถคาดหมายได้เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า มีเรื่องใหญ่ในตะวันออกกลางเรื่องหนึ่งที่ถูกบดบังเอาไว้จากข่าวคราวการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ได้แก่ การที่กาตาร์ประกาศว่าพวกเขาจะหยุดพัก [3] บทบาทของพวกเขาในการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้เกิดการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส
รัฐเจ้าอาหรับเล็กๆ ที่ร่ำรวยด้วยน้ำมันแห่งนี้ ได้พยายามทำงานอย่างหนักตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้เกิดข้อตกลงที่จะยุติสงครามครั้งนี้ โดยในท่ามกลางกระบวนการดังกล่าว กาตาร์หาทางใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มๆ จากการที่พวกเขามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยที่ฐานทัพแห่งใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางของอเมริกาก็ตั้งอยู่ในรัฐเจ้าอาหรับแห่งนี้นี่เอง เวลาเดียวกันนั้น กาตาร์ยังมีความชิดเชื้อกับกลุ่มฮามาส ดังเห็นได้ว่าคณะผู้นำทางการเมืองและสำนักงานของกลุ่มนี้ต่างก็พำนักและจัดตั้งขึ้นที่เมืองหลวงโดฮาของกาตาร์ จากสภาพเช่นนี้เอง รัฐเจ้าอาหรับแห่งนี้เชื่อว่าจะช่วยให้พวกเขาได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากฝ่ายต่างๆ ที่ทำศึกกันอยู่
อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าความพยายามของพวกเขากลับไม่สามารถสร้างผลผลิตอะไรได้มากไปกว่าช่วงเวลาหยุดยิงระยะสั้นๆ [4] ในปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้มีการปลดปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลมากกว่า 100 คนเป็นการแลกเปลี่ยนกับพวกนักโทษชาวปาเลสไตน์ 240 คน
มีเหตุผลอยู่มากมายหลายประการที่ทำให้เรื่องออกมาเช่นนี้ โดยที่ประการหนึ่งก็คือว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถก้าวผ่านจุดสะดุดติดขัดหลักๆ สองสามอย่างไปได้ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลนั้น มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะกำจัดกลุ่มฮามาสให้หมดสิ้นไปอย่างสมบูรณ์แบบ และประกาศคัดค้านการทำข้อตกลงหยุดยิงที่เป็นแบบชั่วคราว [5] ส่วนฮามาสก็กำลังเรียกร้องให้มีการยุติการสู้รบอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งทหารอิสราเอลทั้งหมดต้องถอนตัวออกไปจากดินแดนกาซา
เวลาเดียวกันนั้น วอชิงตันก็ล้มเหลวมากที่ไม่ได้แสดงบทบาทซึ่งมีความหมายในการเจรจาต่อรองกันคราวนี้ ขณะที่สหรัฐฯเน้นย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าถึงความปรารถนาของพวกเขาที่จะให้มีการตกลงหยุดยิงกัน แต่ไม่ว่าในช่วงเวลาไหนก็ตามที คณะบริหารไบเดนก็ไม่เคยออกแรงบีบคั้นแบบจับต้องได้ต่ออิสราเอล ให้มากไปกว่าแค่การพูดจาแสดงโวหารในเชิงการทูต
วอชิงตันยังปฏิเสธไม่ยอมตัดความช่วยเหลือทางทหารที่ให้แก่อิสราเอล ตรงกันข้าม สหรัฐฯได้อนุมัติการขายอาวุธมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ [6] แก่อิสราเอลเมื่อเดือนสิงหาคมด้วยซ้ำ นี่ย่อมหมายความว่าเนทันยาฮูไม่ได้มีเหตุผลเชิงบีบบังคับใดๆ เลยให้ต้องหันเหออกไปจากภารกิจที่เขามุ่งมั่นตั้งใจ
ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการหยุดยิงในเลบานอน
ขณะที่โอกาสสำหรับการหยุดยิงในกาซาได้จางหายไปเสียแล้ว มันก็มีความหวังเพิ่มขึ้นมาเกี่ยวกับการหยุดยิงในเลบานอน
มีรายงานว่า วอชิงตันได้ดำเนินความพยายาม [7] ทางการทูตอย่างเข้มข้นเพื่อทำให้อิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เข้าสู่จุดซึ่งสามารถเห็นพ้องร่วมกันได้เพื่อจะได้ยุติการสู้รบในเลบานอน
อิสราเอลนั้นต้องการให้ฮิซบอลเลาะห์ถูกปลดอาวุธ และถอยหลังกลับไปอย่างน้อยที่สุดก็ต้องอยู่หลังแนวเขตแม่น้ำลิตานี (Litani River) ในภาคใต้ของเลบานอน –นั่นคือประมาณ 30 กิโลเมตรทางตอนเหนือของเส้นชายแดนอิสราเอล— โดยที่จะต้องมีการจัดตั้งเขตพื้นที่ความมั่นคงขึ้นมาคั่นกลางระหว่างทั้งสองฝ่ายอีกด้วย อิสราเอลยังต้องการรักษาสิทธิ [8] ที่จะกลับโจมตีฮิซบอลเลาะห์ได้ใหม่เมื่อเห็นว่าจำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเลบานอนน่าจะปฏิเสธไม่อาจยอมรับได้
อิสราเอลได้ทำให้ฮิซบอลเลาะห์อ่อนกำลังลงไปอย่างมากมาย จากการถล่มทิ้งระเบิดและการรุกรานภาคพื้นดินเข้าไปในภาคใต้เลบานอน ซึ่งได้ทำให้พลเรือนในพื้นที่ดังกล่าวต้องบาดเจ็บล้มตายอย่างมโหฬาร [9]
อย่างไรก็ดี เฉกเช่นเดียวกับที่อิสราเอลไม่สามารถจะกวาดล้างฮามาสให้หมดสิ้นไป จนกระทั่งถึงเวลานี้พวกเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้ฮิซบอลเลาะห์พิกลพิการ [10] จนถึงขนาดที่จะสามารถบีบบังคับให้ฮิซบอลเลาะห์ต้องยอมรับข้อตกลงหยุดยิงแบบที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งอิสราเอลเรียกร้องต้องการ กลุ่มนักรบกลุ่มนี้กลับยังคงแสดงออกถึงการมีความอาจหาญทางการเมืองและทางการทหารอย่างเพียงพอเพื่อรักษาความหยุ่นตัวเอาไว้ต่อไปได้
มาถึงตอนนี้ ทรัมป์กำลังหวนกลับเข้ามาอยู่ในฉากอีกคำรบหนึ่ง ชัยชนะในการเลือกตั้งของเขาสร้างความสบายอกสบายใจให้รัฐบาลของเนทันยาฮู ถึงขนาดที่ เบซาเลล สโมทริช (Bezalel Smotrich) รัฐมนตรีคลังของเขาได้เรียกร้อง [11] พวกเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้เตรียมการสำหรับการประกาศผนวกพวกนิคมซึ่งชาวยิวบุกเข้าไปจัดตั้งขึ้นในพื้นที่เขตเวสต์แบงก์ของปาเลสไตน์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลอย่างเป็นทางการกันเลยทีเดียว
ทรัมป์นั้นเป็นผู้สนับสนุนอิสราเอลอย่างมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวมาเป็นเวลานานแล้ว ระหว่างสมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีวาระแรกของเขา ทรัมป์ประกาศรับรอง [12] ให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล และออกคำสั่งให้สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯโยกย้ายไปตั้งประจำที่นั่น เขายังรับรอง [13] ว่าอิสราเอลมีอำนาจอธิปไตยเหนือที่ราบสูงโกลาน (Golan Heights) ซึ่งอิสราเอลแย่งยึดมาจากซีเรียเมื่อปี 1967
เขาวิพากษ์วิจารณ์อิหร่านอย่างรุนแรงโดยกล่าวหาว่าเป็นวายร้ายตัวจริงในภูมิภาค และสั่งให้สหรัฐฯถอนตัว [14] ออกจากข้อตกลงพหุภาคีในเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน เขายังกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดข้อตกลงอับราฮัม (Abraham Accords) [15] ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญทำให้รัฐอาหรับหลายรายสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติกับอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม สงครามในกาซาและสงครามเลบานอน ตลอดจนการแลกหมัดปะทะกันทางทหารโดยตรงระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านในรอบปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เนื้อหนังของภูมิภาคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว
ทรัมป์ส่งเสียงหนุนหลังอย่างแน่วแน่ไม่มีลังเลมาโดยตลอดในเรื่องที่อิสราเอลคัดค้านมุ่งทำลายล้างฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ นอกจากนั้นเขาน่าที่จะรื้อฟื้นคืนชีพการรณรงค์ “ออกแรงบีบคั้นสูงสุด” [16] เพื่อเล่นงานอิหร่านของเขาขึ้นมาใหม่ โดยเรื่องนี้ย่อมรวมถึงการพยายามเค้นคอเตหะรานด้วยมาตรการแซงก์ชั่นอันเข้มงวดกวดขันและสกัดกั้นไม่ให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมัน ในเวลาเดียวกับที่หาทางโดดเดี่ยวเตหะรานในระดับระหว่างประเทศ
เวลาเดียวกันนั้น ในฐานะที่เขาเป็นผู้นำซึ่งเน้นหนักเรื่องการทำติดต่อทำธุรกรรม ทรัมป์จึงยังมีความต้องการที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าซึ่งสร้างกำไรอย่างงดงาม กับบรรดารัฐบาลชาติอาหรับของภูมิภาคนี้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้ในเวลานี้ต่างกำลังรู้สึกตระหนกหวั่นไหวกับขนาดขอบเขตการปฏิบัติการของอิสราเอลในกาซาและเลบานอน ขณะที่ประชากรของพวกเขากำลังเดือดพล่านด้วยความรู้สึกหงุดหงิดผิดหวังที่ประดาผู้นำของพวกเขาไร้ความสามารถที่จะตอบโต้การกระทำของอิสราเอล ทั้งนี้เรื่องเช่นนี้ไม่มีที่ไหนซึ่งปรากฏเห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่าในจอร์แดน [17]
ผลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาก็คือ ซาอุดีอาระเบีย –พันธมิตรอาหรับที่ร่ำรวยที่สุดและสำคัญที่สุดของอเมริกาในภูมิภาคนี้— ในระยะหลังๆ มานี้ได้แสดงตัวเป็นผู้นำ [18] ในการเปล่งเสียงคัดค้านอิสราเอลอย่างแรงกล้า ผู้ปกครองโดยพฤตินัยของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งก็คือ มกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (Crown Prince Mohammed bin Salman) ถึงขั้นออกมาประกาศว่าการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นเอกราช ถือเป็นเงื่อนไขข้อหนึ่ง [19] ที่จะต้องปฏิบัติ หากจะให้ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติกับอิสราเอล
ยิ่งไปกว่านั้น ริยาดยังกำลังเพิ่มความแข็งแรงให้แก่การปรองดองที่ดำเนินมาได้ 1 ปีเศษแล้วกับปรปักษ์ตัวเอ้ของพวกเขาอย่างอิหร่านอีกด้วย โดยที่รัฐมนตรีกลาโหมของ 2 ประเทศนี้เพิ่งพบปะหารือ [20] กันในช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังการร่วมซ้อมรบ [21] ระหว่างกองทัพเรือของ 2 ฝ่าย
ไม่เพียงเท่านั้น บิน ซัลมาน ยังเพิ่งจัดการประชุมหารือ [22] ครั้งพิเศษกับพวกผู้นำชาติอาหรับและพวกผู้นำชาติมุสลิมในกรุงริยาด เพื่อหล่อหลอมสร้างจุดยืนที่เป็นฉันทามติร่วมกันขึ้นมาสำหรับเอาไว้รับมือกับอิสราเอล และกับคณะบริหารทรัมป์ที่กำลังจะขึ้นครองอำนาจ
ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่อะไร?
ทรัมป์จำเป็นที่จะต้องค้นหาจุดสมดุลระหว่างความมุ่งมั่นผูกพันที่เขามีอยู่กับอิสราเอล และการธำรงรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่อเมริกามีอยู่กับพวกชาติพันธมิตรอาหรับซึ่งดำรงมาอย่างยาวนานแล้ว เรื่องนี้จะมีบทบาทสำคัญยิ่งยวดทั้งสำหรับการยุติสงครามต่างๆ ในตะวันออกกลาง และในการบลั๊ฟกลับอิหร่าน
เตหะรานไม่ได้อยู่ในสภาพอ่อนเปราะต่อการหว่านโปรยพิษร้ายของทรัมป์แบบเดียวกับที่พวกเขาอาจจะเป็นอยู่ในอดีตที่ผ่านมาเสียแล้ว อิหร่านมีความเข้มแข็งทรงอำนาจทางการทหารมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งมีความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์อันแข็งแกร่งกับทั้งรัสเซีย, จีน, และเกาหลีเหนือ รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่ปรับปรุงกระเตื้องขึ้นมากกับบรรดารัฐอาหรับในภูมิภาค
พิจารณาจากสถานการณ์ที่ไม่มีข้อตกลงหยุดยิงในกาซา, ขณะที่มีความหวังแค่บางเฉียบที่จะเกิดการยุติการสู้รบในเลบานอน, ความดื้อรั้นไม่ยอมประนีประนอมของเนทันยาฮู, และการที่ทรัมป์เดินหน้าใช้นโยบาย “อิสราเอลมาเป็นอันดับหนึ่ง” ความผันผวนปรวนแปรของตะวันออกกลางจึงน่าที่จะดำเนินต่อไปโดยไม่มีการบรรเทาเบาบางลง
มันอาจจะได้รับการพิสูจน์ออกมาว่า ภูมิภาคนี้จะสร้างเรื่องปวดศีรษะจำนวนมากมายให้แก่ทรัมป์ แบบเดียวกับที่เคยสร้างให้ โจ ไบเดน มาแล้ว ในโลกซึ่งก็กำลังเกิดการแตกขั้วแบ่งข้างอย่างชัดเจน และช่างคาดการณ์ทำนายไม่ได้เอามากๆ
อามิน ไซคัล เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านตะวันออกกลางและเอเชียกลางศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ข้อเขียนนี้มาจากเว็บไซต์ เดอะ คอนเวอร์เซชั่น https://theconversation.com/ โดยสามารถติดตามอ่านข้อเขียนดั้งเดิมชิ้นนี้ได้ที่ https://theconversation.com/donald-trump-fancies-himself-a-skilled-dealmaker-but-middle-east-peace-might-be-beyond-him-243570
เชิงอรรถ
[1] https://apnews.com/article/trump-russia-ukraine-war-un-election-a78ecb843af452b8dda1d52d137ca893
[2] https://apnews.com/article/trump-mideast-netanyahu-israel-gaza-iran-wars-2e37305522d19bdc34e956586cce99bd
[3] https://edition.cnn.com/2024/11/09/politics/qatar-gaza-ceasefire-pause-mediator/index.html
[4] https://edition.cnn.com/2023/11/27/middleeast/israel-hamas-truce-extended-intl/index.html
[5] https://apnews.com/article/israel-palestinians-hamas-war-news-06-24-2024-f5de2ed8288ac3cdb02c4e9e2fbaeda1
[6] https://apnews.com/article/israel-gaza-20-billion-weapons-us-aid-b6a99129c88a5dcc4a4753e20b5e19ec
[7] https://www.bbc.com/news/articles/c14ln6kkkg7o
[8] https://www.bbc.com/news/articles/c14ln6kkkg7o
[9] https://apnews.com/article/israel-palestinians-hamas-war-lebanon-hezbollah-news-10-16-2024-f18b2e0f5e05eb11a3c2ee29c16ed867
[10] https://www.foreignaffairs.com/israel/targeted-killings-wont-destroy-hezbollah
[11] https://www.timesofisrael.com/smotrich-says-trumps-victory-an-opportunity-to-apply-sovereignty-in-the-west-bank/
[12]https://www.nytimes.com/2017/12/06/world/middleeast/trump-jerusalem-israel-capital.html
[13] https://www.bbc.com/news/world-middle-east-47697717
[14] https://trumpwhitehouse.archives.gov/briefings-statements/president-donald-j-trump-ending-united-states-participation-unacceptable-iran-deal/
[15] https://www.state.gov/the-abraham-accords/
[16] https://www.politico.com/newsletters/national-security-daily/2024/11/08/a-sneak-peak-on-trumps-iran-policy-00183727
[17] https://www.barrons.com/news/jordanians-boiling-with-anger-at-gaza-spurring-israel-border-attacks-f09c55ae
[18] https://www.aljazeera.com/news/2024/11/11/israeli-wars-in-gaza-lebanon-on-arab-islamic-summit-agenda-in-saudi-arabia
[19] https://www.middleeasteye.net/news/saudi-crown-prince-says-no-normalisation-israel-without-palestinian-statehood
[20] https://www.reuters.com/world/middle-east/saudi-armed-forces-general-chief-staff-hold-talks-iran-2024-11-10/
[21] https://www.timesofisrael.com/iran-and-saudi-arabia-hold-joint-naval-exercise-in-sea-of-oman/
[22] https://edition.cnn.com/2024/11/12/middleeast/saudi-mbs-accuses-israel-genocide-gaza-intl/index.html
หมายเหตุผู้แปล
เกี่ยวกับฐานทัพสหรัฐฯใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง ซึ่งตั้งอยู่ที่กาตาร์
ฐานทัพแห่งนี้มีชื่อว่า ฐานทัพอากาศอัล อูเดอิด (Al Udeid Air Base ) รวมทั้งยังรู้จักกันในชื่อว่า ท่าอากาศยาน อบู นัคเลาะห์ (Abu Nakhlah Airport)
อัล อูเดอิด ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโดฮา เมืองหลวงกาตาร์ แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของกองกำลังจากหลายกองทัพอากาศ ทั้งกองทัพอากาศรัฐเจ้าอาหรับกาตาร์ (Qatar Emiri Air Force), กองทัพอากาศสหรัฐฯ, กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, ตลอดจนกองกำลังต่างชาติอื่นๆ โดยที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการส่วนหน้าของกองบัญชาการทหารด้านกลางของสหรัฐฯ (United States Central Command หรือ US CENTCOM)
ภายหลังการปฏิบัติการทหารร่วมกัน ในระหว่างยุทธการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm ปฏิบัติการที่นานาชาติยกกำลังเข้าขับไล่กองทัพอิรักภายใต้ ซัดดัม ฮุสเซน ให้ออกไปจากคูเวตที่พวกเขาเข้ายึดครองเอาไว้) เมื่อปี 1991 กาตาร์และสหรัฐฯได้ตกลงทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันฉบับหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ถูกขยายให้มีเนื้อหากว้างขวางขึ้นอีก ในปี 1996 กาตาร์ได้สร้างฐานทัพอากาศอัล อูเดอิด ขึ้นมาโดยสิ้นค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯได้เข้าใช้ฐานทัพแห่งนี้ซึ่งเวลานั้นยังเป็นฐานทัพลับเป็นครั้งแรกในตอนปลายเดือนกันยายน 2001 เมื่อกองทัพอากาศอเมริกันต้องการให้เครื่องบินของพวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการรุกรานโจมตีในอัฟกานิสถาน
ถึงเดือนมีนาคม 2002 มีการยอมรับอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับฐานทัพแห่งนี้ เมื่อรองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ ของสหรับฯ หยุดแวะที่นั่นในช่วงการเดินทางไปภูมิภาคดังกล่าวพร้อมกับกลุ่มผู้สื่อข่าว ในเดือนเมษายน 2003 ไม่นานหลังจากการรุกรานอิรักที่นำโดยสหรัฐฯเริ่มต้นขึ้น ศูนย์ปฏิบัติการสู้รบทางอากาศสำหรับภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐฯ (U.S. Combat Air Operations Center for the Middle East) ก็ได้โยกย้ายจากฐานทัพอากาศเจ้าชายสุลต่าน (Prince Sultan Air Base) ในซาอุดีอาระเบีย มายังสิ่งที่ในตอนนั้นยังถือเป็นกองบัญชาการสำรองซึ่งสร้างขึ้นก่อนหน้านั้น 1 ปีในกาตาร์ สืบเนื่องจากมองกันว่า ที่ตั้งของกาตาร์มีความเหมาะสมกว่าในการใช้เป็นฐานของกองทหารสหรัฐฯ
จากนั้นมา อัล อูเดอิด และสิ่งปลูกสร้างทางทหารอื่นๆ ในกาตาร์ ก็ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านการส่งกำลังบำรุง, การบังคับบัญชา, และฐานสำหรับพื้นที่ปฏิบัติการของ CENTCOM และการกำกับตรวจสอบการปฏิบัติการทางอากาศของสหรัฐฯในประเทศใกล้เคียงอย่างเช่น อิรัก, อัฟกานิสถาน, และซีเรีย
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Al_Udeid_Air_Base)
ข้อตกลงอับราฮัม (Abraham Accords)
ข้อตกลงอับราฮัม ประกอบด้วยข้อตกลงทวิภาคเพื่อการสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติระหว่างอาหรับ-อิสราเอลหลายฉบับ โดย 2 ฉบับแรกที่มีการลงนามกันในวันที่ 15 กันยายน 2020 คือระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และระหว่างอิสราเอลกับบาห์เรน ทั้งนี้ สหรัฐฯเป็นผู้ทำหน้าที่คนกลางในการเจรจาจนมีการทำข้อตกลง และพิธีลงนามก็มีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นเจ้าภาพ โดยจัดขึ้นที่ระเบียงทรูแมน (Truman Balcony) ของทำเนียบขาว
เนื้อหาสำคัญของข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับคือ ทั้งยูเออีและบาห์เรนรับรองอธิปไตยของอิสราเอล ซึ่งทำให้สามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับเต็มระหว่างกันขึ้นมา ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือว่าสำคัญมากสำหรับอิสราเอล โดยเป็นครั้งแรกที่ประเทศนี้สามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอาหรับ ภายหลังจากปี 1994 เมื่อสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอล-จอร์แดน มีผลบังคับ
ในวันที่ 23 ตุลาคม 2020 อิสราเอลกับซูดาน ได้ลงนามกันเพื่อเปิดความสัมพันธ์ฉันปกติด้วย อย่างไรก็ดี จวบจนกระทั่งถึงปี 2024 ยังไม่มีการให้สัตยาบันรับรองขัอตกลงนี้ จากนั้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2020 อิสราเอลกับโมร็อกโก ได้ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติ โดยที่โมร็อกโกรับรองอธิปไตยของอิสราเอล แลกเปลี่ยนกับการที่สหรัฐฯรับรองอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนซาฮาราตะวันตก
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Abraham_Accords)
Middle East peace may be beyond Trump the dealmaker’s reach
by Amin Saikal
15/11/2024
ทรัมป์ประกาศว่าเขาจะช่วยอิสราเอลเพื่อยุติสงครามกาซาและสงครามเลบานอนให้จบลงไปอย่างรวดเร็ว ทว่ามันเป็นเรื่อง “พูดง่ายยิ่งกว่าทำ” จริงๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่กำลังเกิดความผันผวนปรวนแปรอย่างรุนแรงเชี่ยวกราก
โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯอีกสมัยหนึ่งเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่ตะวันออกกลางก็เกิดความผันผวนปั่นป่วนอย่างสุดขีด
ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันผู้นี้สัญญาที่จะยุติสงครามทุกๆ สงคราม ด้วยลักษณะท่าทางหุนหันพลันแล่นและไม่สามารถคาดเดาทำนายได้ อันเป็นความปกติธรรมดาอย่างเคยๆ ของเขา ทรัมป์ประกาศให้คำมั่นว่าจะแก้ไขคลี่คลาย [1] สงครามยูเครนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง อีกทั้งจะช่วยอิสราเอลยุติ [2] การปฏิบัติการของพวกเขาในกาซาและเลบานอนให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ตะวันออกกลางเป็นสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความซับซ้อน ทรัมป์จะต้องประสบความยากลำบากมากมายในการสร้างความสมดุลระหว่างการให้ความสนับสนุนอิสราเอลอย่างแสนจะกระตือรือร้นของเขา กับความทะเยอทะยานอื่นๆ ของเขาในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาถึงพลวัตที่กำลังเปลี่ยนแปลงระหว่างอิหร่าน กับศัตรูเก่าของประเทศนั้นอย่างซาอุดีอาระเบีย
ตรงนี้คือสิ่งที่ทรัมป์สามารถคาดหมายได้เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า มีเรื่องใหญ่ในตะวันออกกลางเรื่องหนึ่งที่ถูกบดบังเอาไว้จากข่าวคราวการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ได้แก่ การที่กาตาร์ประกาศว่าพวกเขาจะหยุดพัก [3] บทบาทของพวกเขาในการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้เกิดการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส
รัฐเจ้าอาหรับเล็กๆ ที่ร่ำรวยด้วยน้ำมันแห่งนี้ ได้พยายามทำงานอย่างหนักตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้เกิดข้อตกลงที่จะยุติสงครามครั้งนี้ โดยในท่ามกลางกระบวนการดังกล่าว กาตาร์หาทางใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มๆ จากการที่พวกเขามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยที่ฐานทัพแห่งใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางของอเมริกาก็ตั้งอยู่ในรัฐเจ้าอาหรับแห่งนี้นี่เอง เวลาเดียวกันนั้น กาตาร์ยังมีความชิดเชื้อกับกลุ่มฮามาส ดังเห็นได้ว่าคณะผู้นำทางการเมืองและสำนักงานของกลุ่มนี้ต่างก็พำนักและจัดตั้งขึ้นที่เมืองหลวงโดฮาของกาตาร์ จากสภาพเช่นนี้เอง รัฐเจ้าอาหรับแห่งนี้เชื่อว่าจะช่วยให้พวกเขาได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากฝ่ายต่างๆ ที่ทำศึกกันอยู่
อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าความพยายามของพวกเขากลับไม่สามารถสร้างผลผลิตอะไรได้มากไปกว่าช่วงเวลาหยุดยิงระยะสั้นๆ [4] ในปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้มีการปลดปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลมากกว่า 100 คนเป็นการแลกเปลี่ยนกับพวกนักโทษชาวปาเลสไตน์ 240 คน
มีเหตุผลอยู่มากมายหลายประการที่ทำให้เรื่องออกมาเช่นนี้ โดยที่ประการหนึ่งก็คือว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถก้าวผ่านจุดสะดุดติดขัดหลักๆ สองสามอย่างไปได้ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลนั้น มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะกำจัดกลุ่มฮามาสให้หมดสิ้นไปอย่างสมบูรณ์แบบ และประกาศคัดค้านการทำข้อตกลงหยุดยิงที่เป็นแบบชั่วคราว [5] ส่วนฮามาสก็กำลังเรียกร้องให้มีการยุติการสู้รบอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งทหารอิสราเอลทั้งหมดต้องถอนตัวออกไปจากดินแดนกาซา
เวลาเดียวกันนั้น วอชิงตันก็ล้มเหลวมากที่ไม่ได้แสดงบทบาทซึ่งมีความหมายในการเจรจาต่อรองกันคราวนี้ ขณะที่สหรัฐฯเน้นย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าถึงความปรารถนาของพวกเขาที่จะให้มีการตกลงหยุดยิงกัน แต่ไม่ว่าในช่วงเวลาไหนก็ตามที คณะบริหารไบเดนก็ไม่เคยออกแรงบีบคั้นแบบจับต้องได้ต่ออิสราเอล ให้มากไปกว่าแค่การพูดจาแสดงโวหารในเชิงการทูต
วอชิงตันยังปฏิเสธไม่ยอมตัดความช่วยเหลือทางทหารที่ให้แก่อิสราเอล ตรงกันข้าม สหรัฐฯได้อนุมัติการขายอาวุธมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ [6] แก่อิสราเอลเมื่อเดือนสิงหาคมด้วยซ้ำ นี่ย่อมหมายความว่าเนทันยาฮูไม่ได้มีเหตุผลเชิงบีบบังคับใดๆ เลยให้ต้องหันเหออกไปจากภารกิจที่เขามุ่งมั่นตั้งใจ
ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการหยุดยิงในเลบานอน
ขณะที่โอกาสสำหรับการหยุดยิงในกาซาได้จางหายไปเสียแล้ว มันก็มีความหวังเพิ่มขึ้นมาเกี่ยวกับการหยุดยิงในเลบานอน
มีรายงานว่า วอชิงตันได้ดำเนินความพยายาม [7] ทางการทูตอย่างเข้มข้นเพื่อทำให้อิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เข้าสู่จุดซึ่งสามารถเห็นพ้องร่วมกันได้เพื่อจะได้ยุติการสู้รบในเลบานอน
อิสราเอลนั้นต้องการให้ฮิซบอลเลาะห์ถูกปลดอาวุธ และถอยหลังกลับไปอย่างน้อยที่สุดก็ต้องอยู่หลังแนวเขตแม่น้ำลิตานี (Litani River) ในภาคใต้ของเลบานอน –นั่นคือประมาณ 30 กิโลเมตรทางตอนเหนือของเส้นชายแดนอิสราเอล— โดยที่จะต้องมีการจัดตั้งเขตพื้นที่ความมั่นคงขึ้นมาคั่นกลางระหว่างทั้งสองฝ่ายอีกด้วย อิสราเอลยังต้องการรักษาสิทธิ [8] ที่จะกลับโจมตีฮิซบอลเลาะห์ได้ใหม่เมื่อเห็นว่าจำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเลบานอนน่าจะปฏิเสธไม่อาจยอมรับได้
อิสราเอลได้ทำให้ฮิซบอลเลาะห์อ่อนกำลังลงไปอย่างมากมาย จากการถล่มทิ้งระเบิดและการรุกรานภาคพื้นดินเข้าไปในภาคใต้เลบานอน ซึ่งได้ทำให้พลเรือนในพื้นที่ดังกล่าวต้องบาดเจ็บล้มตายอย่างมโหฬาร [9]
อย่างไรก็ดี เฉกเช่นเดียวกับที่อิสราเอลไม่สามารถจะกวาดล้างฮามาสให้หมดสิ้นไป จนกระทั่งถึงเวลานี้พวกเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้ฮิซบอลเลาะห์พิกลพิการ [10] จนถึงขนาดที่จะสามารถบีบบังคับให้ฮิซบอลเลาะห์ต้องยอมรับข้อตกลงหยุดยิงแบบที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งอิสราเอลเรียกร้องต้องการ กลุ่มนักรบกลุ่มนี้กลับยังคงแสดงออกถึงการมีความอาจหาญทางการเมืองและทางการทหารอย่างเพียงพอเพื่อรักษาความหยุ่นตัวเอาไว้ต่อไปได้
มาถึงตอนนี้ ทรัมป์กำลังหวนกลับเข้ามาอยู่ในฉากอีกคำรบหนึ่ง ชัยชนะในการเลือกตั้งของเขาสร้างความสบายอกสบายใจให้รัฐบาลของเนทันยาฮู ถึงขนาดที่ เบซาเลล สโมทริช (Bezalel Smotrich) รัฐมนตรีคลังของเขาได้เรียกร้อง [11] พวกเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้เตรียมการสำหรับการประกาศผนวกพวกนิคมซึ่งชาวยิวบุกเข้าไปจัดตั้งขึ้นในพื้นที่เขตเวสต์แบงก์ของปาเลสไตน์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลอย่างเป็นทางการกันเลยทีเดียว
ทรัมป์นั้นเป็นผู้สนับสนุนอิสราเอลอย่างมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวมาเป็นเวลานานแล้ว ระหว่างสมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีวาระแรกของเขา ทรัมป์ประกาศรับรอง [12] ให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล และออกคำสั่งให้สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯโยกย้ายไปตั้งประจำที่นั่น เขายังรับรอง [13] ว่าอิสราเอลมีอำนาจอธิปไตยเหนือที่ราบสูงโกลาน (Golan Heights) ซึ่งอิสราเอลแย่งยึดมาจากซีเรียเมื่อปี 1967
เขาวิพากษ์วิจารณ์อิหร่านอย่างรุนแรงโดยกล่าวหาว่าเป็นวายร้ายตัวจริงในภูมิภาค และสั่งให้สหรัฐฯถอนตัว [14] ออกจากข้อตกลงพหุภาคีในเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน เขายังกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดข้อตกลงอับราฮัม (Abraham Accords) [15] ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญทำให้รัฐอาหรับหลายรายสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติกับอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม สงครามในกาซาและสงครามเลบานอน ตลอดจนการแลกหมัดปะทะกันทางทหารโดยตรงระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านในรอบปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เนื้อหนังของภูมิภาคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว
ทรัมป์ส่งเสียงหนุนหลังอย่างแน่วแน่ไม่มีลังเลมาโดยตลอดในเรื่องที่อิสราเอลคัดค้านมุ่งทำลายล้างฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ นอกจากนั้นเขาน่าที่จะรื้อฟื้นคืนชีพการรณรงค์ “ออกแรงบีบคั้นสูงสุด” [16] เพื่อเล่นงานอิหร่านของเขาขึ้นมาใหม่ โดยเรื่องนี้ย่อมรวมถึงการพยายามเค้นคอเตหะรานด้วยมาตรการแซงก์ชั่นอันเข้มงวดกวดขันและสกัดกั้นไม่ให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมัน ในเวลาเดียวกับที่หาทางโดดเดี่ยวเตหะรานในระดับระหว่างประเทศ
เวลาเดียวกันนั้น ในฐานะที่เขาเป็นผู้นำซึ่งเน้นหนักเรื่องการทำติดต่อทำธุรกรรม ทรัมป์จึงยังมีความต้องการที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าซึ่งสร้างกำไรอย่างงดงาม กับบรรดารัฐบาลชาติอาหรับของภูมิภาคนี้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้ในเวลานี้ต่างกำลังรู้สึกตระหนกหวั่นไหวกับขนาดขอบเขตการปฏิบัติการของอิสราเอลในกาซาและเลบานอน ขณะที่ประชากรของพวกเขากำลังเดือดพล่านด้วยความรู้สึกหงุดหงิดผิดหวังที่ประดาผู้นำของพวกเขาไร้ความสามารถที่จะตอบโต้การกระทำของอิสราเอล ทั้งนี้เรื่องเช่นนี้ไม่มีที่ไหนซึ่งปรากฏเห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่าในจอร์แดน [17]
ผลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาก็คือ ซาอุดีอาระเบีย –พันธมิตรอาหรับที่ร่ำรวยที่สุดและสำคัญที่สุดของอเมริกาในภูมิภาคนี้— ในระยะหลังๆ มานี้ได้แสดงตัวเป็นผู้นำ [18] ในการเปล่งเสียงคัดค้านอิสราเอลอย่างแรงกล้า ผู้ปกครองโดยพฤตินัยของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งก็คือ มกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (Crown Prince Mohammed bin Salman) ถึงขั้นออกมาประกาศว่าการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นเอกราช ถือเป็นเงื่อนไขข้อหนึ่ง [19] ที่จะต้องปฏิบัติ หากจะให้ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติกับอิสราเอล
ยิ่งไปกว่านั้น ริยาดยังกำลังเพิ่มความแข็งแรงให้แก่การปรองดองที่ดำเนินมาได้ 1 ปีเศษแล้วกับปรปักษ์ตัวเอ้ของพวกเขาอย่างอิหร่านอีกด้วย โดยที่รัฐมนตรีกลาโหมของ 2 ประเทศนี้เพิ่งพบปะหารือ [20] กันในช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังการร่วมซ้อมรบ [21] ระหว่างกองทัพเรือของ 2 ฝ่าย
ไม่เพียงเท่านั้น บิน ซัลมาน ยังเพิ่งจัดการประชุมหารือ [22] ครั้งพิเศษกับพวกผู้นำชาติอาหรับและพวกผู้นำชาติมุสลิมในกรุงริยาด เพื่อหล่อหลอมสร้างจุดยืนที่เป็นฉันทามติร่วมกันขึ้นมาสำหรับเอาไว้รับมือกับอิสราเอล และกับคณะบริหารทรัมป์ที่กำลังจะขึ้นครองอำนาจ
ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่อะไร?
ทรัมป์จำเป็นที่จะต้องค้นหาจุดสมดุลระหว่างความมุ่งมั่นผูกพันที่เขามีอยู่กับอิสราเอล และการธำรงรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่อเมริกามีอยู่กับพวกชาติพันธมิตรอาหรับซึ่งดำรงมาอย่างยาวนานแล้ว เรื่องนี้จะมีบทบาทสำคัญยิ่งยวดทั้งสำหรับการยุติสงครามต่างๆ ในตะวันออกกลาง และในการบลั๊ฟกลับอิหร่าน
เตหะรานไม่ได้อยู่ในสภาพอ่อนเปราะต่อการหว่านโปรยพิษร้ายของทรัมป์แบบเดียวกับที่พวกเขาอาจจะเป็นอยู่ในอดีตที่ผ่านมาเสียแล้ว อิหร่านมีความเข้มแข็งทรงอำนาจทางการทหารมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งมีความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์อันแข็งแกร่งกับทั้งรัสเซีย, จีน, และเกาหลีเหนือ รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่ปรับปรุงกระเตื้องขึ้นมากกับบรรดารัฐอาหรับในภูมิภาค
พิจารณาจากสถานการณ์ที่ไม่มีข้อตกลงหยุดยิงในกาซา, ขณะที่มีความหวังแค่บางเฉียบที่จะเกิดการยุติการสู้รบในเลบานอน, ความดื้อรั้นไม่ยอมประนีประนอมของเนทันยาฮู, และการที่ทรัมป์เดินหน้าใช้นโยบาย “อิสราเอลมาเป็นอันดับหนึ่ง” ความผันผวนปรวนแปรของตะวันออกกลางจึงน่าที่จะดำเนินต่อไปโดยไม่มีการบรรเทาเบาบางลง
มันอาจจะได้รับการพิสูจน์ออกมาว่า ภูมิภาคนี้จะสร้างเรื่องปวดศีรษะจำนวนมากมายให้แก่ทรัมป์ แบบเดียวกับที่เคยสร้างให้ โจ ไบเดน มาแล้ว ในโลกซึ่งก็กำลังเกิดการแตกขั้วแบ่งข้างอย่างชัดเจน และช่างคาดการณ์ทำนายไม่ได้เอามากๆ
อามิน ไซคัล เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านตะวันออกกลางและเอเชียกลางศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ข้อเขียนนี้มาจากเว็บไซต์ เดอะ คอนเวอร์เซชั่น https://theconversation.com/ โดยสามารถติดตามอ่านข้อเขียนดั้งเดิมชิ้นนี้ได้ที่ https://theconversation.com/donald-trump-fancies-himself-a-skilled-dealmaker-but-middle-east-peace-might-be-beyond-him-243570
เชิงอรรถ
[1] https://apnews.com/article/trump-russia-ukraine-war-un-election-a78ecb843af452b8dda1d52d137ca893
[2] https://apnews.com/article/trump-mideast-netanyahu-israel-gaza-iran-wars-2e37305522d19bdc34e956586cce99bd
[3] https://edition.cnn.com/2024/11/09/politics/qatar-gaza-ceasefire-pause-mediator/index.html
[4] https://edition.cnn.com/2023/11/27/middleeast/israel-hamas-truce-extended-intl/index.html
[5] https://apnews.com/article/israel-palestinians-hamas-war-news-06-24-2024-f5de2ed8288ac3cdb02c4e9e2fbaeda1
[6] https://apnews.com/article/israel-gaza-20-billion-weapons-us-aid-b6a99129c88a5dcc4a4753e20b5e19ec
[7] https://www.bbc.com/news/articles/c14ln6kkkg7o
[8] https://www.bbc.com/news/articles/c14ln6kkkg7o
[9] https://apnews.com/article/israel-palestinians-hamas-war-lebanon-hezbollah-news-10-16-2024-f18b2e0f5e05eb11a3c2ee29c16ed867
[10] https://www.foreignaffairs.com/israel/targeted-killings-wont-destroy-hezbollah
[11] https://www.timesofisrael.com/smotrich-says-trumps-victory-an-opportunity-to-apply-sovereignty-in-the-west-bank/
[12]https://www.nytimes.com/2017/12/06/world/middleeast/trump-jerusalem-israel-capital.html
[13] https://www.bbc.com/news/world-middle-east-47697717
[14] https://trumpwhitehouse.archives.gov/briefings-statements/president-donald-j-trump-ending-united-states-participation-unacceptable-iran-deal/
[15] https://www.state.gov/the-abraham-accords/
[16] https://www.politico.com/newsletters/national-security-daily/2024/11/08/a-sneak-peak-on-trumps-iran-policy-00183727
[17] https://www.barrons.com/news/jordanians-boiling-with-anger-at-gaza-spurring-israel-border-attacks-f09c55ae
[18] https://www.aljazeera.com/news/2024/11/11/israeli-wars-in-gaza-lebanon-on-arab-islamic-summit-agenda-in-saudi-arabia
[19] https://www.middleeasteye.net/news/saudi-crown-prince-says-no-normalisation-israel-without-palestinian-statehood
[20] https://www.reuters.com/world/middle-east/saudi-armed-forces-general-chief-staff-hold-talks-iran-2024-11-10/
[21] https://www.timesofisrael.com/iran-and-saudi-arabia-hold-joint-naval-exercise-in-sea-of-oman/
[22] https://edition.cnn.com/2024/11/12/middleeast/saudi-mbs-accuses-israel-genocide-gaza-intl/index.html
หมายเหตุผู้แปล
เกี่ยวกับฐานทัพสหรัฐฯใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง ซึ่งตั้งอยู่ที่กาตาร์
ฐานทัพแห่งนี้มีชื่อว่า ฐานทัพอากาศอัล อูเดอิด (Al Udeid Air Base ) รวมทั้งยังรู้จักกันในชื่อว่า ท่าอากาศยาน อบู นัคเลาะห์ (Abu Nakhlah Airport)
อัล อูเดอิด ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโดฮา เมืองหลวงกาตาร์ แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของกองกำลังจากหลายกองทัพอากาศ ทั้งกองทัพอากาศรัฐเจ้าอาหรับกาตาร์ (Qatar Emiri Air Force), กองทัพอากาศสหรัฐฯ, กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, ตลอดจนกองกำลังต่างชาติอื่นๆ โดยที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการส่วนหน้าของกองบัญชาการทหารด้านกลางของสหรัฐฯ (United States Central Command หรือ US CENTCOM)
ภายหลังการปฏิบัติการทหารร่วมกัน ในระหว่างยุทธการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm ปฏิบัติการที่นานาชาติยกกำลังเข้าขับไล่กองทัพอิรักภายใต้ ซัดดัม ฮุสเซน ให้ออกไปจากคูเวตที่พวกเขาเข้ายึดครองเอาไว้) เมื่อปี 1991 กาตาร์และสหรัฐฯได้ตกลงทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันฉบับหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ถูกขยายให้มีเนื้อหากว้างขวางขึ้นอีก ในปี 1996 กาตาร์ได้สร้างฐานทัพอากาศอัล อูเดอิด ขึ้นมาโดยสิ้นค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯได้เข้าใช้ฐานทัพแห่งนี้ซึ่งเวลานั้นยังเป็นฐานทัพลับเป็นครั้งแรกในตอนปลายเดือนกันยายน 2001 เมื่อกองทัพอากาศอเมริกันต้องการให้เครื่องบินของพวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการรุกรานโจมตีในอัฟกานิสถาน
ถึงเดือนมีนาคม 2002 มีการยอมรับอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับฐานทัพแห่งนี้ เมื่อรองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ ของสหรับฯ หยุดแวะที่นั่นในช่วงการเดินทางไปภูมิภาคดังกล่าวพร้อมกับกลุ่มผู้สื่อข่าว ในเดือนเมษายน 2003 ไม่นานหลังจากการรุกรานอิรักที่นำโดยสหรัฐฯเริ่มต้นขึ้น ศูนย์ปฏิบัติการสู้รบทางอากาศสำหรับภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐฯ (U.S. Combat Air Operations Center for the Middle East) ก็ได้โยกย้ายจากฐานทัพอากาศเจ้าชายสุลต่าน (Prince Sultan Air Base) ในซาอุดีอาระเบีย มายังสิ่งที่ในตอนนั้นยังถือเป็นกองบัญชาการสำรองซึ่งสร้างขึ้นก่อนหน้านั้น 1 ปีในกาตาร์ สืบเนื่องจากมองกันว่า ที่ตั้งของกาตาร์มีความเหมาะสมกว่าในการใช้เป็นฐานของกองทหารสหรัฐฯ
จากนั้นมา อัล อูเดอิด และสิ่งปลูกสร้างทางทหารอื่นๆ ในกาตาร์ ก็ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านการส่งกำลังบำรุง, การบังคับบัญชา, และฐานสำหรับพื้นที่ปฏิบัติการของ CENTCOM และการกำกับตรวจสอบการปฏิบัติการทางอากาศของสหรัฐฯในประเทศใกล้เคียงอย่างเช่น อิรัก, อัฟกานิสถาน, และซีเรีย
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Al_Udeid_Air_Base)
ข้อตกลงอับราฮัม (Abraham Accords)
ข้อตกลงอับราฮัม ประกอบด้วยข้อตกลงทวิภาคเพื่อการสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติระหว่างอาหรับ-อิสราเอลหลายฉบับ โดย 2 ฉบับแรกที่มีการลงนามกันในวันที่ 15 กันยายน 2020 คือระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และระหว่างอิสราเอลกับบาห์เรน ทั้งนี้ สหรัฐฯเป็นผู้ทำหน้าที่คนกลางในการเจรจาจนมีการทำข้อตกลง และพิธีลงนามก็มีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นเจ้าภาพ โดยจัดขึ้นที่ระเบียงทรูแมน (Truman Balcony) ของทำเนียบขาว
เนื้อหาสำคัญของข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับคือ ทั้งยูเออีและบาห์เรนรับรองอธิปไตยของอิสราเอล ซึ่งทำให้สามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับเต็มระหว่างกันขึ้นมา ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือว่าสำคัญมากสำหรับอิสราเอล โดยเป็นครั้งแรกที่ประเทศนี้สามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอาหรับ ภายหลังจากปี 1994 เมื่อสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอล-จอร์แดน มีผลบังคับ
ในวันที่ 23 ตุลาคม 2020 อิสราเอลกับซูดาน ได้ลงนามกันเพื่อเปิดความสัมพันธ์ฉันปกติด้วย อย่างไรก็ดี จวบจนกระทั่งถึงปี 2024 ยังไม่มีการให้สัตยาบันรับรองขัอตกลงนี้ จากนั้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2020 อิสราเอลกับโมร็อกโก ได้ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นปกติ โดยที่โมร็อกโกรับรองอธิปไตยของอิสราเอล แลกเปลี่ยนกับการที่สหรัฐฯรับรองอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนซาฮาราตะวันตก
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Abraham_Accords)