xs
xsm
sm
md
lg

โปรดชมชุดภาพ :สุดระทึก!! “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 - พระราชินีคามิลลา” เสด็จเยือนรัฐสภากรุงแคนเบอร์ราครั้งแรก “สว.อะบอริจิน” ตะโกนดังลั่น “เอาแผ่นดินคืนมา” ก่อนโดนตำรวจออสซีหิ้วปีกออกไปตามระเบียบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลา เสด็จพระราชดำเนินเยือนรัฐสภาออสเตรเลียที่กรุงแคนเบอร์ราวันที่ 2 วันนี้(21 ต.ค) สว.สายอะบอริจินลิ เดีย ธอร์ป (Lidia Thorpe)ประท้วงต้านตะโกนต่อต้าน พร้อมเรียกร้องสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแคนเบอร์ราและชนพื้นเมืองออสเตรเลีย ก่อนโดนหน่วยความมั่นคงออสเตรเลียตะครุบได้ก่อนที่จะถึงตัวสำเร็จ

เอเอฟพีรายงานวันนี้(21 ต.ค)ว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียเป็นวันที่ 2 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษทรงเสด็จไปเยือนกรุงแคนเบอร์ราวันจันทร์(21) หลังการเสด็จพระราชดำเนินเมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ อย่างเป็นทางการวันอาทิตย์(20) เริ่มต้นขึ้นด้วยการเสด็จลงโบสถ์

แต่อย่างไรก็ตามอ้างอิงจากเดอะการ์เดียนของอังกฤษชี้ว่า ทั้ง 2 พระองค์ทรงรีบเสด็จออกไปจากงานการถวายพระกระยาหารกลางวันหลังจากเริ่มต้นไปเพียง 10 นาทีเท่านั้นโดยที่ไม่ทราบสาเหตุและทั้ง 2 พระองค์ทรงปรากฎพระองค์สู่สาธารณะอีกครั้งในวันจันทร์(21)

ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในรัชสมัยตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ท่ามกลางการประชวรโรคมะเร็งที่มีรายงานว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงหยุดการรักษาอาการประชวรเป็นเวลา 11 วันระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินมายังออสเตรเลียและประเทศซามัวในดินแดนมหาสมุทรแปซิฟิกและโอชิเนียเป็นระยะเวลา 9 วัน

ซึ่งในการเสด็จรอบนี้หมายกำหนดการในแต่ละวันไม่ชัดเจนและสื่อโทรทัศน์ออสเตรเลียชี้ว่าเป็นหมายกำหนดการแบบลดทอนลงและพบว่าในทริปนี้มีการนำแพทย์ส่วนพระองค์ 2 คน

หนึ่งในวันที่วุ่นวายมากที่สุดของหมายนั้นศูนย์กลางอยู่ที่รัฐสภาออเตรเลีย “เกรต ฮอลล์” (Great Hall)

ทั้งนี้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เรียกร้องให้ออสเตรเลียซึ่งเป็นชาติที่มีปัญหาด้านโลกร้อนให้เดินหน้าการลดการพึ่งพาทางการทำเหมืองแร่และถ่านหินเพื่อให้แดนจิงโจ้ยังคงเป็นผู้นำทางการแข่งขันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

“มันอยู่ในผลประโยชน์ของพวกเราทั้งหมดที่ต้องเป็นผู้ช่วยที่ดีของโลก” พระเจ้าชาร์ลส์ตรัสท่ามกลางเสียงปรบมือกึกก้อง

ทั้งนี้ทรงถูกยกย่องในฐานะพระราชาแห่งการรณรงค์ทางสภาพอากาศได้ตรัสต่อว่า "ความมโหฬารและความรุนแรงของภัยพิบัติของธรรมชาตินั้นกำลังเริ่งฝีเท้ามากขึ้น" โดยพระองค์กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นสัญญาณที่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

เอเอฟพีและมาถึงไคลแม็กซ์ในขณะที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงกำลังตรัสชื่นชมต่อ “ชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมของดินแดน” ผู้ที่รักและดูแลทวีปแห่งนี้มาเป็นเวลานานถึง 65,000 ปี

แต่ทว่าเสียงปรบมือนั้นกลายเป็นความโกลหลเมื่อ ลิเดีย ธอร์ป (Lidia Thorpe) สว.เชื้อสายชนพื้นเมืองและเป็นสว.ออสเตรเลียสายอิสระตะโกนเสียงดังว่า “เอาแผ่นดินพวกเราคืนมา!”

และเสริมว่า

“นี่ไม่ใช่แผ่นดินของคุณ คุณไม่ใช่กษัตริย์ของดิฉัน” สว.ธอร์ปกล่าว พร้อมเธอได้ชี้ถึงการกระทำของอดีตจักรวรรดิอังกฤษที่เธอเรียกขานว่าเป็น “นักตั้งอาณานิคมยุโรป” (European settler) ที่กระทำต่อชนพื้นเมืองอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ของแดนจิงโจ้เป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”

เดอะการ์เดียนของอังกฤษชี้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียครั้งแรกในฐานะกษัตริย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และการเสด็จไปยังรัฐสภาออสเตรเลียวันจันทร์(21) นั้นเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่แดนจิงโจ้คงอยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ(Commonwealth of Nations) ที่มีพระมหากษัตริย์ของอังกฤษเป็นพระประมุขแห่งรัฐและมีสมาชิกทั้งหมด 56 ประเทศ

ธอร์ปกล่าวอย่างมีอารณมณ์โกรธว่า “...โปรดให้สนธิสัญญาแก่พวกเรา พวกเราต้องการสนธิสัญญาในประเทศแห่งนี้”

เดอะการ์เดียนรายงานว่า ชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียที่ผ่านมาได้กดดันเรียกร้องสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลออสเตรเลียและชนพื้นเมืองออสเตรเลียที่รู้จักในนาม First Nations peoples

เป็นการเรียกร้องที่ยาวนานมาตั้งแต่อังกฤษเริ่มต้นเข้ามายึดครองสมัยล่าอาณานิคม และมีการกลับมาเรียกร้องอีกครั้งเมื่อปี 2017

ไม่นานหลังจากนั้นสว.สายชนพื้นเมือง ลิเดีย ธอร์ป ถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงออสเตรเลียนำตัวเธอออกไปทันทีก่อนที่เธอจะเข้าไปถึงพระองค์ได้และเธอยังคงตะโกนประท้วงไม่หยุด

ซึ่งในระหว่างเกิดเหตุพบว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงหันไปตรัสหารือเงียบๆต่อนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานิส ซึ่งก่อนที่พระเจ้าชาล์ส์ที่ 3 จะประทานพระราชดำรัสต่อหน้าสมาชิกรัฐสภาออสเตรเลียทั้งเขาและผู้นำฝ่ายค้านอังกฤษ ปีเตอร์ ดัตตัน (Peter Dutton) ได้กล่าวถวายการต้อนรับทั้ง 2 พระองค์สู่รัฐสภา พร้อมยังกล่าวสดุดีในการยืนหยัดเคียงข้างออสเตรเลียทั้งในยามทุกข์และยามผาสุข

และนายกรัฐมนตรีอัลบานิสกล่าวว่า เขารู้สึกเป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตที่สามารถนำคณะผู้แทนออสเตรเลียเข้าเฝ้าในวันขึ้นครองราชย์ และกล่าวสรรเสริญพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ต่อคุณูปการในด้านการสร้างความปรองดองและการรณรงค์ต่อต้านวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกที่กระทบต่อเศรษฐกิจแดนจิงโจ้
























กำลังโหลดความคิดเห็น