xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ เซ็งจัด “จีน-รัสเซีย” ปิดกั้นแถลงการณ์สุดท้าย ASEAN ไม่พอใจประเด็นทะเลจีนใต้ ฮือฮา “แพทองธาร” พบ “บลิงเคน” ครั้งแรกที่ “ลาว” แจงเหนือน้ำท่วม ปรายตาใส่ผู้นำแดนโสม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - สหรัฐฯ วันเสาร์ (12 ต.ค.) เปิดเผยว่า จีนและรัสเซียเป็นตัวการปิดกั้นแถลงการณ์ฉันทมติในร่างซัมมิตเอเชียตะวันออกที่มาจากชาติสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่คัดค้านในภาษาต่อทะเลจีนใต้ที่กำลังมีความขัดแย้ง ด้านนายกรัฐมนตรีไทยวัย 38 ปี แพรทองธาร ชินวัตร พบรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ที่ลาวครั้งแรก ฝ่ายไทยยืนยันต้องการร่วมมือกับอเมริกาด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และเปิดเผยปัญหาน้ำท่วมเหนือหนัก

รอยเตอร์รายงานวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ว่า รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ กล่าวในงานแถลงข่าวที่กรุงเวียงจันทน์ในวันศุกร์ (11) ว่า แถลงการณ์สุดท้ายไม่ถูกรับเป็นเพราะความพยายามอย่างไม่ลดละมาจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เปลี่ยนให้เป็นแถลงการณ์ทางการเมืองโดยสมบูรณ์

รอยเตอร์ชี้ว่า แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่เปิดเผยว่าร่างแถลงการณ์นั้นออกมาจากสมาชิก ASEAN ทั้งหมด 10 ชาติถูกเสนอต่อการประชุมเอเชียตะวันออก 18 ชาติที่ลาวในค่ำวันพฤหัสบดี (10)

“ASEAN ได้แสดงร่างสุดท้ายนี้และกล่าวเช่นนั้น โดยสำคัญชี้ไปว่าเป็นร่างที่จะรับหรือจะทิ้ง” แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อให้ข้อมูล

และกล่าวต่อว่า สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอินเดีย ทั้งหมดต่างกล่าวว่า ชาติเหล่านี้จะให้การสนับสนุน พร้อมเสริมว่า

“จีนและรัสเซียพูดว่า พวกเขาไม่สามารถรับได้และจะไม่เดินหน้าต่อพร้อมกับแถลงการณ์นี้”

เจ้าหน้าที่อเมริกันกล่าวว่า มี 2 ประเด็นใหญ่ของความขัดแย้ง แต่ประเด็นหลักคือจะทำเช่นไรที่จะสามารถทำให้อ้างอิงไปถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลปี 1982 (UNCLOS) ไปไกลกว่าในแถลงการณ์การประชุมซัมมิตเอเชียตะวันออก (EAS) ก่อนหน้าในปี 2023

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวอเมริกันเปิดเผยว่า “แน่นอนที่สุดย่อมไม่มีภาษาที่จะแสดงรายละเอียดสำคัญของการเผชิญหน้าใดๆ ไม่มีภาษาที่จะแสดงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ้างสิทธิเหนือคนอื่น”

ASEAN ใช้เวลาหลายปีในการเจรจาระเบียบปฏิบัติทะเลจีนใต้ต่อปักกิ่ง โดยมีชาติสมาชิก ASEAN ยืนยันว่าต้องอยู่บนพื้นฐานของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลปี 1982

รอยเตอร์ชี้ว่า ปักกิ่งกล่าวว่า จีนสนับสนุนข้อระเบียบกฎเกณฑ์ แต่ไม่ยอมรับคำพิพากษาศาลอนุญาโตตุลาการถาวรที่กรุงเฮกปี 2016 ที่ชี้ขาดว่า การอ้างสิทธิของจีนในพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลปี 1982 ที่จีนร่วมเป็นรัฐภาคี

ซึ่งจุดร้อนเกิดขึ้นใหม่ที่แนวสันดอนซาบินา (Shoal in the South China Sea) ที่อาจเป็นอันตรายใหม่ เดอะการ์เดียนเคยรายงานเมื่อวันที่ 5 ก.ย  โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนไว้ว่า ต้องเตรียมความพร้อมถึงความเป็นไปได้ที่อาจมีการเสียชีวิต

รอยเตอร์รายงานต่อว่า ร่างจาก EAS ที่รอยเตอร์ได้เห็นรวมถึงวรรคย่อยพิเศษ (extra sub-clause) ต่อแถลงการณ์ที่ได้รับการเห็นชอบเมื่อปี 2023 และที่ประชุมตามร่างไม่ได้เห็นชอบด้วย โดยในร่างได้ชี้ไปว่า มติสหประชาชาติปี 2023 ได้วางกรอบทางกฎหมายไว้ที่ระบุว่า ทุกความเคลื่อนไหวในมหาสมุทรและทะเลต้องถูกนำมาบังคับ

และอีกวรรคย่อยที่ทาง EAS ไม่เห็นด้วยนั้นกล่าวว่า สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศรวมถึงทั้งใน “ทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี พม่า ยูเครน และตะวันออกกลาง ...แสดงถึงความท้าทายต่อภูมิภาค”

นายกรัฐมนตรีจีน หลี่ เฉียง (Li Qiang) ได้กล่าวต่อที่ประชุมซัมมิตว่า ปักกิ่งมีพันธะต่ออนุสัญญาสหประชาชาติ UNCLOS และปรารถนาในการข้อยุติก่อนกำหนดของแนวระเบียบกฎเกณฑ์ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายจีนยังคงย้ำถึงการกล่าวอ้างโดยใช้เหตุผลเชิงประวัติศาสตร์และกฎหมายมากำหนด

ในแถลงการณ์ของผู้นำจีนกล่าวอ้างอิงไปถึงบรรดาชาติที่อยู่ภายนอกภูมิภาค “สมควรที่ต้องยอมรับและสนับสนุนความพยายามร่วมของจีนและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพื่อดำรงสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้ และแสดงในบทบาทเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริงเพื่อสันติภาพและความผาสุกภายในภูมิภาค”

CNBC ของสหรัฐฯ รายงานให้เห็นว่า การค้าระดับโลกตกอยู่ในความเสี่ยงจากความตึงเครียดที่มีเพิ่มขึ้นในทะเลจีนใต้ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกที่มีดินแดนของสหรัฐฯ ตั้งอยู่ ทั้งเกาะกวม และเกาะไซปัน

ทะเลจีนใต้นั้นตั้งระหว่างจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งมีหลายชาติจากทั้งหมดนี้มีความขัดแย้งกับปักกิ่งในการอ้างสิทธิครอบครองภายในทะเลจีนใต้และนำมาสู่การเผชิญหน้า และมีหลายชาติชี้ว่า หน่วยยามฝั่งจีนได้ล่วงล้ำเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลของประเทศเหล่านั้น

อ้างอิงจาก อับดุล ยาค็อบ (Abdul Yaacob) นักวิจัยด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำสถาบันโลวีย์ (Lowy Institute)ระบุว่า 

หากว่าปักกิ่งเริ่มต้นเคลื่อนไหวที่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพการเดินทาง (น้ำ) เป็นต้นว่า การประกาศให้พื้นที่บางส่วนของทะเลจีนใต้นั้นห้ามการขนส่งทางพลเรือนผ่าน และจะบีบให้สหรัฐฯ ต้องก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น

ในการประชุม ASEAN ที่ลาวนี้เป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย แพทองธาร ชินวัตร ได้พบรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน เป็นครั้งแรกในการประชุมระดับทวิภาคี

โดยกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์วันพฤหัสบดี (10) บนเว็บไซต์ทางการเปิดเผยว่า เป็นการประชุมนอกรอบของการประชุม ASEAN-US Summit และการประชุม East Asia Summit

เนื้อหากล่าวว่า บลิงเคนได้แสดงความยินดีต่อนายกฯ คนใหม่ที่เข้ารับตำแหน่งและจัดตั้งรัฐบาลไทยชุดใหม่สำเร็จ

ซึ่งในส่วนสำคัญบลิงเคนได้กล่าวไปถึงขยายความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มทั้งต่อต้านยาเสพติด การลงทุนและการค้า ยึดมั่นต่อกฎหมายระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้

แถลงการณ์กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ยังระบุว่า รัฐมนตรีบลิงเคนได้ขอบคุณต่อ 'แพทองธาร' ต่อการแสดงความเป็นผู้นำของไทยภายใน ASEAN

และฝ่ายสหรัฐฯ ได้ชื่นชมต่อไทยสำหรับการแก้ปัญหาในความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในพม่า รวมไปถึงให้การสนับสนุนทางมนุษยธรรมต่อผู้พลัดถิ่นเหล่านั้น

VOA ของสหรัฐฯ รายงานเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมทวิภาคีบลิงเคนยังตั้งความหวังในการทำงานร่วมกับนายกฯ คนใหม่ของไทย “ในการให้ความสำคัญต่อสิ่งที่พวกเราสามารถทำให้ดีขึ้นเพื่อชีวิตประชาชนของพวกเรา (ทั้งสองประเทศ)” รวมถึงด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศโลก

“ทั้ง 2 ชาติมีประวัติศาสตร์ที่ไม่ธรรมดาร่วมกัน และพวกเราแค่ต้องการต่อเติมมัน” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวต่อแพทองธาร

ขณะที่นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวแก่บลิงเคนว่า ไทยประสบปัญหาวิกฤตภัยพิบัติน้ำท่วมทางภาคเหนือและแสดงการสนับสนุนต่อความสัมพันธ์ระยะยาวร่วมกับสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม VOA ชี้ว่าทั้งนี้ก่อนหน้า เมื่อสิงหาคมล่าสุดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ของบลิงเคนได้ออกมาแสดงความวิตกหลังศาลไทยมีมติยุบพรรรคก้าวไกลพร้อมสั่งแบนหัวหน้าพรรค พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากการเล่นการเมือง

และถือเป็นครั้งแรกเช่นกันที่ผู้นำหญิงของไทยได้พบกับผู้นำชาติต่างๆ มากมายที่เดินทางเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด ที่เข้าร่วมการประชุม ASEAN เป็นครั้งแรก และได้มีโอกาสพบนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ และผู้นำชาติอื่นๆ และกลายเป็นที่กล่าวขวัญสำหรับช็อตหลังการถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน และเอพีได้จับอากัปกิริยาของนายกฯ แพทองธารปรายสายตามองอย่างข่มขวัญไปยังผู้นำเหงียน และผู้นำแดนโสมที่แสดงอากัปกิริยาอย่างออกนอกหน้า 














กำลังโหลดความคิดเห็น