Türkiye Gençlik Birliği, izmir Limanı’na demirlenen ABD savaş gemisi Uss Wasp’ta görevli ABD askerine çuval geçirdi.
Bedeli ne olursa olsun yıllar sonra intikamımızı aldığınız için şahsım adına size teşekkürü bir borç bilirim. @genclikbirligi
CSA Digital pic.twitter.com/oO1L9btDIf— Mustafa POLAT 🇹🇷 (@trmustafapolat) September 2, 2024
สมาชิกขององค์กรวัยรุ่นชาตินิยมแห่งหนึ่งของตุรกี เข้ารุมทำร้ายนาวิกโยธินสหรัฐฯ 2 นาย ในเมืองอิซมีร์ เมื่อวันจันทร์(2ก.ย) พร้อมตะโกนขับไล่ให้กำลังพลอเมริกากลับประเทศ ขณะที่นายกวิกโยธินทั้ง 2 เพิ่งลงจากเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม ยูเอสเอส วาสป์ ซึ่งเดินทางมาถึงก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ระหว่างเข้าประจำการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ในวิดีโอของเหตุกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ เป็นภาพกลุ่มวัยรุ่นชายรุมจับตัวนาวิกโยธินนอกเครื่องแบบ หนึ่งในนั้นเอาถุงคลุมศีรษะของเขา เปิดทางให้คนอื่นๆเข้าทำร้ายนาวิกโยธินรายนี้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "แยงกี้ กลับบ้านไปซะ"
สำนักงานผู้ว่าการอิซมีร์ เปิดเผยว่ากองกำลังด้านความมั่นคงเข้าแทรกแซงเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว และสามารถรวบตัวผู้ต้องสงสัยได้ 15 คน
ธีโมธี กอร์แมน โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ประจำภูมิภาคยุโรป-แอฟริกา ระบุว่า "นาวิกโยธิน 2 นายได้รับความช่วยเหลือจากนาวิกโยธินคนอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่ และต่อมาถูกพาตัวไปยังโรงพยาบาลเพื่อประเมินอาการ ในมาตรการป้องกันไว้ก่อน แต่พวกเขาไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ และกลับไปยังเรือยูเอสเอส วาสป์ แล้ว"
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯก็เผยแพร่ถ้อยแถลงเช่นกัน บอกว่าชาวอเมริกาทั้ง 2 ตอนนี้ปลอดภัยแล้ว พร้อมขอบคุณพวกเจ้าหน้าที่ตุรกีที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและกำลังทำการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
พวกมือโจมตีเป็นสมาชิกของกลุ่มชายนิยม Youth Union of Türkiye (TGB) ซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรค Patriotic Party พรรคขนาดเล็ก ขณะที่ทางพรรคระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ว่า "ทหารอเมริกา ผู้ที่มือเปือนเลือดทหารของเราและชาวปาเลสไตน์หลายหมื่นคน ไม่อาจมาสร้างความสกปรกแก่ประเทศของเรา"
อัยลิน คุม เลขาธิการทั่วไปของกลุ่ม TGB ให้สัมภาษณ์กับยูโรนิวส์ ว่าทางกลุ่มเคยเอาถุงคลุมหัวสมาชิกกองกำลังสหรัฐฯมาแล้วตามเมืองต่างๆ 6 แห่ง และการโจมตีต่างๆนานาเหล่านั้น เป็นการตอบโต้เหตุการณ์ในปี 2003 ในอิรัก ที่ทหารสหรัฐฯควบคุมตัวหน่วยคอมมานโดตุรกีช่วงสั้นๆ และลำเลียงตัวพวกเขาไปในสภาพที่คลุมศีรษะ เหตุการณ์นั้นก่อความเดือดดาลอย่างกว้างขวางในตุรกี ในช่วงเวลาดังกล่าวและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติ ตกอยู่ในความตึงเครียด
แม้อังการา ยังคงเป็นพันธมิตรสำคัญของวอชิงตันในภูมิภาค แต่ 2 สมาชิกนาโต มักมีเหตุกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ประธานาธิบดีเรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์สงครามของอิสราเอลในกาซา และเปิดฉากรุกรานกองกำลังเคิร์ด พันธมิตรของสหรัฐฯในซีเรีย ขณะเดียวกัน สหรัฐฯประสบความล้มเหลว ในการโน้มน้าวให้ อังการา ยกเลิกข้อตกลงซื้อระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ S-400 จากรัสเซีย
(ที่มา:อาร์ทีนิวส์)