เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - การเมืองไทยปลี่ยนพลิกผันสัปดาห์ต่อสัปดาห์สื่อนอกชี้เริ่มตั้งแต่พรรคก้าวไกลชนะแลนด์สไลด์เลือกตั้งถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 9 ส.คก่อนอดีตนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน พรรคเพื่อไทยคะแนนความนิยมมาเป็นอันดับ 2 ของการเลือกตั้งโดนสั่งพิพากษาให้ออกจากตำแหน่งส่งความกดดันให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไทยตกอยู่ในความสับสนและไม่พอใจพุ่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญและทำให้ไทยต้องได้นายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดเข้ามาบริหารแทน ด้านพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ย้ำชัด ไทยไม่ได้ก้าวไปไหนยืนยันจะกลับมาเป็นนายกฯในวันข้างหน้าแต่ระหว่างนี้ขอไปลงเรียนโครงการ Democracy Visiting Fellowship ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดไปพลางๆ
เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันนี้(21 ส.ค)ว่า เวลานี้ความโกรธแค้นกำลังสุมอยู่ในใจประชาชนไทยเกิดขึ้นหลังการพิพากษาฟ้าผ่า 2 ครั้งติดจากศาลรัฐธรรมนูญไทย
การปราฏของศาลรัฐธรรมนูญที่มีคณะผู้พิพากษา 9 ท่านในวิถีการเมืองไทยนั้นกลายเป็นความสำคัญเป็นอย่างมากที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าศาลก้าวเข้ามาแทนที่พระเจ้าอยู่หัวรัฐกาลที่ 9 ที่ทรงเคยทำหน้าที่ในฐานะอนุญาโตตุลาการไกล่เกลี่ยวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อในครั้งอดีต
ความโกรธเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 7 ส.คเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคปฎิรูปหรือพรรคก้าวไกลในฐานะพรรคที่ล้มล้างการปกครองและตัดสิทธิ์หัวหน้าพรรค พิธา ลิ้มเจริญรัตน์จากการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 10 ปี
โดยพิธาได้โพสต์วันนี้ (21) ผ่านทาง medium.com ถึงบทบาทใหม่ ก้าวต่อไปของผม กับ บทบาทใหม่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในฐานะ Visiting Democracy Fellow, Harvard University เพื่อต่อยอดความมุ่งมั่นของผมในการส่งเสริมความเป็นผู้นำและหลักการประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน
พร้อมกับชี้ว่าเคยได้แรงบันดาลอดีตผู้นำหลายท่านที่มาเป็น Visiting Fellows ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ซึ่งคำศัพท์ “Visiting Fellows” นั้นหมายถึง นักศึกษาวิจัยลงทะเบียนแบบภาคเต็มเวลาระดับสูงกว่าปริญญาตรีสำหรับ Harvard Griffin Graduate School of Arts and Sciences
ในแถลงการณ์เขากล่าวว่าจะเดินทางไปศึกษาและวิจัยในการเป็นผู้นำและประชาธิปไตย และยืนยันว่าพร้อม “จะบินจากบอสตันกลับไทยทุกเดือน”ระหว่างการศึกษาที่ม.ฮาวาร์ด
ทั้งนี้ MGRออนไลน์พบว่า โครงการ Democracy Visiting Fellowship Program อ้างอิงจากเว็บไซต์ทางการของ Ash Center for Democratic governance and Innovation ของ Harvard Kennedy School นั้นเปิดกว้างสำหรับผู้สมัครเข้าร่วมโครงการที่เป็น คณะอาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก และบรรดานักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกไปแล้วเพื่อร่วมโครงการและการวิจัยในประเด็นการปกครองทางด้านประชาธิปไตยที่หลากหลาย
ระยะโครงการศึกษาระหว่างวันที่ 1 ส.ค ปีนี้ไปจนถึง วันที่ 31 ก.ค ปีหน้าเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา
เดอะการ์เดียนรายงานว่า พรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 แต่กลับโดนปิดกั้นไม่ได้ขึ้นเป็นรัฐบาล
และในอีก 1 สัปดาห์ศาลเดียวกันนี้ได้สั่งให้อดีตนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคความนิยมอันดับ 2 ต้องหลุดออกจากตำแหน่งไป และไทยได้นายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ แพทองธาร ชินวัตร ทายาทตระกูลชินวัตรที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองไทยแทน
ในวันอังคาร(20) พิธา อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลกล่าวว่า ถึงแม้ว่าตัวเองจะถูกแบนและพรรคถูกยุบ เขามุ่งมั่นว่าในวันหนึ่งจะกลับมาเป็นผู้นำประเทศไทยและทำการปฎิรูปประเทศครั้งใหญ่
“พวกเรารวมความเคลื่อนไหวไปพร้อมกับความก้าวหน้า” พิธาให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ และเสริมต่อว่า “มันเหมือนราวกับว่าพวกเรากำลังอยู่ในวังวน และพวกเราคิดว่าพวกเรากำลังไปที่ไหนสักที่แต่แท้จริงแล้วพวกเราไม่ได้ไปไหนเลย”
อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ถูกยุบได้ยืนยันกับรอยเตอร์ว่า นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจำเป็นต้องปฎิรูปสถาบัน เป็นต้นว่า ศาลตุลาการเพื่อให้หลักประกันความอิสระและภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
ด้านศาสตราจารย์ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ประจำสถาบันการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต และเป็นผู้ลี้ภัยคดีมาตรา 112 แสดงความเห็นว่า เขาเชื่อว่าประชาชนถูกทิ้งไว้ด้วยความรู้สึกที่มีความเคารพน้อยลงและในความเชื่อมั่นต่อระบบตุลาการไทย
และชี้ว่าขณะเดียวกันในความเกี่ยวพันของศาลต่อการเมืองแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้น
“ในประเทศอื่นเมื่อคุณพูดถึงการล้มลงของบรรดาสถาบันหลัก อาจล้มไปหนึ่งแต่ประเทศยังคงอยู่ได้เหมือนเช่น ฝรั่งเศสพร้อมระบบสถาบัน” และเสริมต่อว่า “แต่ในประเทศที่ระบบตุลาการล้ม มันไม่สามารถอยู่ได้ และนั่นเป็นสิ่งที่ผมกลัวถึงประเทศไทย ผมคิดว่า ระบบตุลาการนั้นเสี่ยงใกล้ล้มเพราะความเป็นการเมืองของมัน”
เดอะการ์เดียนรายงานว่า ในวันจันทร์(19) นักวิชาการไทยและนักกฎหมาย 134 คน ได้ยื่นแถลงการณ์ประณามการตัดสินของศาลเมื่อไม่นานมานี้
โดยชี้ว่า เป็นการก้าวเกินอำนาจขอบเขตศาลในวิธีที่ ความขัดแย้งกับหลักการที่กฎหมายจำกัดสิทธิบุคคลสมควรที่จะตีความให้แคบด้วยความระวังสูง