อเมริกาคือตัวอันตรายใหญ่หลวงที่สุดของโลก เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเสี่ยงของความเป็นไปได้ที่จะเกิดความขัดแย้งทางนิวเคลียร์ จากความเห็นของจาง เสี่ยวกัง โฆษกกระทรวงกลาโหมจีน ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (16 ส.ค.) โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตัน "มักตัดสินใจต่างๆ โดยไร้ความรับผิดชอบ" ในความพยายามรักษาไว้ซึ่งความเป็นเจ้าโลก ในนั้นรวมถึงผ่านการข่มขู่ประชาคมนานาชาติ ด้วยคลังแสงนิวเคลียร์
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการแถลงตอบโต้การตัดสินใจของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) ที่จะยกระดับกองกำลังอเมริกาในญี่ปุ่น เป็นกองบัญชากองกำลังร่วม ซึ่งบังคับบัญชาของโดยพลระดับ 3 ดาวรายหนึ่งที่อยู่ภายใต้บัญชาการของกองบัญชาการอินโด-แปซิฟิก แห่งกองทัพสหรัฐฯ
ถ้อยแถลงดังกล่าวดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ตามหลังการพบปะหารือกันระหว่างเหล่าหัวหน้านโยบายกลาโหมและต่างประเทศของอเมิกาและญี่ปุ่น
ในตอนนั้น ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ยกย่องพัฒนาดังกล่าว ว่าเป็น "การปรับปรุงความสัมพันธ์ด้านการทหารระหว่างเรากับญี่ปุ่น ครั้งเข้มแข็มที่สุดในรอบกว่า 70 ปี" เขายังบอกด้วยว่าท้ง 2 ฝ่าย ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในด้านการป้องปรามอย่างครอบคลุม ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ระหว่างการพบปะหารือ สหรัฐฯ ประกาศ "ปกป้องญี่ปุ่นด้วยแสนนายุภาพต่างๆ ของเราอย่างเต็มพิกัด ในนั้นรวมถึงแสนยายุภาพทางนิวเคลียร์" ออสติน กล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม
ในวันศุกร์ (16 ส.ค.) จาง เสี่ยวกัง ชี้ว่าวอชิงตันและโตเกียวเล่นไพ่ใช้คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านการทหารของจีน เป็นข้ออ้างสำหรับความเคลื่อนไหวของพวกเขา "พฤติกรรมต่างๆ เช่นนี้รังแต่ยั่วยุการเผชิญหน้าและบ่อนทำลายเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค" ทั้งนี้ในถ้อยแถลงเมื่อเดือนกรกฎาคมของเพนตากอน พวกเขายังได้พาดพิงถึงการ "ขยายคลังแสงนิวเคลียร์ของจีน" เช่นเดียวกับหัวข้ออื่นๆ ระหว่างประชุมเกี่ยวกับการขยายขอบเขตการป้องปราม
โฆษกของกระทรวงกลาโหมจีนบอกว่า "สหรัฐฯ เสี่ยงเป็นภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ใหญ่หลวงที่สุดต่อโลก เนื่องจากพวกเขาครอบครองคลังแสงนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และเดิมตามนโยบายหนึ่งๆ ซึ่งอนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อน"
ยุทธศาสตร์ป้องกันตนเองแห่งชาติสหรัฐฯ (NDS) ที่เผยแพร่โดยเพนตากอนเมื่อปี 2022 ระบุ รัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน เป็น 4 ศัตรู สำหรับแผนอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมันเปิดประตูสำหรับการใช้นิวเคลียร์ชิงโจมตีก่อน โดยอนุญาตให้ใช้อาวุธดังกล่าวเล่นงานศัตรู เพื่อสกัดการโจมตี
เมื่อปี 2018 สหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยปานกลาง (INF) ที่ทำไว้กับรัสเซีย ซึ่งแบนทั้ง 2 ฝ่ายจากการพัฒนาและประจำการขีปนาวุธศักยภาพติดอาวุธนิวเคลียร์ที่ประจำการบนภาคพื้นบางรุ่น ณ ตอนนั้น วอชิงตันอ้างว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีอาวุธดังกล่าว เนื่องจากอย่างน้อยๆ จีน ก็ไม่ได้เป็นหนึ่งในข้อตกลงทวิภาคี INF
ข้อตกลงทวิภาคีที่มีผลผูกพันฉบับสุดท้ายที่จำกัดคลังแสงนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ และรัสเซีย คือข้อตกลง New START ซึ่งมีกำหนดหมดอายุลงในปี 2026 อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่แล้ว รัสเซียระงับการมีส่วนร่วมในข้อตกลง New START อ้างถึงนโยบายที่เป็นปรปักษ์ของสหรัฐฯ แต่ประกาศว่าจะยังคงปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักของมัน ซึ่งจำกัดอาวุธนิวเคลียร์และระบบปล่อยอาวุธนิวเคลียร์
ในเดือนตุลาคม 2023 เพนตากอนกล่าวหา จีน "ยกระดับขยายคลังแสงนิวเคลียร์อย่างรวดเร็ว" ในขณะที่คณะกรรมาธิการยุทธศาสตร์ของสภาคองเกรสสหรัฐฯ เรียกร้องวอชิงตันให้เตรียมพร้อมสำหรับทำสงครามกับทั้งปักกิ่งและมอสโก และต่อมาในเดือนเดียวกัน อเมริกายังได้แถลงแผนเกี่ยวกับการปรับปรุงระเบิดนิวเคลียร์ของพวกเขาให้มีความทันสมัย
"การตัดสินใจและพฤติกรรมที่ไร้ความรับผิดชอบของสหรัฐฯ ก่อผลลัพธ์แผ่ขยายความเสี่ยงทางนิวเคลียร์ และความพยายามรักษาไว้ซึ่งความเป็นเจ้าโลก และข่มขู่โลกด้วยแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์ถูกแฉออกมาเต็มตาแล้ว" จางกล่าว พร้อมระบุว่าความเคลื่อนไหวล่าสุดในญี่ปุ่น "รังแต่ซ้ำเติมความตึงเครียดในภูมิภาค และเพิ่มความเสี่ยงแพร่ขยายนิวเคลียร์และความขัดแย้งทางนิวเคลียร์"
(ที่มา : อาร์ทีนิวส์)