xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ออกโรงประณามหลัง “ปักกิ่ง” จัดการเปลี่ยนชื่อแม่น้ำ-ภูเขา 30 แห่งใน “รัฐอรุณาจัลประเทศ” ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย "โมดี" ยันดินแดนยังเป็นของภารตะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/รอยเตอร์/MGRออนไลน์ - สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ต่อต้านการเปลี่ยนชื่อแม่น้ำ ภูเขา ทะเลสาบ และพื้นที่เขตที่อยู่อาศัย 30 แห่งภายในรัฐอรุณาจัลประเทศ เกิดขึ้นหลังเมื่อนิวเดลีออกมาโวยหลังปักกิ่งเผยแพร่บัญชีรายชื่อครั้งที่ 4 โฆษกกลาโหมปักกิ่งอ้างภูมิภาค Zangnan (ทิเบตใต้) เป็นของจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณ

นิวสวีกของสหรัฐฯ รายงานวานนี้.(8 เม.ย.) ว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวผ่านแถลงการณ์ ยืนยันวอชิงตันขอต่อต้านอย่างหนักต่อการเปลี่ยนชื่อ 30 แห่งภายในรัฐอรุณาจัลประเทศ (Arunachal Pradesh) ของอินเดีย จากการผลักดันเดินหน้าของปักกิ่งในความพยายามที่จะเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนนี้เป็นการยกระดับความตึงเครียดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจของเอเชีย

“สหรัฐฯ ขอต่อต้านความพยายามใดๆ แต่ฝ่ายเดียวเพื่อการเดินหน้าการอ้างสิทธิทางดินแดนหรือการบุกรุกทั้งการทหารหรือพลเรือนข้ามเส้นคงบคุมตามความเป็นจริง” อ้างอิงจากแถลงการณ์ของกระทรวงต่างประเทศในวันอังคาร (2 ) รายงานโดยหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ของฮ่องกง

นิวสวีกรายงาน การที่สหรัฐฯ ออกมาแสดงความเห็นต่อนโยบายการเปลี่ยนชื่อของจีนเกิดขึ้นหลังโฆษกกระทรวงกลาโหมปักกิ่งออกมาอ้างเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ว่า พื้นที่เช่น Zangnan (ทิเบตใต้) เป็นของจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณไม่ต่างจากที่สื่อโลกตะวันตกได้ระบุว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน เคยใช้ข้ออ้างคล้ายกันในการอ้างสิทธิต่อพื้นที่ยูเครน

ทั้งนี้ นิวเดลีได้ออกมาประกาศต่อต้านการเปลี่ยนชื่อภายในรัฐอรุณาจัลประเทศที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

รอยเตอร์รายงานก่อนหน้าว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย สุพรหมณยัม ชัยศังกระ (Subrahmanyam Jaishankar) แถลงวันจันทร์ (1) สัปดาห์ที่แล้วออกโรงประณามทันทีว่า “การเปลี่ยนชื่อไม่ได้ทำอะไรให้เปลี่ยนไป” และเสริมต่อว่า “หากผมเปลี่ยนชื่อบ้านของคุณ มันจะทำให้กลายเป็นบ้านของผมไหม?”

และกระทรวงต่างประเทศอินเดียออกมาแถลงตอบโต้ปักกิ่งวันอังคาร (2) ว่า “การตั้งชื่อใหม่จะไม่เปลี่ยนความเป็นจริงว่ารัฐอรุณาจัลประเทศนั้นกำลังเป็นและจะยังคงเสมอของการร่วมและเป็นส่วนที่ไม่สามารถพรากจากของอินเดีย”

นิวสวีกรายงานว่า กระทรวงกิจการพลเรือนจีนเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ได้ออกสิ่งที่เรียกว่าเป็นชื่อมาตรฐานทั้งในภาษาแมนดารินและภาษาทิเบตสำหรับสถานที่ต่างๆ ภายในรัฐอรุณาจัลประเทศของอินเดียทั้ง 2 ชาติมีปัญหาการปักปันถือสิทธิครอบครอง

โดยใน 30 ชื่อนั้นรวมไปถึงชื่อแม่น้ำ ภูเขา ทะเลสาบ และพื้นที่เขตอาศัยประชาชน

เรดิโอฟรีเอเชีย (RFA) ของสหรัฐฯ รายงานว่า กระทรวงจีนได้สั่งเปลี่ยนแปลงชื่อพื้นที่เขตอาศัยประชาชนไม่ต่ำกว่า 11 พื้นที่ แม่น้ำ 4 สาย ภูเขา 12 ลูก นอกเหนือจากพื้นที่อื่นๆ ของรัฐ

นิวสวีกรายงาน การเปลี่ยนชื่อใหม่นี้ถือเป็นความพยายามครั้งที่ 4 ของปักกิ่งเพื่อให้ภาษาจีนปรากฏอยู่ภายในรัฐอรุณาจัลประเทศเพื่อการเรียกร้องอ้างสิทธิยึดครอง
 
ที่ผ่านมา ปักกิ่งอ้างว่าพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของ Zangnan หรือทิเบตใต้ โดยใช้ข้ออ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตปักกิ่งได้ออกแผนที่ทางการโดยภายในแผนที่ได้แสดงว่าพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนตัวเองพร้อมกับออกวีซ่าพิเศษให้ชาวอินเดียที่มาจากอรุณาจัลประเทศเพื่อการอ้างอำนาจอธิปไตยของตัวเอง

ปักกิ่งได้ใช้วิธีเดียวกันนี้ในการขยายสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้โดยได้ตั้งชื่อสิ่งต่างๆ ภายในเขตพิพาทเป็นภาษาแมนดาริน

ฮินดูสถานของอินเดียรายงานเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ชี้ว่า ปักกิ่งเปลี่ยนชื่อสถานที่ 30 จุดในรัฐอรุณาจัลประเทศ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี เดินทางไปเยือนรัฐแห่งนี้ที่ซึ่งเขาได้ทุ่มเทเพื่อสร้างอุโมงค์ Sela ในระดับความสูง 13,000 ฟุต 

เกิดขึ้นหลังการปะทะระหว่างทหารทั้ง 2 ฝ่ายปี 2020 ส่งผลทำให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 20 ราย และทหารจีนอีก 4 นาย ซึ่งโมดีได้ทำพิธีเปิดอุโมงค์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา 

ไทม์สออฟอินเดียรายงานวานนี้ (8) ว่า โมดีได้ให้สัมภาษณ์ตอบโต้ปักกิ่งต่อการเปลี่ยนชื่อในรัฐอรุณาจัลประเทศ โดยเขาได้ปัดต่อความพยายามของปักกิ่ง

โมดีกล่าวว่า “รัฐอรุณาจัลประเทศเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียและจะยังคงเป็นเช่นนั้น”

ผู้นำอินเดียชี้ว่า ทางส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงอย่างรวดเร็วพร้อมกับรัฐบาลมณีปุระ (Manipur) ที่ส่งผลเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในสถานการณ์ของภูมิภาค

สื่อแดนภารตะชี้ว่า ในขณะที่คำตอบของโมดีที่ให้สัมภาษณ์นั้นเป็นวาทะที่คาดได้ว่าจะต้องกล่าวออกมา แต่ทว่าเขาได้ชี้ไปถึงอุโมงค์ Sela ที่สำคัญนี้จะช่วยสามารถเคลื่อนกำลังทหารและสิ่งอื่นๆ มายังรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือที่ห่างไกลได้ตลอดทั้งปี


กำลังโหลดความคิดเห็น