ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เรียกร้องประเทศสมาชิกสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วม INTERPOL เชื่อใช้ประสบการณ์ช่วยต้านอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ได้ผล
นาย จาง จวิ้นฝู ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เขียนบทความ ชื่อ “ร่วมกันต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ผ่านความร่วมมือแบบเรียลไทม์ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของไต้หวันใน INTERPOL ในฐานะผู้สังเกตการณ์”
ใจความว่า...
หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นต้นมา ผู้คนจำนวนมากตกงานเนื่องจากการล็อกดาวน์และมองหาความช่วยเหลือทางการเงิน ดังนั้น เมื่อมีโอกาสการทำงานที่น่าดึงดูดใจเกิดขึ้น ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะไม่หวั่นไหว แต่ผลจากการดั้นด้นเดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ กลับต้องตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ที่กำลังคุกคามผู้คนทั้งโลกอย่างน่าสลด
การฉ้อโกงเป็นอาชญากรรมที่มีประวัติยาวนาน ตั้งแต่มนุษย์มีภาษาใช้เป็นต้นมาก็มีการฉ้อโกงอยู่แล้ว มันแทบจะพัฒนาพร้อมกับอารยธรรมของมนุษยชาติทีเดียว ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารในปัจจุบัน ยิ่งทำให้อาชญากรรมเก่าแก่นี้เข้าสู่มิติใหม่ ก่อเกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกชนิดยากจะประเมินได้ คดีอาชญากรรมค้ามนุษย์ข้ามชาติที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เป็นดังที่เยือร์เกิน สต็อค เลขาธิการองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศกล่าวไว้ว่า “ความจำเป็นในการร่วมมือด้านตำรวจระหว่างประเทศมีความสำคัญมากกว่าที่เคย” ขณะที่องค์กรอาชญากรรมได้พัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจข้ามชาติ มีการแบ่งงานที่ซับซ้อน แลกเปลี่ยนข้อมูล อีกทั้งมีการประสานงานกันนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทั่วโลกต้องมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นคงและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ INTERPOL โลกจึงยิ่งไม่อาจแยกไต้หวันออก ทางการตำรวจไต้หวันจึงหวังอย่างยิ่งที่จะได้มีส่วนในการปราบอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายทั่วโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายการอุดช่องโหว่ความมั่นคงปลอดภัยของโลก ร่วมกันนำโลกเข้าสู่ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ความสงบเรียบร้อยของไต้หวันเป็นที่ประจักษ์ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไม่อาจขาดไต้หวัน
เศรษฐกิจไต้หวันเป็นอันดับที่ 21 ของโลก เป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 17 ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางการไหลเวียนของผู้คน โลจิสติกส์และการไหลเวียนของเงินตรา เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามรายงานประจำปีของ Expat Insider ระบุว่า ไต้หวันมีเอกลักษณ์ด้านความงดงามของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ประชาชนเป็นมิตร เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ระบบการดูแลสุขภาพก้าวหน้าตลอดจนค่าใช้จ่ายและสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ปลอดภัย จึงได้รับเลือกเป็นดินแดนน่าอยู่ที่สุดอันดับที่ 5 สำหรับชาวต่างชาติ คุณภาพชีวิตโดยรวมของไต้หวันเป็นอันดับที่ 2 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและประเทศไทย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน รายงานความสุขโลกประจำปี ค.ศ.2023 ขององค์การสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนมีนาคมศกนี้ ซึ่งวัดจาก 137 ประเทศทั่วโลก ไต้หวันติดอันดับที่ 4 ในเอเชีย นอกจากนี้ การจัดอันดับความปลอดภัยและอาชญากรรมในปี 2023 (Safety / Crime Index) จาก 142 ประเทศ ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 3 มีอัตราอาชญากรรมต่ำที่สุด ผลการเปรียบเทียบการป้องกันการค้ามนุษย์ทั่วโลกซึ่งแถลงโดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.2023 ได้จัดอันดับไต้หวันเป็นประเทศระดับที่หนึ่งจาก 180 กว่าประเทศติดต่อกันเป็นปีที่ 14 รัฐบาลสหรัฐฯ ยังระบุอีกว่า แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด แต่ทางการไต้หวันยังคงทำงานร่วมกับภาคเอกชน เอาชนะความท้าทายต่างๆ เพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์จนเป็นที่ยอมรับ
ไต้หวันเองไม่ได้หยุดอยู่กับผลงานเฉพาะหน้าของตนเอง เพราะวิกฤตที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ จากอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ไต้หวันยังคงเดินหน้าเพื่อเอาชนะความมั่นคงสาธารณะที่โดดเด่นของตนเอง และจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับ INTERPOL ร่วมกับหน่วยงานตำรวจทั้งโลก ร่วมกันต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ
หากไม่มีไต้หวัน INTERPOL จะไม่สมบูรณ์และไม่ปลอดภัย
องค์การระหว่างประเทศเป็นเวทีสำคัญในการ “กำกับดูแลระดับโลก” การมีส่วนร่วมในองค์การตำรวจสากลของไต้หวันคือการเชื่อมต่อกับโลก เป็นช่องทางหนึ่งในการใช้ซอฟต์เพาเวอร์ของไต้หวันในการตอบแทนสังคมโลก ด้วยเหตุผลทางการเมือง ไต้หวันจึงไม่สามารถเข้าร่วม INTERPOL เป็นเวลานานกว่า 39 ปีแล้ว ในขณะที่อาชญากรรมข้ามชาติกำลังอาละวาดหนักในยุคโลกาภิวัตน์นี้ กอปรกับไต้หวันยกเว้นวีซ่ากับ 145 ประเทศทั่วโลก จึงทำให้หนังสือเดินทางของไต้หวันกลายเป็นในเป้าหมายหลักของอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ไม่ควรละเลย
ความสามารถของไต้หวันในการดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงบริเวณชายแดนและการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ ฐานข้อมูลเอกสารการเดินทางที่ถูกขโมยและสูญหาย มีอุปสรรคอย่างหนัก เพราะไม่อาจเข้าถึงข่าวกรองทางอาชญากรรมแบบเรียลไทม์ที่แชร์ผ่านระบบ I-24/7 ของ INTERPOL การที่ไต้หวันถูกกีดกันจาก INTERPOL มายาวนาน ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวกรองที่สำคัญมักไม่ทันเวลาและไม่เท่าเทียม อีกทั้งไม่สามารถเข้าร่วมการประชุม กิจกรรมและการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องของ INTERPOL ได้ทำให้เกิดช่องว่างร้ายแรงในเครือข่ายความมั่นคงและการต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก
ประสบการณ์ของไต้หวันเป็นข้อมูลอันมีค่า ไต้หวันเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมกับ INTERPOL อย่างแข็งขัน
ในปี ค.ศ.2022 ทางการตำรวจไต้หวันได้พบคดีการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ที่น่าตระหนกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรอาชญากรรมได้ดำเนินการภายใต้โมเดลองค์กรที่จัดระเบียบเป็นอย่างดี ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อรับสมัครผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ใช้โอกาสการทำงานในต่างประเทศเป็นเหยื่อล่อ แต่ในความเป็นจริงเหยื่อถูกจับเป็นเชลย ถูกบังคับให้ทำงานในศูนย์บริการหลอกลวง และถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม เช่น การช็อตด้วยไฟฟ้า การทุบตี การกรอกยาเสพติดและความรุนแรงทางเพศ เพื่อบังคับให้พวกเขาทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการฉ้อโกงข้ามชาติ การฟอกเงินดิจิทัล การค้ายาเสพติดและการค้ามนุษย์ เนื่องจากไต้หวันไม่ได้เป็นสมาชิกของ INTERPOL จึงไม่อาจแจ้งข้อมูลโดยผ่านทางองค์การฯ ทำได้เพียงถ่ายทอดข่าวกรองให้กองกำลังตำรวจในประเทศที่เป็นมิตรเพื่อร่วมมือการสืบสวน ปราบปราม ช่วยเหลือ ซึ่งเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายมีหลากหลายสัญชาติพัวพันในวงกว้าง จึงจำเป็นต้องอาศัยการแบ่งปันข่าวกรองจึงจะสามารถช่วยกันปราบปรามและต่อสู้กับอาชญากรรมรูปแบบใหม่
ด้วยยึดมั่นในค่านิยมการปราบปรามอาชญากรรม เราจึงหวังอย่างยิ่งว่าการมีส่วนร่วมใน INTERPOL ของไต้หวัน จะทำให้เครือข่ายการป้องกันความมั่นคงของโลกไร้ช่องโหว่อีกต่อไป
ความมั่นคงของโลกจะผิดพลาดมิได้ โปรดสนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายใน INTERPOL
เราขอเรียกร้องต่อมวลสมาชิกของ INTERPOL สนับสนุนให้ไต้หวันได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การตำรวจปราบอาชญากรรมสากลในฐานะผู้สังเกตการณ์ เพื่อให้หน่วยงานตำรวจไต้หวันได้มีปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั้งกิจกรรม การประชุมและการฝึกอบรม เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการแลกเปลี่ยนข่าวกรองอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นความปลอดภัยทั้งโลกที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน โปรดจับมือกันให้ไต้หวันได้มีส่วนร่วมใน INTERPOL
นาย จาง จวิ้นฝู ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เขียนบทความ ชื่อ “ร่วมกันต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ผ่านความร่วมมือแบบเรียลไทม์ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของไต้หวันใน INTERPOL ในฐานะผู้สังเกตการณ์”
ใจความว่า...
หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นต้นมา ผู้คนจำนวนมากตกงานเนื่องจากการล็อกดาวน์และมองหาความช่วยเหลือทางการเงิน ดังนั้น เมื่อมีโอกาสการทำงานที่น่าดึงดูดใจเกิดขึ้น ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะไม่หวั่นไหว แต่ผลจากการดั้นด้นเดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ กลับต้องตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ที่กำลังคุกคามผู้คนทั้งโลกอย่างน่าสลด
การฉ้อโกงเป็นอาชญากรรมที่มีประวัติยาวนาน ตั้งแต่มนุษย์มีภาษาใช้เป็นต้นมาก็มีการฉ้อโกงอยู่แล้ว มันแทบจะพัฒนาพร้อมกับอารยธรรมของมนุษยชาติทีเดียว ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารในปัจจุบัน ยิ่งทำให้อาชญากรรมเก่าแก่นี้เข้าสู่มิติใหม่ ก่อเกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกชนิดยากจะประเมินได้ คดีอาชญากรรมค้ามนุษย์ข้ามชาติที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เป็นดังที่เยือร์เกิน สต็อค เลขาธิการองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศกล่าวไว้ว่า “ความจำเป็นในการร่วมมือด้านตำรวจระหว่างประเทศมีความสำคัญมากกว่าที่เคย” ขณะที่องค์กรอาชญากรรมได้พัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจข้ามชาติ มีการแบ่งงานที่ซับซ้อน แลกเปลี่ยนข้อมูล อีกทั้งมีการประสานงานกันนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทั่วโลกต้องมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นคงและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ INTERPOL โลกจึงยิ่งไม่อาจแยกไต้หวันออก ทางการตำรวจไต้หวันจึงหวังอย่างยิ่งที่จะได้มีส่วนในการปราบอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายทั่วโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายการอุดช่องโหว่ความมั่นคงปลอดภัยของโลก ร่วมกันนำโลกเข้าสู่ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ความสงบเรียบร้อยของไต้หวันเป็นที่ประจักษ์ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไม่อาจขาดไต้หวัน
เศรษฐกิจไต้หวันเป็นอันดับที่ 21 ของโลก เป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 17 ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางการไหลเวียนของผู้คน โลจิสติกส์และการไหลเวียนของเงินตรา เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามรายงานประจำปีของ Expat Insider ระบุว่า ไต้หวันมีเอกลักษณ์ด้านความงดงามของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ประชาชนเป็นมิตร เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ระบบการดูแลสุขภาพก้าวหน้าตลอดจนค่าใช้จ่ายและสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ปลอดภัย จึงได้รับเลือกเป็นดินแดนน่าอยู่ที่สุดอันดับที่ 5 สำหรับชาวต่างชาติ คุณภาพชีวิตโดยรวมของไต้หวันเป็นอันดับที่ 2 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและประเทศไทย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน รายงานความสุขโลกประจำปี ค.ศ.2023 ขององค์การสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนมีนาคมศกนี้ ซึ่งวัดจาก 137 ประเทศทั่วโลก ไต้หวันติดอันดับที่ 4 ในเอเชีย นอกจากนี้ การจัดอันดับความปลอดภัยและอาชญากรรมในปี 2023 (Safety / Crime Index) จาก 142 ประเทศ ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 3 มีอัตราอาชญากรรมต่ำที่สุด ผลการเปรียบเทียบการป้องกันการค้ามนุษย์ทั่วโลกซึ่งแถลงโดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.2023 ได้จัดอันดับไต้หวันเป็นประเทศระดับที่หนึ่งจาก 180 กว่าประเทศติดต่อกันเป็นปีที่ 14 รัฐบาลสหรัฐฯ ยังระบุอีกว่า แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด แต่ทางการไต้หวันยังคงทำงานร่วมกับภาคเอกชน เอาชนะความท้าทายต่างๆ เพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์จนเป็นที่ยอมรับ
ไต้หวันเองไม่ได้หยุดอยู่กับผลงานเฉพาะหน้าของตนเอง เพราะวิกฤตที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ จากอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ไต้หวันยังคงเดินหน้าเพื่อเอาชนะความมั่นคงสาธารณะที่โดดเด่นของตนเอง และจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับ INTERPOL ร่วมกับหน่วยงานตำรวจทั้งโลก ร่วมกันต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ
หากไม่มีไต้หวัน INTERPOL จะไม่สมบูรณ์และไม่ปลอดภัย
องค์การระหว่างประเทศเป็นเวทีสำคัญในการ “กำกับดูแลระดับโลก” การมีส่วนร่วมในองค์การตำรวจสากลของไต้หวันคือการเชื่อมต่อกับโลก เป็นช่องทางหนึ่งในการใช้ซอฟต์เพาเวอร์ของไต้หวันในการตอบแทนสังคมโลก ด้วยเหตุผลทางการเมือง ไต้หวันจึงไม่สามารถเข้าร่วม INTERPOL เป็นเวลานานกว่า 39 ปีแล้ว ในขณะที่อาชญากรรมข้ามชาติกำลังอาละวาดหนักในยุคโลกาภิวัตน์นี้ กอปรกับไต้หวันยกเว้นวีซ่ากับ 145 ประเทศทั่วโลก จึงทำให้หนังสือเดินทางของไต้หวันกลายเป็นในเป้าหมายหลักของอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ไม่ควรละเลย
ความสามารถของไต้หวันในการดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงบริเวณชายแดนและการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ ฐานข้อมูลเอกสารการเดินทางที่ถูกขโมยและสูญหาย มีอุปสรรคอย่างหนัก เพราะไม่อาจเข้าถึงข่าวกรองทางอาชญากรรมแบบเรียลไทม์ที่แชร์ผ่านระบบ I-24/7 ของ INTERPOL การที่ไต้หวันถูกกีดกันจาก INTERPOL มายาวนาน ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวกรองที่สำคัญมักไม่ทันเวลาและไม่เท่าเทียม อีกทั้งไม่สามารถเข้าร่วมการประชุม กิจกรรมและการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องของ INTERPOL ได้ทำให้เกิดช่องว่างร้ายแรงในเครือข่ายความมั่นคงและการต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก
ประสบการณ์ของไต้หวันเป็นข้อมูลอันมีค่า ไต้หวันเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมกับ INTERPOL อย่างแข็งขัน
ในปี ค.ศ.2022 ทางการตำรวจไต้หวันได้พบคดีการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ที่น่าตระหนกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรอาชญากรรมได้ดำเนินการภายใต้โมเดลองค์กรที่จัดระเบียบเป็นอย่างดี ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อรับสมัครผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ใช้โอกาสการทำงานในต่างประเทศเป็นเหยื่อล่อ แต่ในความเป็นจริงเหยื่อถูกจับเป็นเชลย ถูกบังคับให้ทำงานในศูนย์บริการหลอกลวง และถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม เช่น การช็อตด้วยไฟฟ้า การทุบตี การกรอกยาเสพติดและความรุนแรงทางเพศ เพื่อบังคับให้พวกเขาทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการฉ้อโกงข้ามชาติ การฟอกเงินดิจิทัล การค้ายาเสพติดและการค้ามนุษย์ เนื่องจากไต้หวันไม่ได้เป็นสมาชิกของ INTERPOL จึงไม่อาจแจ้งข้อมูลโดยผ่านทางองค์การฯ ทำได้เพียงถ่ายทอดข่าวกรองให้กองกำลังตำรวจในประเทศที่เป็นมิตรเพื่อร่วมมือการสืบสวน ปราบปราม ช่วยเหลือ ซึ่งเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายมีหลากหลายสัญชาติพัวพันในวงกว้าง จึงจำเป็นต้องอาศัยการแบ่งปันข่าวกรองจึงจะสามารถช่วยกันปราบปรามและต่อสู้กับอาชญากรรมรูปแบบใหม่
ด้วยยึดมั่นในค่านิยมการปราบปรามอาชญากรรม เราจึงหวังอย่างยิ่งว่าการมีส่วนร่วมใน INTERPOL ของไต้หวัน จะทำให้เครือข่ายการป้องกันความมั่นคงของโลกไร้ช่องโหว่อีกต่อไป
ความมั่นคงของโลกจะผิดพลาดมิได้ โปรดสนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายใน INTERPOL
เราขอเรียกร้องต่อมวลสมาชิกของ INTERPOL สนับสนุนให้ไต้หวันได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การตำรวจปราบอาชญากรรมสากลในฐานะผู้สังเกตการณ์ เพื่อให้หน่วยงานตำรวจไต้หวันได้มีปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั้งกิจกรรม การประชุมและการฝึกอบรม เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการแลกเปลี่ยนข่าวกรองอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นความปลอดภัยทั้งโลกที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน โปรดจับมือกันให้ไต้หวันได้มีส่วนร่วมใน INTERPOL