xs
xsm
sm
md
lg

“ปักกิ่ง” ปวดหัวเล็งหาทาง "ลดหนี้" หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง BRI กว่า "1 ล้านล้านดอลลาร์" จากลูกหนี้กว่า 150 ชาติยากจนทั่วโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - มากกว่าครึ่งของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจนเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 150 ประเทศร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง BRI ที่ส่งผลทำให้ “จีน” กลายเป็นเจ้าหนี้ใหญ่ที่สุดในโลกไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์นั้นอยู่ระหว่างเข้าสู่ระยะเวลาการจ่ายหนี้คืนการศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่า ปักกิ่งกำลังอยู่ระหว่างการหาทางทำให้จำนวนหนี้ลดหนี้ลง รวมไปถึงการให้คำสัญญาจะใช้แนวทางปฏิบัติสากลเพื่อลดความเสี่ยงของหนี้

เอเอฟพีรายงานวานนี้ (7 พ.ย.) ว่า ปักกิ่งเปิดเผยว่ามีไม่ต่ำกว่า 150 ประเทศตั้งแต่ “อุรุกวัย” ไปจนถึง “ศรีลังกา” และ 30 องค์กรระหว่างประเทศ อ้างอิงจากตัวเลขอัปเดตล่าสุดเมื่อมิถุนายนปีนี้ โดยนิกเกอิเอเชียชี้ว่าได้ลงนามเข้าร่วมในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางทาง หรือ BRI ของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เมื่อ 10 ปีก่อนหน้า'

อิหร่าน รัสเซีย ออสเตรีย และอิตาลี สิงคโปร์ และไทยเป็นหนึ่งในชาติที่เข้าร่วมโครงการนี้เช่นกัน โดยไทยเข้าร่วมเมื่อปี 2014 อ้างอิงจาก Green Finance and Development Center ของจีน

ซึ่งตามโครงการนี้บรรดาชาติกำลังพัฒนาและชาติยากจนต่างได้รับอานิสงส์ของเงินกู้โครงการสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศตั้งแต่ท่าเรือน้ำลึก สะพาน และถนนไฮเวย์

AidData สถาบันวิจัยติดตามการพัฒนาการเงินประจำวิทยาลัยวิลเลียมและแมรี (College of William and Mary) ในรัฐเวอร์จิเนียกล่าวผ่านรานงานที่เผยแพร่ในวันจันทร์ (6)

นิกเกอิเอเชียกล่าวว่า รายงานระบุว่า ราว 55% ของหนี้ค้างชำระ (outstanding debt) ของเหล่าประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายได้แก่เงินต้นแต่ไม่รวมดอกเบี้ยเข้าสู่ระยะเวลาการชำระคืนเงินต้น (Principle Repayment period)

ซึ่งภายในปี 2030 คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็น 75%

เอเอฟพีชี้ว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้ให้เงินสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานเกือบ 21,000 โปรเจกต์ในทั้งหมดราว 165 ประเทศ AidData ชี้ว่า ปักกิ่งได้ให้การช่วยเหลือราว 80 พันล้านดอลลาร์/ปี แก่ชาติที่มีรายได้ปานกลางและยากจน

ซึ่งต่างจากสหรัฐฯ ประเทศที่ระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกนั้นให้ความช่วยเหลือในประเทศกลุ่มเดียวกันในระดับที่ต่ำกว่าอยู่ที่ 60 พันล้านดอลลาร์/ปี

“ปักกิ่งกำลังเป็นผู้นำในบทบาทที่ไม่มีความสะดวกสบายและไม่เคยเป็นมาก่อนในฐานะเป็นเจ้าหนี้ทางการที่ใหญ่ที่สุดของโลก” รายงาน AidData กล่าว

และเสริมว่า “หนี้คงค้างซึ่งรวมถึงเงินต้นแต่ยังไม่รวมดอกเบี้ยจากบรรดาผู้กู้ในโลกกำลังพัฒนาจากจีนมีรวมกันไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์”

AidData กล่าวว่า ตามข้อมูลประเมินว่า 80% ของหนี้ในโลกกำลังพัฒนานี้ให้การช่วยเหลือบรรดาประเทศที่มีปัญหาการเงิน

อย่างไรก็ตาม นิกเกอิเอเชียชี้ว่า เมื่อมองไปที่การโหวตในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติระหว่างปี 2000 และ ปี 2021 ซึ่งมีระยะเวลา 21 ปีโดยรวม

AidData พบว่ารัฐบาลของชาติกำลังพัฒนาและยากจนนั้นได้ทำนโยบายต่างประเทศของตนไปในแนวเดียวกันกับจีนราว 75% ของช่วงเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับ 23% ที่มีแนวนโยบายไปในแนวเดียวกับสหรัฐฯ

โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้รับการยกย่องว่าเป็นการนำทรัพยากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจไปยังโลกซีกใต้

แต่ทว่าถึงแม้จะมีเสียงชื่นชม แต่นักวิจารณ์ต่างชี้นิ้วไปที่การปฏิบัติมาเป็นเวลานานทางด้านราคาของโครงการที่ไม่โปร่งใสบรรดาบริษัทจีนทั้งหลายรวมถึง “มาเลเซีย” และ “พม่า” ที่ต้องหันกลับมาเจรจาใหม่อีกครั้งเพื่อให้ต้นทุนถูกลง

นอกจากนี้ อ้างอิงจาก AidData พบว่าจีนเมื่อไม่นานมานี้มีปัญหาทางด้านภาพลักษณ์ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่พบว่ามีอัตราความนิยมตกไปจาก 56% ในปี 2019 มาอยู่ที่ 40% ในปี 2021

นิกเกอิเอเชียกล่าวว่า ปักกิ่งออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเป็นเสมือน "กับดักหนี้” (debt trap) หลังเกิดปัญหาศรีลังกาที่เป็นหนึ่งในประเทศเข้าร่วมโครงการถึงขั้นเศรษฐกิจล้มละลายเริ่มมาตั้งแต่ปี 2019 อ้างอิงจากวิกิพีเดียและประกาศผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศเมื่อพฤษภาคมปี 2022

สื่อญี่ปุ่นชี้ว่า ถึงปักกิ่งจะปฏิเสธข้อกล่าวหาแต่ทว่าในความเคลื่อนไหวดูเหมือนจะยอมรับไปกลายๆ เพราะปักกิ่งประกาศว่า โครงการ BRI ในอนาคตนั้นจะ “เล็กแต่ชาญฉลาด”

ซึ่งโปรเจกต์จะได้รับการสนับสนุนจากเงินกู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการตลาดและการทำธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยง และอีกทั้งปักกิ่งยังให้สัญญาที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งในความร่วมมือหลายหลายด้าน รวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน การเงิน และด้านภาษี เป็นต้น

ซึ่งจีนสัญญาที่จะดำเนินแนวทางให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติมาตรฐานสากลมากขึ้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลว


กำลังโหลดความคิดเห็น