xs
xsm
sm
md
lg

นักเศรษฐศาสตร์หญิงอเมริกัน “คลอเดีย โกลดิน” ชนะ “โนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์” สร้างผลงานศึกษาเพื่อความเท่าเทียมทางเพศด้านเงินเดือนแก่ผู้หญิง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) วันนี้ (9 ต.ค.) ประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2023 ว่าตกเป็นของนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอเมริกัน คลอเดีย โกลดิน (Claudia Goldin) ที่ทำการศึกษาข้อมูลตลาดแรงงานอเมริกันตลอด 200 ปีที่ผ่านมาเพื่อความเท่าเทียมทางเพศทางด้านการว่าจ้างและค่าแรงของผู้หญิง ซึ่งในอเมริกาประเทศที่ปัจจุบันยังคงมีธรรมเนียมปฏิบัติจ่ายค่าตอบแทนเพศหญิงน้อยกว่าเพศชาย

บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานวันนี้ (9 ต.ค.) ว่า ศาสตราจารย์ คลอเดีย โกลดิน (Claudia Goldin) วัย 77 ปี ถูกประกาศในวันจันทร์ (9) โดยราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) ว่า เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปีนี้

โกลดินกลายเป็นผู้หญิงคนที่ 3 ที่ได้รับรางวัลที่ทรงเกียรตินี้ และอีกทั้งเป็นผู้หญิงคนแรกที่ไม่ต้องรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ร่วมกับผู้ชนะร่วมเพศชาย

ศาสตราจารย์โกลดิน วัย 77 ปี ปัจจุบันสานประวัติศาสตร์การตลาดแรงงานประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดชื่อดังของสหรัฐฯ

การวิจัยของศาสตราจารย์ค้นพบปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังช่องว่างของการจ่ายค่าแรงระหว่างเพศ ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน

“ศาสตราจารย์ได้ทำให้พวกเรามีความเข้าใจมากขึ้นถึงผลลัพธ์ของตลาดแรงงานสตรี”

โดยราชบัณฑิตยสภาได้ชี้ไปถึงการวิจัยข้อมูลตลอดระยะเวลา 200 ปี ตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ที่แสดงให้เห็นว่าเหตุใดและทำไมจึงเกิดความแตกต่างทางเพศทางด้านรายได้และอัตราการว่าจ้าง

ในคำแถลงสดุดีต่อผลการศึกษาข้อมูลร่วม 2 ศตวรรษของเธอที่แสดงให้เห็นถึงสาเหตุของความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงสาเหตุหลักของช่องว่างระหว่างเพศที่ยังคงมีอยู่

โกลดิน พบว่า ผู้หญิงที่แต่งงานเริ่มต้นทำงานจำนวนน้อยกว่าหลังจากการมาถึงยุคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 หรือราวปี 1800 แต่ทว่าการว่าจ้างของผู้หญิงเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในศตวรรษถัดมา หรือราวปี 1900 จากที่เศรษฐกิจด้านบริการโตขึ้น

สื่ออังกฤษชี้ว่าระดับการศึกษาที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้หญิงและยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นกลายเป็นปัจจัยเร่งต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ทว่าความแตกต่างทางเพศด้านเงินเดือนยังคงเดิม

ซึ่งถึงแม้ว่าปัจจัยด้านสาขาการเรียนเมื่อยังเยาว์วัยสามารถถูกชี้ว่าเป็นปัจจัยในความแตกต่างทางรายได้ระหว่างเพศชายและเพศหญิง แต่ทว่าศาสตราจารย์โกลดิน ค้นพบว่า ช่องว่างทางรายได้ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดมาจากผลกระทบของการมีบุตร

หนึ่งในคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ รานดี ฮยาลมาร์สสัน (Randi Hjalmarsson) ได้เรียกโกลดิน ว่าเป็น “นักสืบทางวิชาการ” ที่ผลงานอันโดดเด่นนี้สามารถวางรากฐานให้เหล่าบรรดาผู้วางนโยบายในสาขานี้ทั่วโลก

ทั่วโลกมี 50% ของผู้หญิงอยู่ในตลาดแรงงานเมื่อเทียบกับ 80% ของผู้ชาย แต่ทว่าผู้หญิงได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าและอีกทั้งยังประสบความสำเร็จจุดสูงสุดทางอาชีพการงานได้ยากกว่าผู้ชาย คณะกรรมการรางวัลโนเบลชี้

นิตยสารไทม์สเคยรายงานรายงานเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ปี 2016 ว่า ว่าที่ผู้สมัครลงชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครต ฮิลลารี คลินตัน ที่แสดงถึงการที่ผู้หญิงในสหรัฐฯ ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ชายและออกมารณรงค์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศด้านเงินเดือนแก่ผู้หญิงในสหรัฐฯ ในเวลานั้น

คลินตันกล่าวย้ำว่า ในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่มีรายได้แค่ 76 เซนต์ของทุก 1 ดอลลาร์ที่ผู้ชายได้รับ และผู้หญิงชนกลุ่มน้อยทั้งผิวสีและผิวน้ำตาลได้ต่ำกว่านั้น ยังไม่รวมในอุตสาหกรรมบริการอเมริกันที่มีแรงงานหญิงอยู่มากเกินไปแต่กลับมักได้รับค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นพื้นฐานเนื่องมาจากเหตุผลเรื่องค่าแรงผูกกับการให้ทิป


กำลังโหลดความคิดเห็น