xs
xsm
sm
md
lg

อเมริกาเดือดปุด!! ภาพดาวเทียมปรากฏชัด "ปักกิ่ง" บุกขั้วโลกใต้เร่งก่อสร้างฐานวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งที่ 5 มาพร้อมรับสัญาณดาวเทียมภาคพื้นกลางทวีปน้ำแข็งแอนตาร์กติกา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - ภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดเปิดเผยปักกิ่งเดินหน้าขยายฐานขั้วโลกใต้ของตัวเองอย่างเร่งรีบ พบสถานีวิจัยใหม่ตั้งบนเกาะอินเอ็กซเพรสซิเบิล (Inexpressible Island) นั้นนอกจากหอสังเกตการณ์ และยังมาพร้อมกับสถานีจานดาวเทียมภาคพื้น ช่วยจีนเติมเต็มครั้งใหญ่ในความสามารถเข้าถึงทวีปแอนตาร์กติกาที่ยังคงเป็นปริศนาต่อมนุษยชาติท่ามกลางการแข่งขันอย่างคึกคักนานาชาติในขั้วโลกใต้ที่เห็นสถานีวิทยาศาสตร์จาก 30 ประเทศทั่วโลก รวม อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ ชิลี โปแลนด์ ร่วมวงนอกเหนือจากอังกฤษ สหรัฐฯ เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย

รอยเตอร์รายงานวานนี้ (18 เม.ย.) ว่า สถาบันธิงแทงก์สหรัฐฯ ที่ฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศ CSIS (Center for Strategic and International Studies) ออกรายงานล่าสุดเกี่ยวกับความคืบหน้าของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ปักกิ่งในขั้วโลกใต้ ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดที่ถ่ายไว้ได้ในเดือนมกราคมเป็นหลักฐานต่อสิ่งปลูกสร้างสนับสนุนที่เพิ่งก่อสร้างใหม่ อาคารชั่วคราว ฐานจอดเฮลิคอปเตอร์ และฐานรากสำหรับอาคารขนาดมโหฬารที่สถานีพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร

ตามรายงานเชื่อว่า จะสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในปีหน้า

CSIS รายงานว่า ปักกิ่งแสวงหาในการพัฒนาเส้นทางขนส่งใหม่ในอาร์กติกพร้อมกับขยายการวิจัยในทวีปแอนตาร์กติกา แต่ทว่าโลกตะวันตกต่างพากันวิตกว่า การเพิ่มการปรากฏตัวของปักกิ่งในขั้วโลกใต้อาจเป็นการเปิดโอกาสให้กับกองทัพจีนเพิ่มความสามารถในการสอดแนมและจารกรรมได้มากขึ้น

ทั้งนี้ พบว่าสถานีใหม่ตั้งบนเกาะเกาะอินเอ็กซเพรสซิเบิล (Inexpressible Island) ใกล้ทะเลรอส (Ross Sea) นั้นนอกจากหอสังเกตการณ์ และยังมาพร้อมกับสถานีจานดาวเทียมภาคพื้น

CSIS กล่าวผ่านรายงานว่า “ขณะที่สถานีจะสามารถเพิ่มการติดตามและการสื่อสารสำหรับดาวเทียมสังเกตการณ์ขั้วโลกทางวิทยาศาสตร์ที่มีเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นของจีนได้ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ของปักกิ่งสามารถใช้เพื่อสกัดการสื่อสารดาวเทียมของชาติอื่น”

ทั้งนี้ สถานีอยู่ในสถานะเพื่อรวบรวมสัญญาณข่าวกรองลับจากทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และข้อมูลเทคโนโลยีการตรวจวัดระยะไกลอัตโนมัติ (telemetry data) เกี่ยวกับจรวดที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์อวกาศอาร์นเฮม (Arnhem Space Centre)

และหากมีการก่อสร้างเสร็จแล้วเชื่อว่าสถานีตั้งใหม่นี้จะมาพร้อมกับเรือตัดน้ำแข็งซูหลง (Xuelong icebreaker ship)

ข้อมูลดาวเทียมชี้ว่า เป็นการกลับมาก่อสร้างอีกครั้งนับตั้งแต่จีนปรากฏตัวบนทวีปแอนตาร์กติกาเมื่อปี 2018 ซึ่งสถานีที่กำลังก่อสร้างเป็นสถานีที่ 5 ของจีนตั้งอยู่ภาคใต้ของทวีป

CSIS ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า สหรัฐฯ ยังคงเป็นชาติผู้นำในด้านสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์บนขั้วโลกใต้ แต่ทว่าจีนกำลังไล่ตามมาอย่างเร่งรีบในเวลานี้ ซึ่งสถานีวิจัยสหรัฐฯ ใหญ่ที่สุดคือ สถานีแม็คเมอร์ดู (McMurdo station) ขณะที่จีนตั้งสถานีแห่งที่ 5 ของตัวเองห่างจากสถานีแม็คเมอร์ดูของอเมริกาไปแค่ 320 กิโลเมตรเท่านั้น

ทั้งนี้ ภายใต้สนธิสัญญาแอนตาร์กติกปี 1959 ที่มีจีนเข้าร่วมอยู่ด้วยกำหนดให้ความเคลื่อนไหวบนทวีปแอนตาร์กติกานั้นมีจุดประสงค์เพื่อสันติเท่านั้น เจ้าหน้าที่กองทัพสามารถเข้ามาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ แต่ห้ามการตั้งฐานทัพ การเคลื่อนย้ายกำลังพล หรือการทดสอบอาวุธใดๆ ทั้งสิ้น

วิกิพีเดียรายงานว่า มีร่วม 30 ชาติที่ปรากฏตัวอยู่บนขั้วโลกใต้ มีการตั้งฐานวิจัยขึ้นรวมไปถึงหลายจากเอเชีย และแม้แต่แอฟริกา เป็นต้นว่า อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ อินเดียมีสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ สถานี Bharati ถือเป็นสถานีวิจัยตั้งถาวร ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของสถานีวิทยาศาสตร์ที่ยังคงทำงานจากที่แต่เดิมทั้งหมดมี 3 แห่งด้วยกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น