เอเจนซีส์ - โปรเจกต์สถานีรับสัญญาณดาวเทียมกลางป่าทึบของสถาบันวิจัยข้อมูลอวกาศ AIR (Aerospace Information Research Institute) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน CAS ที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางป่าทึบที่อ่าวดอนดรา (Dondra Bay) มีเป้าหมายเพื่อสอดแนมความเคลื่อนไหวเรือรบชาติตะวันตกและอินเดียในมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงฐานที่ตั้งทางทหารอเมริกัน-อังกฤษในดินแดนอาณานิคมอังกฤษ ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia) กลางมหาสมุทรอินเดียและของอินเดียอย่างไม่ต้องสงสัย
เดลีเอ็กซเพรสของอังกฤษรายงานวันนี้ (3 เม.ย.) ว่า โปรเจกต์สถานีรับสัญญาณดาวเทียมจีนนี้ถูกเปิดเผยโดยแหล่งข่าวกรองศรีลังกา และโปรเจกต์ฐานเรดาร์ลับของทางการทหารของจีนกลางป่าทึบที่อ่าวดอนดรา (Dondra Bay) ในรูฮูนา (Ruhuna) ตั้งอยู่ทางปลายสุดศรีลังกา ที่ถูกผู้เชี่ยวชาญประณามได้กลายเป็นข้อพิสูจน์อย่างแน่นหนาว่า ปักกิ่งใช้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อทำให้ศรีลังกาตกอยู่ในบ่วงหนี้โปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานพันล้านอย่างถอนตัวไม่ขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของปักกิ่ง
สถานีรับสัญญาณดาวเทียมเป็นของสถาบันวิจัยข้อมูลอวกาศ AIR (Aerospace Information Research Institute ) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน CAS สื่ออังกฤษชี้ว่า ปักกิ่งสามารถใช้ฐานเรดาร์ลับใหม่นี้ที่มีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในทางปลายแหลมของศรีลังกาเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการสอดแนมปฏิบัติการข่าวกรองของตัวเองต่อการเคลื่อนไหวเรือรบโลกตะวันตกในมหาสมุทรอินเดีย
และที่ร้ายแรงกว่านั้นมันจะเป็นการเปิดโอกาสให้จีนสามารถสอดแนมที่ตั้งทางการทหารสหรัฐฯ และอังกฤษตั้งอยู่ในดินแดนอาณานิคมอังกฤษกลางมหาสมุทรอินเดีย ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia) และอินเดีย
พิสัยความสามารถการสอดแนมของฐานเรดาร์ลับจีนยังเลยไปถึงสถานีอวกาศอินเดียในเมืองศรีหริโคตา (Sriharikota) และศูนย์ทดสอบมิสไซล์ในรัฐโอริสสา (Odisha) ที่ตั้งทางการทหารอีกจำนวนหนึ่งในภูมิภาคอ่าว
ปักกิ่งเร่งส่งดาวเทียมเป็นจำนวนมากขึ้นสู่วงโคจรโลกโดยในปี 2015 ส่งขึ้นไป 19 ครั้ง แต่ในปีที่แล้วทำการส่ง 64 ครั้ง ส่งผลทำให้มีการส่งดาวเทียมไม่ต่ำกว่า 180 ลูกขึ้นอยู่วงโคจร
ปีนี้บริษัทอวกาศจีนและเทคโนโลยี CASC (China Aerospace Science and Technology Corporation) มีแผนที่จะส่งมากกว่า 60 ครั้งสำหรับกว่า 200 อากาศยาน
อัตราการส่งดาวเทียมของจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมา เป็นความต้องการเพิ่มมากขึ้นของปักกิ่งสำหรับฐานรับสัญญาภาคพื้นสนัสนุนโครงสร้างพื้นฐาน
เดลีเอ็กซเพรสรายงานว่า ศรีลังกาตกเป็นหนี้จีนกลายเป็นเหยื่ออีกรายของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางซึ่งเป็นนโยบายหลักของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง สำหรับโครงสร้างพื้นฐานจากการใช้แรงงานจีนในอัตราที่หนักเพื่อตอบแทน
อย่างไรก็ตาม ศรีลังกาล้มละลายทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา และได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจาก IMF และปักกิ่งเมื่อไม่นานมานี้เสนอหยุดพักชำระหนี้ร่วม 6 พันล้านปอนด์ เป็นเวลา 2 ปี
ศาสตราจารย์ด้านสงครามและยุทธศาสตร์ในเอเชียตะวันออกชื่อดังประจำวิทยาลัยคิงคอลเลจของอังกฤษ อเลสซิโอ ปาตาลาโน (Prof Alessio Patalano) แสดงทัศนะเกี่ยวกับปักกิ่งว่า
“การอนุญาตปักกิ่งให้สร้างฐานแห่งนี้ถือเป็นเงื่อนไขของจีนที่อนุญาตให้ศรีลังกาสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้”
สื่ออังกฤษชี้ว่า ยังมีชาติอื่นๆ ที่ถูกจีนใช้กับดักหนี้เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหารของตัวเอง เป็นต้นว่า สถานีรับดาวเทียมภาคพื้น Espacio Lejano ใน Neuquén อาร์เจนตินา เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012 ที่มีข้อตกลงระหว่าง 2 รัฐบาลที่มีคำสั่งว่าบัวโนสไอเรสจะไม่เข้าแทรกแซง หรือขัดขวางความเคลื่อนไหวภายในสถานี
สถานีแห่งนี้เป็นขององค์การปล่อยดาวเทียมจีนและควบคุมการติดตาหลัก CLTC (China Satellite Launch and Tracking Control General) ที่ใช้เจ้าหน้าที่มาจากกองทัพปลดแอกจีน ppl แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของการทหารจีนและความเคลื่อนไหวทางด้านอวกาศได้เป็นอย่างดี
ปาเลโนแสดงความเห็นว่า “จีนทำได้ดีในการปกปิดฐานทางการทหารในลักษณะเช่นนี้” เขากล่าวต่อว่า แต่ที่ในทั้งหมดล้วนเป็นสงครามการข่าวสาร ทุกการขนส่ง ส่งสัญญาณและการสอดแนมสัญญาณเหล่านี้ป้อนให้จีนสำหรับข่าวกรองสำคัญ
เขาย้ำว่าสิ่งที่น่าวิตกในเวลานี้คือไม่ใช่เพียงแค่ว่า “จีน” สามารถใช้กับดักหนี้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้อย่างไร แต่ทว่าเจ้าหน้าที่จากชาติเหล่านี้ที่กำลังเผชิญหน้าสถานการณ์ความยากลำบากในความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับปักกิ่งจะทำทุกสิ่งเพื่อปลดปล่อยจากจีน