xs
xsm
sm
md
lg

ประท้วงใหญ่ทั่วอิสราเอลหลัง รมว.กลาโหมโดนไล่ออกฐานขัดขวางแผนปฏิรูปตุลาการของ "เนทันยาฮู" ให้รัฐบาลตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดได้เอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รอยเตอร์/เอเจนซีส์ - เกิดการประท้วงใหญ่ไปทั่วอิสราเอลเมื่อวันอาทิตย์ (26 มี.ค.) หลังนายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู สั่งปลดรัฐมนตรีกลาโหม โยอาฟ กัลแลนต์ (Yoav Gallant) ที่ขัดขวางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม วิจารณ์นโยบายเนทันยาฮูทางทีวีที่เตรียมใช้แนวนางใหม่ให้รัฐบาลตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดเอง ส่งผลทำให้ประธานาธิบดี ไอแซค เฮอร์ซ็อก (Isaac Herzog) ออกมาเรียกร้องในวันจันทร์ (27 มี.ค.) ให้หยุดปฏิรูปตุลาการเพื่อดับไฟความแตกแยกในสังคม

รอยเตอร์รายงานวันนี้ (27 มี.ค.) ว่า ประธานาธิบดีอิสราเอล ไอแซค เฮอร์ซ็อก (Isaac Herzog) ที่อยูเหนือการเมืองในวันจันทร์ (27) เรียกร้องให้ยุติความบาดหมางที่เกิดมาจากการปฏิรูปกระบวนการทางยุติธรรม เกิดขึ้น 1 วันหลังจากนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ได้ออกคำสั่งปลดรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล โยอาฟ กัลแลนต์ (Yoav Gallant) ที่ออกมาต่อต้านความเคลื่อนไหว ส่งผลทำให้ประชาชนอิสราเอลไม่พอใจลงมาเดินขบวนประท้วง

เฮอร์ซ็อก กล่าวผ่านทางทวิตเตอร์ว่า “เพื่อประโยชน์ต่อความสมานฉันท์ในประเทศ เพื่อประโยชน์ความรับผิดชอบ ผมขอเรียกร้องให้คุณหยุดกระบวนการทางนิติบัญญัติทันที”

หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์รายงานว่า การประท้วงต่อต้านเกิดมาครั้งแรกในเดือนมกราคมต้นปีนี้ เมื่อรัฐมนตรียุติธรรมอิสราเอล ยาริฟ เลวิน (Yariv Levin) ได้เปิดเผยแผนการปฏิรูปตุลาการแบบล้วงลึก อ้างอิงจาก สตีเวน ซิปเปอร์สไตน์ (Steven Zipperstein) ศาสตราจารย์ด้านวัฒนธรรมยิวและประวัติศาสตร์อิสราเอล ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ให้ข้อมูลกับ ยูเอ็สเอทูเดย์ว่า กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบกับการปฏิรูปครั้งนี้คือ กลุ่มที่ไม่มีแนวคิดสอดคล้องกับการเมืองยิวปีกขวา

คืนวันเสาร์ (25) ก่อนหน้า กัลแลนต์ได้ออกโทรทัศน์เพื่อร้องขอรัฐบาลเนทันยาฮูให้ยุติโครงการปฏิรูปกระบวนการทางยุติธรรม โดยเตือนว่าจะเกิดความแตกแยกครั้งร้ายแรงในสังคมชาวยิว และส่งกระทบต่อทางการทหารและเป็นภัยคุกคามต่อภัยความมั่นคงประเทศ

ผลจากที่เนทันยาฮู สั่งปลดกัลแลนต์ออก พบว่าคลื่นประชาชนชาวยิวออกมาตามท้องถนน รวมไปถึงถนนไฮเวย์ในกรุงเทลอาวีฟ และล้มสิ่งกีดขวางของตำรวจที่ตั้งไว้ด้านนอกบ้านของนายกรัฐมนตรีอิสราเอล

รอยเตอร์ชี้ว่า การปฏิรูปกระบวนการทางยุติธรรมของเนทันยาฮู จะให้อำนาจฝ่ายบริหารสามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาประจำศาลสูงสุดเทลอาวีฟ และยังอนุญาตให้รัฐบาลสามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสินศาลด้วยเสียงข้างมากของสภานิติบัญญัติอิสราเอล ทำให้เรียกแขกการประท้วงมานาน

รัฐบาลเนทันยาฮูอ้างเหตุการปฏิรูปว่า เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อควบคุมบรรดาผู้พิพากษานักเคลื่อนไหว และอ้างว่าเป็นการปรับระดับความสมดุลอย่างเหมาะสมระหว่างรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา และฝ่ายตุลาการ

แต่ทว่าฝ่ายตรงข้ามกลับมองมาว่าการกระทำของเนทันยาฮู ที่เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศได้แค่ 3 เดือนเท่านั้น เป็นเสมือนการทำให้ระบบการตรวจสอบทางกฎหมายและถ่วงดุลนั้นอ่อนแอลง และยังเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยอิสราเอล








กำลังโหลดความคิดเห็น