xs
xsm
sm
md
lg

โลกวิปริต! สื่อนอกตีข่าวกรุงเทพฯ ร้อนกว่าแบกแดด “ยูเอ็น” เตือนอุณหภูมิโลกเสี่ยงคุมไม่อยู่ สูงขึ้นแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/รอยเตอร์/MGRออนไลน์ - รายงาน IPCC สรุปการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ออกมาเมื่อวันจันทร์ (20 มี.ค.) ชี้ว่า โลกกำลังเสี่ยงที่จะพลาดการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งปัจจุบันอุณหภูมิโลกอบอุ่นขึ้นไปแล้วถึง 1.1 องศาเซลเซียส ท่ามกลางวิกฤตคลื่นความร้อนที่เห็นกรุงเทพฯ วันพฤหัสบดี (23 มี.ค.) มีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส สูงกว่ากรุงแบกแดดของอิรักที่มีอุณหภูมิราว 24 องศาเซลเซียส รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ผจญกับทอร์นาโด ทำพายุฝนตกหนักและน้ำท่วมและภาวะโลกร้อนยังส่งผลทำให้ออสซี่สามารถจับสัตว์น้ำได้ลดลงเนื่องมาจากอุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้น

เอบีซีนิวส์ของออสเตรเลียรายงานวานนี้ (22 มี.ค.) ว่า IPCC ขององค์การสหประชาชาติออกรายงานการประเมินเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกรอบใหม่วันจันทร์ (20) ชี้ว่า ความเสี่ยงของสภาพอุณหภูมิโลกอุ่นขึ้นนั้นร้ายแรงกว่าที่ได้เคยประเมินไว้ในปี 2014

อ้างอิงจากไฟแนนเชียลไทม์ส พบว่า มีบางภูมิภาคของโลกได้มาถึงจุดจำกัดของตัวเองที่สามารถจะปรับตัวได้แล้ว

ตามรายงานสรุปว่า มนุษยชาติมีเครื่องมือช่วยลดและทำให้การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก และการปราศจากพันธะผูกพันทางการเมืองเป็นสิ่งกีดขวางสำคัญไปสู่ความก้าวหน้าซึ่งช่วงเวลาที่เหลือไม่มากนักในการที่โอกาสทำให้โลกมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสต้องหมดลงอย่างรวดเร็ว

ไฟแนนเชียลไทม์สรายงานว่า อุณหภูมิที่พื้นผิวโลกปัจจุบันมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสกว่าเมื่อครั้งยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และจากการที่ชาติต่างๆ ไม่สามารถทำตามแผนลดการปล่อยก๊าซธรรมชาติ ส่งผลทำให้โลกกำลังเดินหน้ามีอุณหภูมิสูงขึ้น 2.8 องศาเซลเซียสภายในปี 2100

เป็นที่เหลือเชื่อเมื่อพบว่ากรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดี (23) มีอุณหภูมิอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส และเมื่ออยู่กลางแดดจะรู้สึกว่าร้อนจัดเหมือนราว 40 องศาเซลเซียสก็ไม่ปานอ้างอิงจากเว็บไซต์อากาศสหรัฐฯ ชื่อดัง AccuWeather แต่กลับกลายเป็นว่ากรุงแบกแดดของอิรักในวันเดียวกันมีอุณหภูมิราว 24 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่หากอยู่กลางแจ้งจะรู้สึกว่ามีอุณหภูมิสูง 30 องศาเซลเซียส

สื่อออสเตรเลียชี้ไปว่า รายงาน IPCC นั้นแสดงให้เห็นว่า มีแนวโน้มที่ออสเตรเลียจะสามารถทำการประมงได้ลดลงเนื่องมาจากอุณหภูมิน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกรอบออสเตรเลียนั้นจะสูงขึ้น

ตามรายงานประเมินว่า การทำประมงออสเตรเลียจะตกลงราว 3-10% หากว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.9-2.0 องศาเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

และหากว่าปล่อยให้อุณหภูมิโลกไม่สามารถควบคุมได้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้นระหว่าง 2.4-5.2 องศาเซลเซียส การประมงออสเตรเลียจะตกลงถึง 30% ทีเดียว

สื่อ news.au ของออสเตรเลียรายงานว่า ไซมอน สตีลล์ (Simon Stiell) หัวหน้าองค์การอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ UNFCCC ของสหประชาชาติ กล่าวว่า "หน้าต่างกำลังจะปิดลงแต่มันยังคงเปิดอยู่" พร้อมเสริมต่อว่า "ทุกคนสมควรทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้สภาวะโลกร้อน"

สภาพภัยพิบัติทางธรรมชาติยังคงเกิดขึ้นต่อไปทั่วโลก โดยเฉพาะที่รัฐแคลิฟอร์เนีย หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์รายงานวันนี้ (23) ว่า พายุทอร์นาโด 1 ลูก พัดเข้ามอนเตเบลโล (Montebello) ทางใต้ของรัฐไม่ห่างจากแอลเอ ในเวลา 11.20 น.ของวันพุธ (22) สร้างความเสียหายให้อาคารบ้านเรือน ขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองยังเกิดเป็นวงกว้างตั้งแต่รัฐโอกลาโฮมา ไปจนถึงรัฐโอไฮโอ และเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมฉับพลัน

รอยเตอร์รายงานก่อนหน้าเมื่อวันที่ 8 มี.ค.ว่า จีนปีนี้พบกับต้นมีนาคมในฤดูใบไม้ผลิที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด เมืองอู่ฮั่นมีอุณหภูมิฤดูใบไม้ผลิอบอุ่นที่ 26 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิที่กรุงปักกิ่ง และบริเวณโดยรอบอยู่ราว 25 องศาเซลเซียส ซึ่งปี 2022 จีนประสบกับสภาพอากาศร้อนจัดสูงสุดเป็นเวลานานหลายเดือน

ส่วนอินเดียซึ่งพบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ที่มีอุณหภูมิสูงสุดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน รอยเตอร์กล่าวว่า อินเดียคาดว่าจะพบกับสภาพคลื่นฮีตเวฟระหว่างมีนาคม-พฤษภาคมโดยเฉพาะพื้นที่การผลิตข้าวสาลีของประเทศในรัฐตอนกลาง และรัฐตอนเหนือ AccuWeather รายงานว่า อุณหภูมิกรุงนิวเดลี วันพฤหัสบดี (23) อยู่ที่ 28 องศาเซลเซียสแต่เมื่ออยู่กลางแดดจะมีความรู้สึกว่าอุณหภูมิแตะ 30 องศาเซลเซียส


กำลังโหลดความคิดเห็น