xs
xsm
sm
md
lg

In Pics : สุดยอด!! แคปซูลโอไรออนของ NASA กางร่มชูชีพร่อนลงจอดในมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างสวยงาม หลังโคจรรอบดวงจันทร์ระหว่างจับตาความเคลื่อนไหวทางอวกาศของปักกิ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์ - เมื่อเวลา 12 40 น.ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ วันอาทิตย์ (11 ธ.ค.) แคปซูลโอเรียนในโครงการอาร์ทิมิส 1 กลับสู่โลกตามแผนกางร่มชูชีพลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งรัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย เม็กซิโกหลังเสร็จสิ้นการเดินทาง 25 วันครึ่งสู่ดวงจันทร์ และโคจรรอบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกระหว่างที่วอชิงตันประกาศจับตาความเคลื่อนทางอวกาศของปักกิ่งอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันความเสี่ยง

เดลีเมล สื่ออังกฤษ รายงานวานนี้ (11 ธ.ค.) ว่า แคปซูลโอไรออน (Orion capsule) ที่มาพร้อมกับหุ่นผู้โดยสารจำลองซึ่งเป็นตัวละครแกะชื่อดังขวัญใจเด็ก Shaun the Sheep ในโครงการสหรัฐฯ กลับคืนสู่ดวงจันทร์ อาร์ทิมิส 1 (Artemis-1 mission) เดินทางกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัยโดยไม่บุบสลายเมื่อเวลา 12.40 น.ตามเวลาท้องถิ่นฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ วันอาทิตย์ (11 ธ.ค)

เสร็จสิ้นการเดินทางร่วม 25 วันครึ่งของระยะทาง 1.4 ล้านไมล์ไปกลับโลก-ดวงจันทร์

การลงจอดเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยแคปซูลโอไรออนกางร่มชูชีพ 3 ตัวลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งรัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย (Baja California) เม็กซิโก ในลักษณะที่ตั้งตรงแนวดิ่งท่ามกลางการรายงานข่าวไปทั่วโลก และทีมนักประดาน้ำที่ลอยเรืออยู่ในพิกัดร่อนลงจอดและได้ทำการลากเพื่อเก็บกู้แคปซูลโอไรออน

โดยในขณะที่เดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศโลกอีกครั้งพบว่า ความเร็วของแคปซูลลดลงอยู่ที่ 325 ไมล์/ชั่วโมง และใช้ร่มชูชีพ 11 ตัวเพื่อชะลอความเร็วจนกระทั่งตกกระทบผิวน้ำด้วยความเร็ว 20 ไมล์/ชั่วโมง หรือช้ากว่านั้น

โดยทั้งแคปซูลโอไรออน และผู้โดยสารแกะ “Shaun the Sheep” ระหว่างขากลับเข้าโลกต้องฝ่าอุณหภูมิด้านนอกที่สูงถึง 3,000 องศาเซลเซียส หรือราวครึ่งหนึ่งของผิวดวงอาทิตย์

CNN รายงานบรรยากาศการเก็บกู้ว่า ประกอบไปด้วยเรือหลายลำ เฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ และเรือรบสหรัฐฯ USS Portland ที่จอดลอยลำอยู่ใกล้ๆ

อ้างอิงจาก เมลิสซา โจนส์ (Melissa Jones) ผู้อำนวยการปฏอบัติการเก็บกู้เปิดเผยว่า คาดว่าแคปซูลจะอยู่ในน้ำไม่นานนัก และอาจจะน้อยกว่า 2 ชั่วโมง แต่ปรากฏว่าแคปซูลอวกาศอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนาน 6 ชั่วโมง

นาซาได้ออกแถลงการณ์ยืนยันผ่านทางทวิตเตอร์ว่า แคปซูลโอไรออนอยู่บนเรือรบสหรัฐฯ USS Portland แล้วในเวลา 18.40 น. ของวันอาทิตย์ (11)

ด้านผู้อำนวยการองค์การนาซา บิล เนลสัน (Bill Nelson) แสดงความเห็นวันอาทิตย์ (11) ว่า “ผมรู้สึกตื้นตัน” และกล่าวต่อว่า “นี่มันเป็นวันที่พิเศษ”

ส่วน ร็อบ นาเวียส (Rob Navias) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรายงานการกลับคืนสู่พื้นโลกของแคปซูลโอไรออน ถึงกับเรียกกระบวนการเดินทางกลับเข้าพื้นโลกว่า “เป็นเท็กซ์บุ๊ก” ทีเดียว

อ้างอิงจากวิกิพีเดีย ทั้งนี้ ระหว่างปฏิบัติภารกิจพบว่า โอไรออนได้ทำการโคจรในระยะห่างรอบดวงจันทร์ DRO หรือ distant retrograde orbit ซึ่งใช้เวลาราว 6 วัน โดยคาดว่าตัวยานจะอยู่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์ราว 130 กิโลเมตร

การกลับคืนสู่พื้นโลกของแคปซูลโอไรออนเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันความก้าวหน้าทางอวกาศระหว่างสหรัฐฯ และจีน VOA รายงานวันอาทิตย์ (11) ว่า พล.อ.เจมส์ ดิกคินสัน (James Dickinson) ผู้บัญชากองกำลังอวกาศของกองทัพสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (9) ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า สหรัฐฯ เฝ้าจับตาความเคลื่อนไหวทางอวกาศของปักกิ่งอย่างใกล้ชิดด้วยความวิตกถึงความเสี่ยงที่จะคุกคามต่อทรัพย์สินสหรัฐฯ ในอวกาศ

ทั้งนี้ ในปี 2003 จีนกลายเป็นชาติที่ 3 ของโลกที่สามารถส่งมนุษย์อวกาศสู่อวกาศสำเร็จ และต้องถูกนานาชาติตำหนิหลังในปี 2007 ปักกิ่งแอบทดสอบลับยิงมิสไซล์เพื่อทำลายดาวเทียมที่ใช้การไม่ได้ของตัวเอง และเศษชิ้นส่วนกลายเป็นขยะอวกาศนับตั้งแต่นั้น

VOA ชี้ว่า ดิกคินสันกล่าวว่า "ปักกิ่งมีความเชื่อว่าอวกาศนั้นเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ไม่เฉพาะต่อเศรษฐกิจของตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งแวดล้อมทางการทหารด้วย ดังนั้น ทางเรายังคงเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิดระหว่างที่พวกเขากำลังมีความสามารถเพิ่มขึ้น"

ผู้บัญชาการกองกำลังอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า “การสร้างความสามารถเช่นนั้น ซึ่งในความเป็นจริงต้องบอกว่ารวดเร็วอย่างกับก้าวกระโดด ส่งผลทำให้ทรัพย์สินทั้งหมดของพวกเราตกอยู่ในความเสี่ยงในอาณาเขตอวกาศ”

ในตอนท้ายดิกคินสันยอมรับว่า “ผมมีเป้าหมายอย่างจริงจังไปที่ย่างก้าวที่ท้าทายเช่นจีน” โดยกล่าวว่า “ปักกิ่ง” ได้กลายมาตรฐานไปแล้ว “จุดยืนร่วมกันของพันธมิตรและหุ้นส่วนของพวกเรามีความสำคัญต่อต่อการต่อต้านการขู่เข็ญและการล้มล้างซึ่งคุกคามต่อกฎเกณระหว่างประเทศที่นี่ในอินโด-แปซิฟิกและที่ห่างไกลออกไป”


















กำลังโหลดความคิดเห็น