xs
xsm
sm
md
lg

สุดช็อก!! การศึกษาจาก ม.ออกซฟอร์ดพบ “โมลนูพิราเวียร์” ยากินต้านโควิด-19 ชื่อดังของ MERK ไม่ได้ตัดความเสี่ยงเข้าโรงพยาบาล เทียบกับงบมหาศาลที่ต้องจ่ายไป

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดชื่อดังของอังกฤษ เบื้องต้น จากกลุ่มเข้าร่วม 25,000 คน ระบุว่า ถึงแม้ยาโมลนูพิราเวียร์รักษาโควิด-19 ชื่อดังของ MERK จะช่วยเร่งทำให้ผู้ป่วยหายไวขึ้น แต่ทว่ากลับไม่ลดความเสี่ยงต่อที่ต้องรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะกับงบร่วม 5.5 พันล้านดอลลาร์ที่ต้องจ่ายไป หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชื่อดังจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลชี้ “หากว่าโมลนูพิราเวียร์ไม่แสดงคุณประโยชน์ออกมา มันเป็นการยากสำหรับเจ้าหน้าที่การแพทย์ในการใช้เหตุผลต่อเงิน 5.5 พันล้านดอลลาร์ที่ได้ใช้ไปสำหรับยาตัวนี้ทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้”

ไฟแนนเชียลไทม์สรายงานวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ในผลการวิจัยที่เผยแพร่ในวันก่อนหน้าของศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดชื่อดังของอังกฤษ คริส บัตเลอร์ (Chris Butler) ด้านการดูแลเบื้องต้นและหัวหน้าการสอบสวนในงานวิจัยหัวข้อยารักษาโควิด-19 แบบรับประทานโมลนูพิราเวียร์ (molnupiravir) ของบริษัทยา MERK

โดยเป็นการวิจัยเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตามปกติแบบใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ร่วมด้วยเมื่อเทียบกับการดูแลแบบตามปกติแต่ไม่ใช้ยาร่วมในกลุ่มผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ความเสี่ยงต่อผลลัพท์ในทางตรงข้าม (PANORAMIC)

งานวิจัยชื่อ “Molnupiravir Plus Usual Care Versus Usual Care Alone as Early Treatment for Adults with COVID-19 at Increased Risk of Adverse Outcomes (PANORAMIC) : Preliminary Analysis from the United Kingdom Randomised, Controlled Open-Label, Platform Adaptive Trial) จำนวน 43 หน้าถูกตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์วารสารทางวิชาการชื่อดัง ssrn ในวันที่ 17 ต.ค.ปี 2022 (https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4237902) แต่เป็นบทความที่เขียนเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ปี 2022 

ทั้งนี้ ศาสตราจาย์บัตเลอร์ เลี่ยงที่จะเรียกสิ่งนี้ว่า "เป็นความล้มเหลว" แต่เขายืนยันโดยกล่าวว่า “ไม่มีความแตกต่างระหว่างการรับยาโมลนูพิราเวียร์ หรือยาหลอก (placebo) ในบริบทการรักษาพยาบาลต่ำระหว่างเกิดคลื่นวิกฤตโควิด-19 ระบาด"

ในผลงานการวิจัยนี้ระบุว่า ยารักษาโควิด-19 แบบรับประทานของ MERK 'ล้มเหลว' ในการที่จะแสดงว่ามีประสิทธิภาพสามารถทำให้มีความเสี่ยงลดลงในการต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล และเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นจากโรคต่างๆ

จากการที่โอมิครอนนั้นเป็นสายพันธุ์โควิด-19 ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้า ส่งผลทำให้มีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนออกมากล่าวว่า ผลการศึกษาเหล่านี้จะทำให้มีความสงสัยเพิ่มมากขึ้นต่อประสิทธิภาพของยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นการรักษาที่มีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ในการขาย แต่บรรดานักวิจารณ์ชี้ว่ายังไม่แสดงผลว่ามันมีประโยชน์อย่างชัดเจนต่อผู้ป่วย หรือคุณค่าของเงิน

ด้าน ดร.แอนดรูว์ ฮิลล์ (Dr Andrew Hill) นักวิจัยอาวุโสรับเชิญประจำมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล เปิดเผยว่า ความล้มเหลวในความสามารถที่จะลดการรักษาพยาบาลหรือการเสียชีวิตทำให้เกิดคำถามมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในอังกฤษนั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในการรักษาโควิด-19

และยังแสดงความเห็นว่า “หากว่าโมลนูพิราเวียร์ไม่แสดงคุณประโยชน์ออกมา มันเป็นการยากสำหรับเจ้าหน้าที่การแพทย์ในการใช้เหตุผลต่องบ 5.5 พันล้านดอลลาร์ที่ได้ใช้ไปสำหรับยาตัวนี้ทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้”

และเสริมต่อว่า “พวกเราได้เห็นสถานการณ์เช่นนี้มาก่อนกับยารักษาโควิด-19 ตัวอื่นๆเป็นต้นว่า เรมดีสิเวียร์ (remdesivir) ผลการศึกษาเบื้องต้นดูมีความหวัง แต่ทว่าในการวิจัยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกลับไม่แสดงคุณประโยชน์ออกมา”

ไฟแนนเชียลไทม์สรายงานว่า การศึกษาในประเทศอังกฤษในเรื่องนี้ได้ถูกส่งต่อไปยังสหภาพยุโรปในฐานะหลักฐานสำคัญต่อการอนุมัติยาโมลนูพิราเวียร์ภายในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยผู้กำกับยาของ EU คือ องค์การยายุโรป EMA (European Medicines Agenc) ได้ชะลอการพิจารณาเนื่องมาจากความวิตกเกี่ยวกับประสิทธิภาพ อ้างอิงจากการเปิดเผยก่อนหน้าของไฟแนนเชียลไทมส์

บุคคลใกล้ชิดองค์การยายุโรป EMA แสดงความเห็นว่า มันเป็นการยากที่จะประเมินว่ายานั้นมีประสิทธิภาพที่เด่นชัดอย่างไร “มันช่างโชคร้ายที่มันเป็นการยากที่จะกล่าวเป็นอย่างมากต่อโมลนูพิราเวียร์หรือไม่ที่ว่ามันไม่ดูเหมือนมีผลกระทบต่อความก้าวหน้า (ของโรค)”

ทั้งนี้ ยาโมลนูพิราเวียร์ในปัจจุบันได้รับอนุญาตจากองค์กรควบคุมยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพอังกฤษ MHRA (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency) แต่อยู่ในลักษณะเงื่อนไขจำกัด ด้านองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ FDA อนุมัติยาโมลนูพิราเวียร์เช่นกันแต่จำกัดการใช้

ซึ่งผู้กำกับส่วนใหญ่ต่างชี้ว่า สมควรที่จะใช้ยาตัวนี้ของ MERK เป็นทางเลือกที่ 2 หรือที่ 3 ในการรักษาโควิด-19 ขณะที่ EMA ของยุโรปยังไม่อนุมัติโมลนูพิราเวียร์

อ้างอิงจากรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 27 ม.ค. ต้นปีพบว่า ยาโมลนูพิราเวียร์นั้นยังคงอยู่ภายใต้การพิจารณาของสหภาพยุโรปแต่ใช้เวลายาวนานมากขึ้นเนื่องมาจากบริษัท MERK ได้แก้ไขข้อมูลการวิจัยในเดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้าโดยอ้างว่า ยามีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่เคยคาดไว้ในตอนต้น

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์บัตเลอร์ ย้ำว่า ผลการศึกษาของเขานั้นเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องแม่นยำเพื่อช่วยให้บรรดาผู้กำกับต่างๆ สามารถทำการตัดสินใจได้


กำลังโหลดความคิดเห็น