xs
xsm
sm
md
lg

“กมลา แฮร์ริส” บินร่วมเอเปกถึงไทยพรุ่งนี้ ตั้งเป้าคุยเรื่อง "พม่า-การค้า-โลกร้อน" VOA ชี้สัมพันธ์ไทย-รัสเซียถูกจับตา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/รอยเตอร์/MGRออนไลน์ - รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส ออกเดินทางจากสหรัฐฯ เพื่อร่วมการประชุมเอเปก 2022 สัปดาห์นี้ ตั้งเป้าคุยเรื่องพม่า การค้า และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกที่กรุงเทพฯ ก่อนเยือนหมู่เกาะปาลาวันของฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้สัปดาห์หน้า ด้านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ตารางแน่นเอียดจนถึงวันเสาร์ มีกำหนดหารือสำคัญกับทั้งสหรัฐฯ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ซาอุฯ และเวียดนาม สื่ออเมริกัน VOA ชี้ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ถูกจับตาเป็นพิเศษหลังไม่ปิดพรมแดนนักท่องเที่ยวรัสเซียตามโลกตะวันตก งดออกเสียงในการลงมติประณามรัสเซียผนวกดินแดนยูเครนในที่ประชุมสหประชาชาติเมื่อตุลาคม

CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (15 พ.ย.) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส ออกเดินทางจากสหรัฐฯ มาเยือนไทยเป็นครั้งแรกในฐานะรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อร่วมการประชุมซัมมิตเอเปก ไทยแลนด์ 2022 ซึ่งมีการจัดงานระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย.ที่กรุงเทพฯ และไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ โดยการประชุมระดับผู้นำจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. และจะมีผู้นำระดับนานาชาติเข้าร่วมในวันดังกล่าว แต่ทว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ไม่มา ได้ส่งแฮร์ริสเข้าร่วมแทน

อ้างอิงจากสื่อในประเทศพบว่า นายกรัฐมนตรี พล อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระหว่างที่ได้มีการจับมือและพูดคุยกับไบเดน ในงานซัมมิตอาเซียนที่มีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพนั้น พบว่าผู้นำไทยได้แสดงความยินดีต่อไบเดน เนื่องในโอกาสงานแต่งหลานสาวสุดที่รัก นาโอมิ ไบเดน (Naomi Biden) ซึ่งจะมีพิธีเกิดขึ้นสนามหญ้าทิศใต้ทำเนียบขาววันเสาร์ (19) และได้ขอบคุณผู้นำสหรัฐฯ สำหรับการส่งแฮร์ริสเข้าร่วมการประชุมเอเปกในไทย

โดยสื่อไทยรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ ส่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางเข้าร่วมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงนั้นมีความสำคัญต่อทั้งไทย และต่อการประชุมเอเปกที่กำลังจะเกิดขึ้น

CNN รายงานว่า ในการมาเยือนไทยหนแรกนี้แฮร์ริส จะพบกับผู้นำไทยซึ่งจะเกิดขึ้นในวันเสาร์ (19) โดยอ้างอิงจากรอยเตอร์ที่ได้รับการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระดับสูงพบว่า ประเด็นการหารือที่แฮร์ริส จะนำมาที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้เกี่ยวข้องกับพม่า ความมั่นคงระดับภูมิภาค ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศโลก

ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ให้ข้อมูลกับ CNN ว่า การเยือนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส ที่มาเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคแห่งนี้มีความสำคัญกับสหรัฐฯ ที่มีพันธะลึกซึ้งมากขึ้นในภูมิภาค และเป็นความพยายามจากทั้งคู่ที่จะทำให้ความเป็นพันธมิตรแข็งแกร่งมากขึ้นในภูมิภาคและการลงทุนในสถาบันสำคัญของภูมิภาค

รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีกำหนดเดินทางถึงกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดี (17) ตามเวลาท้องถิ่น แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เปิดเผยว่า “แฮร์ริสจะแสดงหลักการสำคัญที่ทางเราเห็นว่าสมควรที่จะนำระบบเศรษฐกิจเอเปกและรณรงค์ระบบเศรษฐกิจอื่นๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ของเราสำหรับอนาคตซึ่งเป็นไปตามหลักกฎเกณฑ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ”

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีการประชุมวงข้างเคียงกับผู้นำชาติอื่นๆ แต่ทว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่า จะมีการหารือระหว่างแฮร์ริส และประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ที่เดินทางเข้าร่วมด้วยหรือไม่

สำหรับรัสเซียนั้น ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ไม่ได้เดินทางเข้าร่วม แต่ส่งรองนายกรัฐมนตรีอันดับ 1 รองนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย คนที่ 1 อันเดรย์ เบโลอูซอฟ (Andrey Belousov) เดินทางเข้าร่วมการประชุมเอเปกแทน

ซึ่งปัญหามิสไซล์ตกลงมาในเขตดินแดนโปแลนด์ห่างจากพรมแดนยูเครนไป 6 กม. ล่าสุดทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน กลายเป็นที่จับตาทั่วโลกในเวลานี้

VOA รายงานว่า ซึ่งประเด็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างไทยและรัสเซียจะเป็นที่จับตาเช่นกัน จากปัญหาที่ไทยยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียต่อไป เปิดพรมแดนให้นักท่องเที่ยวรัสเซียเข้าประเทศถึงแม้ชาติตะวันตกจะคว่ำบาตร โดยตัวเลขจากสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวรัสเซีย พบว่า ภายในสิ้นปี 2022 เชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวรัสเซียเข้าไทยจำนวน 250,000 คน

ไทยใช้สิทธิงดออกเสียงในโหวตการประชุมใหญ่สหประชาชาติเมื่อตุลาคมประณามรัสเซียที่ผนวกดินแดนทางตะวันออกของยูเครน และในที่ประชุมพบว่ามี 143 ชาติต่างลงมติออกเสียงประณามความก้าวร้าวของรัสเซีย

ซึ่งการงดออกเสียงของรัฐบาลไทยครั้งนี้สร้างเสียงวิจารณ์จากทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญการศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งประจำมหาวิทยาลัยคันไซ มาร์ค เอส.โคแกน (Mark S.Cogan) เชื่อว่า ไทยทำไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

โดยในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์กับ VOA ชี้ว่า “เสียงดังรอบๆ การโหวต UNGA อาจจะไม่ได้รับความนิยมในชุมชนสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อรัสเซียถือเป็นตลาดใหญ่อันดับ 7 ทางด้านการท่องเที่ยว ผมเห็นได้เลยว่าเหตุใดพวกเขา (ประเทศไทย) ถึงมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่า”

และเสริมต่อว่า “ไทยต้องการอย่างมากในการกลับมาในระดับการค้าและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ซึ่งนโยบายโควิด-19 เป็นศูนย์ของจีนจะส่งผลร้ายต่อมุมมองเศรษฐกิจ และพวกเขาต้องการนักท่องเที่ยวรัสเซียเช่นกัน”

ด้านผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์ชื่อดังของไทย ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ (Thitinan Pongsudhirak) แสดงความเห็นกับ VOA ว่า “นายกรัฐมนตรี พล อ.ประยุทธ์ ไม่มีสิ่งจำนวนมากที่สามารถโชว์ได้ แต่ทว่าภายใต้สถานการณ์ที่ดีขึ้น พร้อมกับยุทธศาสตร์การเติบโตและแผนการที่ชัดเจนว่าต้องการให้ไทยอยู่ที่ใดบนแผนที่โลก ซึ่งไทยจะได้มากจากมัน”

แต่เขาย้ำว่า “สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ นั้นไม่ได้เป็นที่รู้จักในฐานะนักนโยบายการต่างประเทศมือฉมัง หรือนักยุทธศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เขาเป็นนักการทหาร”

ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นว่า ในงานเอเปกเที่ยวนี้รัฐบาลไทยให้ความสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศและความพยายามทางการทูตของตัวเองไปที่ “จีน” โดยชี้ไปถึงหมายกำหนดตามตารางที่จะมีการหารือระดับทวิภาคีระหว่างผู้นำไทย และประธานาธิบดีจีนในวันที่ 18 พ.ย.

เขากล่าวต่อว่า “งานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นหัวใจสำคัญ” และเสริมว่า “ในวาระการประชุมไทย-จีน จะมีประเด็นด้านการฟื้นตัวหลังโควิด-19 การกลับมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และจีนสนใจที่ต้องการผลักดันข้อตกลงการค้าเสรี FTA 3.0

โดยปักกิ่งพยายามที่จะหลอกล่อชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ขยายโซนการค้าของตัวเองผ่านข้อตกลง FTA 3.0 เพื่อต้องการปรับปรุงซัปพลายเชนของตัวเองเพื่อต่อกรกับโครงการกรอบทำงานด้านเศรษฐกิจ 14 ชาติอินโด-แปซิฟิก (IPEF) ของไบเดน ที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้การค้าที่ยุติธรรมและโปร่งใสในภูมิภาค




กำลังโหลดความคิดเห็น