xs
xsm
sm
md
lg

ทำไมราคาทองคำยังมีแนวโน้มแข็งแกร่ง ทั้งที่สหรัฐฯ ขยับขึ้นดอกเบี้ยอย่างแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: เดวิด พี. โกลด์แมน ***



(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)

Despite soaring US yields, dollar risk favors gold
By DAVID P. GOLDMAN
04/11/2022

การไปซื้อเครื่องค้ำประกันจากพวกรัฐบาลซึ่งเป็นตัวต้นเหตุของเงินเฟ้อ กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือไปเลย เมื่อรัฐบาลนั้นๆ กระทำการอย่างสะเพร่าขาดการไตร่ตรองยั้งคิด

หนสุดท้ายที่อัตราผลตอบแทน (ยิลด์ yield) ของพันธบัตรคลังสหรัฐฯ ชนิดที่มีการปกป้องเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ยืนอยู่ที่ระดับ 2% --นั่นคือตอนที่ใกล้จะเกิดวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกเมื่อปี 2008— ทองคำซื้อขายกันที่ราคา 800 ดอลลาร์ มาในวันนี้ผลตอบแทนของพันธบัตรคลังระยะเวลา 10 ปีชนิดมีการปกป้องเงินเฟ้อ กลับมาอยู่ที่ระดับ 2% อีกครั้ง ทว่าทองคำซื้อขายกันในราคากว่าสองเท่าตัวของตอนนั้น

สำหรับระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ราคาซื้อขายกันของทองคำอยู่ในระดับเป็นเส้นตรงแหน็วทีเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรคลังสหรัฐฯ ชนิดมีการปกป้องเงินเฟ้อ (Treasury Inflation Protected Securities หรือ TIPS) ถึงตอนนี้มันก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่ ทว่าหลังจากวิกฤตโรคโควิดและสงครามยูเครนแล้ว มันเป็นเส้นตรงแหน็วอีกเส้นหนึ่ง ไม่ใช่เส้นเดิมเสียแล้ว



ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขยับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ให้พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำก็ตกลงไปเป็นธรรมดาจาก 2,000 ดอลลาร์ ไปอยู่ที่ประมาณ 1,625 ดอลลาร์ กระนั้น นี่ก็ยังคงสูงขึ้นมาราวๆ 800 ดอลลาร์อยู่ดี หากมองเปรียบเทียบจากความสัมพันธ์ระยะยาวที่มันมีอยู่กับ TIPS ทั้งนี้ ระหว่างปี 2007 ถึงปี 2020 เมื่อผลตอบแทนของ TIPS แบบอายุ 10 ปี เกิดความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1% ก็จะมองเห็นราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในระดับราวๆ 300 ดอลลาร์ ทว่าหลังจากเดือนมีนาคม 2020 เป็นต้นมา ความเคลื่อนไหวระดับเดียวกันนี้ของ TIPS ทำให้ราคาทองคำเกิดการปรับตัวแค่ราวๆ 50 ดอลลาร์

นี่ต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตมโหฬาร และเป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าวิตกกังวลด้วย ในเมื่อการค้ำประกันเรื่องอัตราเงินเฟ้อซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ขายให้แก่พวกนักลงทุนพันธบัตร จู่ๆ ก็มีมูลค่าต่ำกว่าทองคำเป็นอย่างมาก มันคือความแตกต่างระหว่างการซื้อบัตรสำหรับที่นั่งในเรือชูชีพจากกัปตันของเรือไททานิก กับการซื้อเครื่องรักษาชีวิตของตัวคุณเองทีเดียว

ทั้งทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลชนิดผูกกับดัชนีเงินเฟ้อ ต่างก็เป็นเครื่องค้ำประกันความเสี่ยงสำหรับกรณีที่อัตราเงินเฟ้อและค่าเงินดอลลาร์เกิดลดต่ำลงอย่างไม่คาดหมาย พันธบัตรชนิด TIPS นั้นยึดโยงอยู่กับดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ และจะจ่ายผลตอบแทนชดเชยให้ก้อนโตทีเดียวถ้าระบบเงินดอลลาร์เกิดการบิดเบี้ยวย่ำแย่ขึ้นมา ขณะที่ทองคำถือเป็นเงินตราซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้าย เป็น “ซากตกทอดจากยุคป่าเถื่อน” (barbarous relic ถ้าหากจะพูดตามวลีที่นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง จอห์น เมย์นาร์ด เคย์นส์ ใช้) ซึ่งปัจเจกบุคคลต่างๆ และชาติต่างๆ วิ่งไปพึ่งพิง เมื่อเงินตราแบบที่รัฐบาลต่างๆ รับรองให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เกิดการสูญเสียความน่าเชื่อถือ

การไปซื้อเครื่องค้ำประกันจากพวกรัฐบาลซึ่งเป็นตัวต้นเหตุของเงินเฟ้อ กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือไปเลย เมื่อรัฐบาลนั้นๆ กระทำการอย่างสะเพร่าขาดการไตร่ตรองยั้งคิด มาตรการกระตุ้นครั้งต่างๆ คิดมูลค่ารวม 6 ล้านล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดแรงอุปสงค์อันมากมายมหาศาลซึ่งช็อกเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยั่วยุให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างเลวร้ายที่สุดขึ้นมาภายหลังจากช่วงทศวรรษ 1970

การที่จะไปซื้อเครื่องมือค้ำประกันจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยที่มันเป็นเครื่องมือที่มุ่งลดทอนผลต่อเนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นย่อมเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงอยู่เยอะแยะมากมาย

ตัวอย่างประการหนึ่ง ก็คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศออกมา (ซึ่งเป็นสิ่งที่ TIPS ยึดโยงผูกติดอยู่) อาจจะต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อตามความเป็นจริงก็ได้ –แล้วมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เสียด้วย หากเราพิจารณาดูสิ่งที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา กล่าวคือ อัตราเงินเฟ้อในหมวดที่อยู่อาศัยได้รับการรายงานว่าอยู่ในระดับ 20% ต่อปี จวบจนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้เอง แต่เวลาเดียวกัน ส่วนประกอบของ “หมวดที่อยู่อาศัย” ของดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ กลับเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 5% ถึง 6% ต่อปีเท่านั้น

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ รัฐบาลสหรัฐฯอาจจะจัดเก็บภาษีซึ่งดึงเอาเงินที่พวกนักลงทุนจะได้รับจาก TIPS กลับไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การที่ปริมาณหนี้สินของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ อยู่ในระดับเท่ากับ 130% ของจีดีพี ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ได้เคยพบเคยเห็นกันเลยภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ย่อมเป็นเค้าลางบอกเหตุล่วงหน้าถึงการขึ้นภาษีต่อไปในอนาคตอยู่แล้ว

ความเสี่ยงที่ว่า รัฐบาลทั้งหลายอาจจะเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การจ่ายเงินชดเชยซึ่งระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ค้ำประกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อของพวกเขา ได้เคยกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดตราสารปกป้องเงินเฟ้อของอิตาลีพังครืนมาแล้วเมื่อปี 2012 ในระหว่างเกิดวิกฤตภาคการเงินซึ่งเกือบกลืนกินทั้งอิตาลี, สเปน, โปรตุเกส และกรีซ

ภายใต้สภาวการณ์ตามปกติ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สอนเอาไว้ว่า อัตราผลตอบแทนแท้จริงในบรรดาตลาดที่เงินทุนสามารถไหลเวียนได้อย่างเสรีนั้น สมควรที่จะเคลื่อนเข้ามาบรรจบกัน อันที่จริงแล้ว อัตราผลตอบแทนแท้จริงของพันธบัตรรัฐบาลแบบป้องกันเงินเฟ้อ ทั้งในสหรัฐฯ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส และอิตาลี ต่างก็ซื้อขายเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางเดียวกันในช่วงก่อนหน้าวิกฤตภาคการเงินปี 2008 และมันยังเป็นเช่นนี้อยู่ในทุกวันนี้ ทว่าเมื่อตอนปี 2011 และ 2012 อัตราผลตอบแท้แท้จริงของอิตาลีเคยกระโจนพรวดไปอยู่ที่ 7% ขณะที่อัตราผลตอบแทนแท้จริงในทีอื่นๆ หล่นลงมาอยู่ที่ 0%



กำลังโหลดความคิดเห็น