xs
xsm
sm
md
lg

นิวยอร์กไทม์สเปิดโปง วอชิงตันกดดัน “ไต้หวัน” ซื้ออาวุธเพิ่มอ้างไว้กัน “จีน” ถ้าไม่อยากเป็นแบบยูเครน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์ - สหรัฐฯ ใช้โอกาสสถานการณ์ทหารในยูเครนเร่งยอดขายอาวุธตัวเองให้ไต้หวันเพื่อป้องกันการรุกรานจากปักกิ่งตามแบบยูเครน ปฏิเสธบางลิสต์ตามคำขอ รวมเฮลิคอปเตอร์ ซีฮอว์ก MH-60R ล็อกฮีดมาร์ติน (MH-60R Seahawk) อ้างไม่เหมาะสมกับการสงครามกับจีนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รายงานชี้แรงกดดันขยายเป็นวงกว้างถี่ขึ้นในยุครัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานวานนี้ (7 พ.ค.) ว่า สหรัฐฯ กดดันให้ไต้หวันเพื่อสั่งซื้ออาวุธอเมริกันเพิ่มอีกล็อตใหญ่ อ้างอิงจากแหล่งข่าวอดีตและปัจจุบันเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ และไต้หวัน 9 คนที่รู้ในเรื่องนี้ โดยระบุว่า อาวุธล็อตใหม่มีเพื่อทำให้มั่นใจว่าไต้หวันจะสามารถมีศักยภาพขับไล่การรุกรานทางทะเลจากจีนได้

ในรายงานกล่าวว่า ประธานาธิบดีไต้หวัน ไช่ อิง-เหวิน พยายามที่จะทำการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ของตัวเองเพื่อให้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์สู้รบแบบอสมมาตร (asymmetrical warfare ) จากข้าศึกที่ใช้ในกรณีที่ขนาดกำลังและความสามารถของ 2 ฝ่ายแตกต่างกันมาก

ไช่ได้มองไปที่สหรัฐฯ เพื่อต้องการสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีความสามารถการทำลายล้างและเคลื่อนที่ได้เป็นจำนวนมาก

นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า นับตั้งแต่สงครามยูเครนเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ล่าสุด สหรัฐฯ ได้เพิ่มความพยายามในการปรับปรุงการป้องกันประเทศให้แก่ไทเปอย่างรีบด่วนเพราะสหรัฐฯ และไทเปถูกทำให้เชื่อว่าสงครามยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้อาจเกิดขึ้นกับไต้หวันโดยฝีมือปักกิ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้นกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญ และเชื่อว่าสงครามที่เล็กกว่าพร้อมกับอาวุธที่เหมาะสมถูกใช้ในยุทธศาสตร์การทำสงครามแบบอสมมาตร ซึ่งตั้งเป้าไปที่ความสามารถในการเคลื่อนที่สูงและการโจมตีแบบแม่นยำนั้นจะมีความสามารถต้านกลับไปกองกำลังข้าศึกที่มีกำลังมากกว่าได้สำเร็จ และในรายงานระบุว่า เฮลิคอปเตอร์ ซีฮอว์ก MH-60R (MH-60R Seahawk) ของบริษัท ไชกอร์สกี แอร์คราฟ (Sikorsky Aircraft) ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทล็อกฮีดมาร์ตินโดยที่ระบุว่าไม่มีความเหมาะสมในสถานการณ์รบกับการรุกรานจีน

ซึ่งการศึกระหว่างจีนและไต้หวันนั้นคาดว่าจะแตกต่างจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และเชื่อว่าจะเป็นสงครามที่มีความยากลำบากมากกว่า ซึ่งคำสั่งซื้อจากไต้หวันเมื่อไม่นานมานี้นั้นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การรบแบบอสมมาตร แต่ทว่ามีผู้เชื่ยวชาญทางการทหารในไต้หวันบางส่วนไม่เห็นด้วยและต้องการให้ไทเปเตรียมพร้อมทางการทหารสำหรับการรบแบบปกติมากกว่าซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่ใช้กับ "จีน" เช่นกัน

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาความสามารถทางการทหารของไต้หวันใหม่อีกครั้งเพื่อทำการประเมินความสามารถรับมือศึกได้หรือไม่ของไต้หวัน เหมือนเช่นยูเครนกำลังกระทำอยู่ในเวลานี้

แต่ทว่าเจ้าหน้าที่กลาโหมไต้หวันบางส่วนไม่เห็นด้วยและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้ไต้หวันสามารถซื้อเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำ ซีฮอว์ก MH-60R ((MH-60R Seahawk)) จำนวน 12 ลำ อ้างอิงตัวเลขจากอัลญะซีเราะฮ์ สื่อกาตาร์

โดยสปุตนิวส์ สื่อรัสเซียกล่าวว่า การไม่อนุญาตเกิดเพราะฝ่ายอเมริกันเชื่อว่า เฮลิคอปเตอร์ซีฮอว์ก MH-60R นั้นไม่มีความสามารถเพียงพอต่อการทำสงครามกับจีน

ทั้งนี้ เมื่อวันอังคาร (3) ส.ว.สายเหยี่ยวสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน มาร์โก รูบิโอ ได้เสนอร่างกฎหมายฟาสต์แทร็กขายอาวุธให้ไต้หวันและปรับปรุงการฝึกซ้อมทางการทหารร่วมเพื่อทำให้ไต้หวันสามารถมีความคล่องแคล่วเพื่อป้องกันตัวเองได้

โดยในแถลงการณ์การเสนอกฎหมายที่ออกมาจากสำนักงานได้ระบุว่า ‘เพราะการบุกยูเครนโดยรัสเซียไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจในนาทีสุดท้าย’

ในรายงานของนิวยอร์กไทม์สพบว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้เตือนไต้หวันว่าทางกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ จะปฏิเสธคำขอของไทเป และยังได้แจ้งไปยังบริษัทผู้ผลิตไม่ให้ส่งคำขออนุมัติตามคำสั่งซื้อของไทเปไปยังหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐฯ

การกดดันจากรัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ให้ไต้หวันสั่งซื้ออาวุธขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นและถี่ขึ้นในสมัยของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา

เจ้าหน้าที่จากทั้งฝั่งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันต่างกล่าวตรงกันว่า บทเรียนหนึ่งจากสงครามยูเครน คือ สหรัฐฯ ต้องช่วยเปลี่ยนไต้หวันให้กลายเป็นเม่นเพื่อสามารถต้านการบุกจากจีน

ทั้งนี้ หนึ่งในแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การหารือกับไต้หวันเรื่องการอาวุธเกิดขึ้นครั้งแรกๆ ในสมัยรัฐบาลไบเดน และในเวลานี้กำลังเรียนรู้บทเรียนจากยูเครน

สื่อรัสเซียรายงานว่า ไต้หวันถูกมองโดยสหรัฐฯ ว่ามีความสำคัญทางความมั่นคงและเป็นการจำกัดอิทธิพลการขยายจากปักกิ่งในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก สหรัฐฯ เชื่อว่าหากไต้หวันตกเป็นของปักกิ่งได้สำเร็จและปักกิ่งจะสามารถตัดน้ำมันออกจากพันธมิตรของสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และปักกิ่งจะสามารถใช้ประเด็นนี้เพื่อเจรจาไม่ให้สหรัฐฯ มาปรากฏตัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยพร้อมกัน ซึ่งมาจนถึงปัจจุบันมีเพียง 13 ชาติในโลกที่ให้การรับรองไต้หวันในฐานะประเทศเอกราช


กำลังโหลดความคิดเห็น