xs
xsm
sm
md
lg

สาวจีนหัวร้อนฉีกโปสเตอร์ ‘เทียนอันเหมิน’ ใน ม.ออสเตรเลีย ซัดเป็นแค่ ‘เรื่องโกหก’ (ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นักเคลื่อนไหวในออสเตรเลียแชร์คลิปหญิงชาวจีนเข้าไปฉีกทำลายโปสเตอร์เกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งถูกทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในฮ่องกง แถมยังโต้เถียงเรื่องค่ายกักกันชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียง

คลิปดังกล่าวถูกถ่ายเอาไว้โดย บิลลี คูเกลแมน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Semper Floreat ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ของนักศึกษามหาวิทยาลันควีนส์แลนด์ในเมืองบริสเบน และถูกนำมาแชร์ต่อในโลกออนไลน์โดย ดริว พาฟลู นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวออสเตรเลียซึ่งมีจุดยืนต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีน

จากคลิปจะเห็นได้ว่าหญิงชาวจีนซึ่งถูกเบลอหน้าไว้กำลังยืนโต้เถียงกับ คูเกลแมน พร้อมกับดึงโปสเตอร์ลงมาจาก “กำแพงเลนนอน” ของมหาวิทยาลัย

“คุณกำลังละเมิดเสรีภาพฉันอยู่นะ ฉันไม่ได้ต้องการโชว์หน้า” เธอกล่าว “ฉันแค่ต้องการแสดงให้เห็นว่า ฉันไม่กลัวที่จะสำแดงเสรีภาพของตัวเอง”

คูเกลแมน ยืนยันว่าเขาจะเบลอหน้าเธอให้ และถามต่อว่า “ช่วยบอกหน่อยได้ไหมว่า ทำไมถึงคิดว่าการฉีกโปสเตอร์เป็นสิ่งที่ถูกต้อง?”

“แล้วคุณคิดว่าตัวเองทำถูกเหรอที่เอาเรื่องโกหกพวกนี้มาบอกกับนักศึกษา โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น” หญิงจีนถามกลับ โดยเธอหมายถึงโปสเตอร์ซึ่งมีทั้งข้อมูลและภาพถ่ายเกี่ยวกับการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่เทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 และหนึ่งในนั้นคือภาพถ่าย “ชายผู้ยืนขวางรถถัง” (Tank Man) อันโด่งดัง

“ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องโกหกนะ” คูเกลแมน ตอบ พร้อมถามเธอว่า รู้หรือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อ 33 ปีก่อน

“ไม่ ฉันไม่รู้ เพราะมันเกิดขึ้นตั้ง 40-50 ปีแล้ว หลายสิบปีมาแล้ว ฉันคิดถึงแต่ปัจจุบัน คิดถึงแต่อนาคต นักศึกษา และเยาวชน... คุณคิดว่ากำแพงนี้มีอิทธิพลนักหรือ?” สาวชาวจีนตอบ และยิงคำถามกลับอีกที



“ผมคิดว่าจุดประสงค์ของมันก็เพื่อให้คนได้หันมาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น” คูเกลแมน พยายามอธิบาย และสุดท้ายก็อ้างไปถึงเรื่องชาวอุยกูร์ มุสลิมกลุ่มน้อยในเขตปกครองตนเองซินเจียงซึ่งสื่อตะวันตกระบุว่าเป็น “ชนชาติที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุด” ในจีน

“เท่าที่ผมรู้นะ มุสลิมอุยกูร์ถูกส่งเข้าค่ายกักกัน” คูเกลแมน กล่าว

พอได้ยินคำว่าค่ายกักกัน หญิงจีนก็แค่นหัวเราะออกมาแล้วพูดว่า “ในออสเตรเลียก็มีคุกนะ”

พาฟลู ทวีตข้อความเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (17 ก.พ.) ว่าหญิงคนนี้เป็น “นักศึกษาต่างชาติชาวจีน” ของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ แต่ คูเกลแมน ซึ่งเป็นเจ้าของคลิปได้ออกมาแก้ข้อมูล เนื่องจากผู้หญิงคนนี้บอกเขาว่าเธอไม่ใช่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย

ที่มา : yahoo news
กำลังโหลดความคิดเห็น