เอเจนซีส์ - ปลาหมึก ปู และกุ้งที่รวมไปถึงล็อบสเตอร์ล่าสุดถูกค้นพบว่าเป็นสัตว์ที่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ อังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ได้ระบุรายชื่อสัตว์เหล่านี้อยู่ภายใต้กลุ่มสัตว์ประเภทสามารถรับรู้ความรู้สึกและได้รับการปกป้องภายใต้กฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์อังกฤษใหม่
CNN สื่อสหรัฐฯรายงานวันนี้(23 พ.ย)ว่า ในรายงานที่ถูกจัดทำโดยทีมผู้เชี่ยวชาญประจำวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน LSE (London School of Economics) ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 300 ชิ้นเพื่อประเมินหาหลักฐานของความสามารถการรับรู้ความรู้สึกของสัตว์ประเภทปลาหมึกที่รวมไปถึงปลาหมึกยักษ์ ปู และกุ้งรวมไปถึงกุ้งล็อบสเตอร์ที่แต่เดิมเคยเชื่อกันว่าไม่สามารถรับรู้ได้
โดยในการสรุประบุว่าสัตว์ประเภทปลาหมึก (cephalopods) และสัตว์ประเภทมีสิบขา( decapods ) เช่นกุ้ง ปู นั้นถูกค้นพบว่ามีความรู้สึกรับรู้ความเจ็บปวดและทรมานดังนั้นจึงสมควรที่จะจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มสัตว์ที่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้(sentient beings)
ทั้งนี้กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ที่ได้รับการแก้ไขใหม่ของรัฐบาลลอนดอนกำลังเป็นที่ถกเถียงในเวลานี้ในอังกฤษ
โดยรัฐมนตรีสวัสดิภาพสัตว์อังกฤษ ลอร์ด แซ็ค โกลด์สมิท( Lord Zac Goldsmith)กล่าวในเรื่องนี้ว่า “กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ที่รับรู้ความรู้สึก(Animal Welfare Sentience Bill) จะให้การคุ้มครองอย่างสำคัญว่าสวัสดิภาพของสัตว์จะถูกพิจารณาเมื่อมีการร่างกฎหมายใหม่ขึ้นมา ซึ่งในเวลานี้วิทยาศาสตร์ได้ชี้ชัดแล้วว่าสัตว์ประเภทสิบขาและสัตว์ประเภทปลาหมึกสามารถรับรู้ความเจ็บปวดและดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่กำหนดให้พวกมันได้รับการคุ้มครองกฎหมายที่สำคัญฉบับนี้”
CNN ชี้ว่าร่างกฎหมายสวัสดิภาพสัตว์อังกฤษใหม่ที่ยังไม่ได้เป็นกฎหมายจะจัดตั้งคณะกรรมการสัตว์รับรู้ความรู้สึก(Animal Sentience Committee)ที่จะทำหน้าที่ออกรายงานชี้ว่า รัฐบาลลอนดอนมีการตัดสินใจที่ดีมากน้อยเพียงใดในการพิจารณาเกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของสัตว์ที่มีความสามารถรับรู้ความรู้สึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฎิบัติการวงกว้างด้านสวัสดิภาพสัตว์ของอังกฤษ
ทั้งนี้ในรายงานผู้เชี่ยวชาญจาก LSE ระบุว่าไม่สมควรต้มกุ้งและปูขณะที่พวกมันยังคงมีชีวิตและรวมไปถึงให้มีวิธีการปฎิบัติพวกมันอย่างเหมาะสมสำหรับการขนส่งและการทำให้เสียชีวิต
รายงานยังกล่าวอีกว่ามีการใช้ 8 วิธีเพื่อตรวจสอบการหาความสามารถรับรู้ความรู้สึกที่รวมไปถึง ความสามาถในการเรียนรู้ การมีตัวรับรู้ความเจ็บปวด การตอบสนองต่ออาการชา และพฤติกรรมต่างๆที่รวมไปถึงการถ่วงดุลระหว่างภัยคุกคามและโอกาสที่จะได้รางวัลและการป้องกันจากความเจ็บปวดหรือภัยคุกคาม
ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญหลักฐานที่หนักแน่นของความสามารถรับรู้ความรู้สึกในกลุ่มสัตว์ประเภทปลาหมึกยักษ์และในส่วนใหญ่ของสัตว์ประเภทปู แต่สำหรับสัตว์อื่นๆที่รวมอยู่ใน 2 กลุ่มนี้เป็นต้นว่า ปลาหมึกและกุ้งล็อบสเตอร์พบว่ามีหลักฐานค้นพบว่าสามารถรับรู้ความรู้สึกแต่ไม่สูงเท่าในปลาหมึกยักษ์และปู