xs
xsm
sm
md
lg

UN ลงมติไม่รับตัดสินเคส “ภาวะโลกร้อนละเมิดสิทธิเด็ก” ของ “เกรตา ทุนเบิร์ก”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รอยเตอร์ - คณะกรรมาธิการยูเอ็นออกมติวันจันทร์ (11 ต.ค.) ว่าไม่สามารถตัดสินในทันทีต่อการยื่นเรื่องร้องเรียนจากนักเคลื่อนไหวด้านภาวะโลกร้อนชาวสวีเดนชื่อดัง เกรตา ทุนเบิร์ก และเพื่อนนักเคลื่อนไหวเมื่อปี 2019 ว่าการที่รัฐบาลชาติยักษ์ใหญ่ทางอุตสาหกรรม 5 ประเทศไม่เคลื่อนไหวจัดดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก

รอยเตอร์รายงานวันนี้ (11 ต.ค.) คดีภาวะโลกร้อนละเมิดสิทธิเด็กนั้นถูกยื่นเข้าไปยังคระกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2019 โดยเกรตา ทุนเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศโลกชื่อดังชาวสวีเดนเป็นแกนนำคณะนักเคลื่อนไหวคนรุ่นใหม่ซึ่งมีจำนวนผู้ลงนามยื่นทั้งหมด 15 คน อายุระหว่างน้อยสุดที่ 8 ปี ไปจนถึง 17 ปีในขณะนั้น และทำให้ทางคณะกรรมาธิการที่มีจำนวน 18 คนเริ่มต้นทำการพิจารณานับตั้งแต่นั้นมา

โดยคดีนี้ทุนเบิร์ก และคณะชี้ว่า การไม่ลงมือทำอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศของรัฐบาล 5 ประเทศที่ระบุถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิเด็ก ซึ่งผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยูเอ็นออกมาในวันนี้ (11) ตัดสินว่า "ยังไม่สามารถตัดสินในทันทีต่อคำร้องนี้" พร้อมกับแนะนำให้ทุนเบิร์ก และคณะนำเรื่องไปยื่นต่อศาลระดับประเทศแทน

รอยเตอร์รายงานว่า ในคำฟ้องทุนเบิร์กชี้ว่าทั้งฝรั่งเศส ตุรกี บราซิล เยอรมนี และอาร์เจนตินา รู้ดีแก่ใจถึงความเสี่ยงทางสภาพอากาศเป็นอย่างดีมานานหลายสิบปีแต่ล้มเหลวในการจำกัดการปล่อยคาร์บอนของตัวเอง

คณะกรรมาธิการที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนสรุปลงในความเห็น พบว่าความเชื่อมโยงทางสาเหตุที่มีมากเพียงพอระหว่างการเป็นอันตรายมหันต์กระทบต่อชีวิตเด็กและการปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติของประเทศทั้ง 5 ประเทศ

“พวกคุณประสบความสำเร็จในบางประเด็นแต่ไม่ใช่ทั้งหมด” คณะกรรมาธิการสหประชาชาติกล่าวผ่านหนังสือไปยังเกรตา ทุนเบิร์ก และคณะ พร้อมกับแสดงความชื่นชมในความกล้าหาญและความมุ่งมั่นของนักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์เหล่านี้

“พวกเราหวังว่าพวกคุณจะใช้จากความเห็นในแง่บวกของคำตัดสินนี้เป็นพลังให้ตัวเอง และพวกคุณจะยังคงดำเนินการในประเทศของตัวเองและในภูมิภาคและในระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้สำหรับความยุติธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศโลกต่อไป”

ซึ่งในประเด็นสำคัญของคำตัดสินรอยเตอร์ชี้ว่า จากคำร้องของเกรตา ทุนเบิร์ก เป็นเสมือนการเบิกทางให้ทางคณะกรรมาธิการยูเอ็นเชื่อว่า ทางคณะสามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ในกรณีหากว่าผลกระทบอย่างเป็นอันตรายจากการปล่อยคาร์บอนของชาติหนึ่งๆนั้นส่งผลกระทบต่อบรรดาเด็กๆ ในประเทศอื่น

ทั้งนี้ คำร้องภาวะโลกร้อนละเมิดสิทธิเด็กปี 2019 ที่มีทุนเบิร์กเป็นผู้นำนั้นพบว่ามีผู้นำเยาวชนนักเคลื่อนไหวมาจาก 12 ประเทศได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย ปาเลา หมู่เกาะมาร์แชลส์ ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ สวีเดน ตูนิเซีย และสหรัฐฯ


กำลังโหลดความคิดเห็น