xs
xsm
sm
md
lg

ประชุม G7 พบหน้าครั้งแรกสะดุด ตัวแทนอินเดียติดโควิด-19 “ต่างประเทศสหรัฐฯ” เสียงแข็งโต้จีน-รัสเซีย โลกตะวันตกจะยังไม่จบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์/รอยเตอร์ - กลายเป็นความวุ่นวายเมื่อตัวแทนนักการทูตอินเดียเกิดปัญหาใกล้ชิดผู้ติดโควิด-19 ทำให้พลาดการเข้าร่วมประชุม G7 แบบพบหน้าครั้งแรกในอังกฤษ ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ส่งสัญญาณรบไปยังจีนและรัสเซียก่อนการประชุม ระบุชาติตะวันตกจะปกป้องกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศและจะใม่ให้ชาติใดรวม “จีน” เข้ามาทำให้ปั่นป่วน ส่งสารไปยังรัสเซียสหรัฐฯ ต้องการมีความสัมพันธ์ที่มีสถียรภาพมากขึ้นกับเครมลิน แต่ขึ้นอยู่กับการกระทำของ ปธน.ปูตินว่าจะเอาอย่างไร

สปุตนิกนิวส์ สื่อรัสเซียรายงานวันนี้ (5 พ.ค.) ว่า กลุ่มนักการทูตอินเดียที่เดินทางมายังอังกฤษเพื่อเข้าร่วมการประชุม G7 ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศจำนวน 7 ชาติอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยในกรุงลอนดอนซึ่งจะเป็นการประชุมแบบพบหน้าเป็นครั้งแรก แต่ทว่ากลับพบว่ามีสมาชิก 2 คนของฝ่ายอินเดียมีผลการติดเชื้อโควิด-19 เป็นบวก ส่งผลทำให้ตัวแทนนักการทูตอินเดียสมัครใจที่จะยอมกักตัวเองและเข้าร่วมการประชุมทางออนไลน์แทน

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อังกฤษเปิดเผยว่า “ตัวแทน 2 คนมีผลการติดเชื้อเป็นบวกทำให้ทั้งทีมตัดสินใจต้องกักตัวเอง” และเสริมว่าการประชุมซัมมิตใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจหาเชื้อตัวแทนทุกคนทุกวัน

อ้างอิงจากรายงาน รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย สุพรหมณยัม ชัยศังกระ (Subrahmanyam Jaishankar) ที่ก่อนหน้าได้พบกับรัฐมนตรีมหาดไทยอังกฤษ ปริตี ปาเตล (Priti Patel) ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเป็นบวก

ซึ่งทางรัฐมนตรีอินเดียได้แถลงยืนยันผ่านทางทวิตเตอร์ว่า เขาจะเข้าร่วมการปะชุมแบบออนไลน์

ทั้งนี้ อินเดียไม่ได้เป็นหนึ่งในชาติสมาชิกแต่ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมหลังได้รับเชิญจากอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าภาพ ซึ่งรวมไปถึงออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้

รอยเตอร์รายงานว่า ในวันอังคาร (4) อังกฤษจะพยายามหามาตรการที่เด็ดขาดจากพันธมิตรกลุ่ม G-7 เพื่อปกป้องประชาธิปไตยต่อภัยคุกคามระดับโลกเช่น “จีน” และ “รัสเซีย” โดยการประชุมในวันที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมระดับผู้นำที่จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน

และสำหรับวันจันทร์ (4) ซึ่งเป็นการประชุมวันแรก พบว่าราบได้พบปะหารือร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเกน ที่เขากล่าวว่า มีความจำเป็นต้องสร้างขั้วพันธมิตรโลกที่รักเสรีภาพขึ้น แต่ย้ำว่าเขาไม่มีความประสงค์ที่จะทำให้จีนไม่สามารถขยับตัวได้แต่ต้องการให้จีนทำตามกติกาโลกเท่านั้น

ซึ่งการหารือวันอังคารจะครอบคลุมปัญหารัฐประหารพม่า เรียกร้องให้มีการใช้มาตรการที่แข็งมากขึ้นต่อกองทัพพม่าในรูปแบบการขยายการคว่ำบาตร และการสนับสนุนการปิดล้อมทางอาวุธต่อพม่าและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพิ่มมากขึ้น

และในช่วงบ่ายจะเป็นการปรับเปลี่ยนอารมณ์มาอยู่ที่รัสเซีย รวมไปถึงการตอบโต้ต่อการเคลื่อนกำลังพลของรัสเซียที่บริเวณพรมแดนติดยูเครน และปัญหาอเล็กเซ นาวาลนีที่ถูกเครมลินจำคุก

รอยเตอร์ชี้ว่า อังกฤษและสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (3) ได้ส่งสัญญาณไปยังจีนและรัสเซีย โดยชี้ว่าชาติตะวันตกจะยังไม่จบแค่นั้น แต่อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ยืนแถลงข่าวคู่กับราบว่า “ไม่ได้เป็นเป้าหมายของเราที่ต้องการจำกัดจีนหรือทำให้จีนไม่สามารถขยับตัวได้” แต่ชี้ว่า “โลกตะวันตกจะปกป้องกฎกติการะหว่างประเทศ” จากความพยายามก่อกวนจากประเทศใดๆ รวมถึง จีน

การเติบโตทางการทหารและเศรษฐกิจของจีนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาถูกมองว่าเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านภูมิศาสตร์ทางการเมืองหลังการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปี 1991 นักการทูตทั้งสองมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะให้โลกเห็นว่าชาติตะวันตกจะยืนยันในหนทางของตัวเอง และราบชี้ว่าพวกเขาจะสร้างพันธมิตรมากกว่าแบ่งแยก

รอยเตอร์ชี้ว่า ถึงแม้กลุ่ม G7 ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1975 จะมีสมาชิกจำกัดที่ประกอบไปด้วยอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แต่ทว่าเมื่อรวมกันของทุกชาติสมาชิกแล้วนั้นใหญ่กว่าจีนทั้งด้านเศรษฐกิจ และการทหาร


กำลังโหลดความคิดเห็น