xs
xsm
sm
md
lg

ภูเขาน้ำแข็งมหึมาใหญ่กว่านิวยอร์กแตกจากหิ้งน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกไม่ต้องกังวล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมา แตกออกจากหิ้งน้ำแข็งบลันท์ (Brunt Ice Shelf)ในแอนตาร์กติกา เมื่อวันศุกร์(26ก.พ.) ไม่ไกลจากฐานวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญรุดชี้แจงไม่มีความจำเป็นที่้ต้องกังวลใดๆ

ถ้อยแถลงจากสำนักงานสำรวจแอนตาร์กติกแห่งสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey - BAS) ระบุว่าภูเขาน้ำแข็งขนาด 1,270 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่านิวยอร์ก ซิตี เกิดแตกออกมาในกระบวนการที่เรียกว่า calving (การแบ่งตัว)

สถานีวิจัยฮัลลีย์ของ BAS ซึ่งตั้งอยู่บนหิ้งน้ำแข็งบลันท์ ปิดทำการในช่วงฤดูกาลหนาวของแอนตาร์กติก และบุคลากรทั้ง 12 คนของทางสถานีวิจัยได้เดินทางออกมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือน

พวกนักวิทยาศาสตร์คาดหมายกันว่าภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่จะแตกออกมานานหลายปีแล้ว สืบเนื่องจากรอยร้าวต่างๆนานาขนาดใหญ่ ที่ก่อตัวบนหิ้งน้ำแข็งลอยน้ำที่มีความหนา 150 เมตรแห่งนี้


รอยแยกใหม่ที่เรียกกันว่า North Rift เริ่มมุ่งหน้าสู่รอยร้าวขนาดใหญ่อีกจุดในเดือนพฤศจิกายน และค่อยๆแผ่ลามเรื่อยๆเป็นระยะทางราวๆ 1 กิโลเมตรต่อวันในเดือนมกราคม ขณะที่ภาพถ่ายวิดีโอทางอากาศในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ พบเห็นรอยร้าว North Rift ยืดยาวออกไปไกลจนสุดลูกหูลูกตา

BAS ระบุว่ารอยร้าวขยายยืดยาวอีกหลายร้อยเมตรในตอนเช้าวันศุกร์(26ก.พ.) จนกระทั่งมันหลุดออกจากหิ้งน้ำแข็งที่เหลือ "ทีมงานของเราที่ BAS เตรียมพร้อมสำหรับกรณีภูเขาน้ำแข็งแบ่งตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งบลันท์มานานหลายปี" เจน ฟรานซิส ผู้อำนวยการ BAS ระบุในถ้อยแถลง

เธอกล่าวว่าทีมงานอัพเดทข้อมูลรายวันเกี่ยวกับสถานการณ์ของหิ้งน้ำแข็ง ผ่านเครือข่ายเครื่องวัด GPS อัตโนมัติที่มีความแม่นยำสูง เช่นเดียวกับภาพถ่ายทางดาวเทียม "ข้อมูลทุกคนถูกส่งกลับไๆปยังเคมบริดจ์เพื่อวิเคราะฟ์ ดังนั้นเราจึงรู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในฤดูหนาวของแอนตาร์กติก ยามที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำการที่สถานี มันมืดมิดและอุณหภูมิลดต่ำกว่า -50 องซาเซลเซียส"

ทาง BAS เคลื่อนย้ายสถานีวิจัยฮัลลีย์ ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดินในปี 2016 ส่วนหนึ่งในมาตรการป้องกันไว้ก่อน และเจ้าหน้าที่จะถูกส่งเข้าไปปฏิบัติงานเฉพาะระหว่างฤดูร้อนของแอนตาร์กติกเท่านั้นมาตั้งแต่ปี 2017 สืบเนื่องจากการอพยพใดๆในช่วงฤดูหนาวที่มืดมิด จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก


"นี่คือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน เมื่อ 4 ปีก่อน เราเคลื่อนย้ายสถานีวิจัยฮัลลีย์ ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดิน เพื่อรับประกันว่ามันจะถูกแบกลอยไปไหนหากท้ายที่สุดรูปแบบของภูเขาน้ำแข็งก่อตัวขึ้น มันเป็นการตัดสินใจที่ฉลาด" ไซมอน การ์รอด ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ BAS กล่าวในถ้อยแถลง "ตอนนี้งานของเราคือจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประเมินความเป็นไปได้ที่มันจะส่งผลกระทบใดๆของการแยกตัวในปัจจุบันต่อหิ้งน้ำแข็งที่เหลือ"

มีสถานีวิจัยฮิวลีย์ 6 สถานีประจำการอยู่บนหิ้งน้ำแข็งบลันท์ มาตั้งแต่ผี 1956 เพื่อสังเกตการณ์ด้านสภาพอากาศชั้นบรรยากาศและอวกาศ

ก่อนหน้านี้ไม่นาน ภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่านี้แตกออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี ในปี 2017 และล่องลอยสู่มหาสมุทรเปิดในช่วงปลายปีที่แล้ว

เวลานี้พวกนักวิทยาศาสตร์กำลังจับตามองว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาล่าสุด "หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ภูเขาน้ำแข็งอาจลอยไป หรือมันอาจเกยตื้น และยังอยู่ใกล้ๆกับหิ้งน้ำแข็งบลันท์ต่อไป" ฟรานซิสระบุในถ้อยแถลง

หิ้งน้ำแข็งไหลลงสู่ทะเลในอัตราราวๆ 2 กิโลเมตรต่อปี และการแยกตัวของภูุเขาน้ำแข็งจะเกิดขึ้นเป็นพักๆไม่เป็นระบบระเบียบใดๆ "การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งที่ฮัลลีย์เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แยกตัวของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี และไม่ปรากฏหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะมีบทบาทสำคัญใดๆ" BAS กล่าว

(ที่มา:ซีเอ็นเอ็น)


กำลังโหลดความคิดเห็น