รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – จีนแถลงเมื่อวานนี้(22 มิ.ย)ว่า ปักกิ่งขอสงวนสิทธิ์การตอบโต้ญี่ปุ่นเกิดขึ้นหลังจากสภาเมืองอิชิงากิ(Ishigaki)ผ่านร่างกฎหมายเปลี่ยนชื่อสถานภาพการบริหารของหมู่เกาะเซนกากุ หรือที่รู้จักในชื่อหมู่เกาะเตียวหยูในประเทศจีน เกิดขึ้นหลังจากวันอาทิตย์(21 มิ.ย) กฎหมายฉบับแก้ไขกองทัพปลดแอกประชาชนจีน PLA มีผลบังคับใช้ที่จะเป็นการปูทางให้หน่วยงานยามฝั่งจีนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในอนาคต แถมตั้งแต่กลางเดือนเมษายน ส่งเรือรัฐบาลจีนเข้ามาวิ่งใกล้น่านน้ำเขตหมู่เกาะพิพาท 67 ลำ
รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้(22 มิ.ย)ว่า สื่อ NHK ของญี่ปุ่นรายงานก่อนหน้าว่า สภาเมืองชิงากิ(Ishigaki) จังหวัดโอกินาวา ได้ผ่านร่างกฏหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อพื้นที่เขตบริหารที่ครอบคลุมหมู่เกาะพิพาทเซนกากุ หรือที่รู้จัในชื่อหมู่เกาะเตียวหยูในจีนเมื่อวันจันทร์(22) โดยแต่เดิมมีชื่อว่า โทโนชิโร (Tonoshiro) และเปลี่ยนเป็น โทโนชิโร เซ็งกากุ(Tonoshiro Senkaku) ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไปเพื่อประโยชน์ทางการบริหาร
อย่างไรก็ตามหลังการประกาศพบว่ากระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกแถลงการณ์ประณามการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ที่ถือเป็นการยั่วยุอย่างร้ายแรงต่ออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของปักกิ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และไม่มีอยู่จริง และยังไม่สามารถเปลี่ยนความเป็นจริงที่ว่าหมู่เกาะเตียวหยูเป็นของจีน
โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนย้ำว่า จีนมีความมุ่งมั่นในการปกป้องอาณาธิปไตยของตัวเองอย่างที่ไม่สามารถยกเว้นได้ และเขากล่าวต่อว่า ปักกิ่งได้ยื่นเรื่องประท้วงต่อญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการแล้ว และจะขอสงวนสิทธิในการตอบโต้
NHK กล่าวว่าการออกมาเปลี่ยนชื่อในทางการบริหารเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดต่อพื้นที่อื่นในเมืองอิชิงากิที่มีชื่อเดียวกัน
อ้างอิงจากการรายงานของสื่อ CNN สหรัฐฯ หน่วยงานยามฝั่งญี่ปุ่นรายงานว่า ภายในวันจันทร์(22) ซึ่งเป็นวันที่มีการลงมติผ่านร่างกฎหมายพบว่ามีเรือสัญชาติจีนอยู่ในพื้นที่จำนวน 4 ลำ ซึ่งสื่อ timesnownews รายงานว่านับตั้งแต่กลางเดือนเมษายนปีนี้ ปักกิ่งส่งเรือรัฐบาลจีนถึง 67 ลำเข้าใกล้น่านน้ำของหมู่เกาะเซ็งกากุ
NHK รายงานในวันอาทิตย์(21)ว่า การออกมาประท้วงของจีนเกิดขึ้น 1 วันหลังจากที่กฎหมายฉบับแก้ไขกองทัพปลดแอกประชาชนจีน PLA มีผลบังคับใช้ที่จะเป็นการปูทางให้หน่วยงานยามฝั่งจีนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในอนาคต
ทั้งนี้พบว่าหน่วยงานยามฝั่งจีนเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังตำรวจเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า
กฎหมายฉบับแก้ไขระบุว่าให้เรือยามฝั่งจีนทำการลาดตระเวนร่วมกับกองทัพจีน และในเวลาฉุกเฉินหน่วยงานยามฝั่งจะอยู่ภายใต้การบัญชาการของคณะกรรมาธิการกลางกองทัพจีน (Central Military Commission) ที่นำโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้(22 มิ.ย)ว่า สื่อ NHK ของญี่ปุ่นรายงานก่อนหน้าว่า สภาเมืองชิงากิ(Ishigaki) จังหวัดโอกินาวา ได้ผ่านร่างกฏหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อพื้นที่เขตบริหารที่ครอบคลุมหมู่เกาะพิพาทเซนกากุ หรือที่รู้จัในชื่อหมู่เกาะเตียวหยูในจีนเมื่อวันจันทร์(22) โดยแต่เดิมมีชื่อว่า โทโนชิโร (Tonoshiro) และเปลี่ยนเป็น โทโนชิโร เซ็งกากุ(Tonoshiro Senkaku) ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไปเพื่อประโยชน์ทางการบริหาร
อย่างไรก็ตามหลังการประกาศพบว่ากระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกแถลงการณ์ประณามการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ที่ถือเป็นการยั่วยุอย่างร้ายแรงต่ออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของปักกิ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และไม่มีอยู่จริง และยังไม่สามารถเปลี่ยนความเป็นจริงที่ว่าหมู่เกาะเตียวหยูเป็นของจีน
โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนย้ำว่า จีนมีความมุ่งมั่นในการปกป้องอาณาธิปไตยของตัวเองอย่างที่ไม่สามารถยกเว้นได้ และเขากล่าวต่อว่า ปักกิ่งได้ยื่นเรื่องประท้วงต่อญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการแล้ว และจะขอสงวนสิทธิในการตอบโต้
NHK กล่าวว่าการออกมาเปลี่ยนชื่อในทางการบริหารเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดต่อพื้นที่อื่นในเมืองอิชิงากิที่มีชื่อเดียวกัน
อ้างอิงจากการรายงานของสื่อ CNN สหรัฐฯ หน่วยงานยามฝั่งญี่ปุ่นรายงานว่า ภายในวันจันทร์(22) ซึ่งเป็นวันที่มีการลงมติผ่านร่างกฎหมายพบว่ามีเรือสัญชาติจีนอยู่ในพื้นที่จำนวน 4 ลำ ซึ่งสื่อ timesnownews รายงานว่านับตั้งแต่กลางเดือนเมษายนปีนี้ ปักกิ่งส่งเรือรัฐบาลจีนถึง 67 ลำเข้าใกล้น่านน้ำของหมู่เกาะเซ็งกากุ
NHK รายงานในวันอาทิตย์(21)ว่า การออกมาประท้วงของจีนเกิดขึ้น 1 วันหลังจากที่กฎหมายฉบับแก้ไขกองทัพปลดแอกประชาชนจีน PLA มีผลบังคับใช้ที่จะเป็นการปูทางให้หน่วยงานยามฝั่งจีนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในอนาคต
ทั้งนี้พบว่าหน่วยงานยามฝั่งจีนเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังตำรวจเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า
กฎหมายฉบับแก้ไขระบุว่าให้เรือยามฝั่งจีนทำการลาดตระเวนร่วมกับกองทัพจีน และในเวลาฉุกเฉินหน่วยงานยามฝั่งจะอยู่ภายใต้การบัญชาการของคณะกรรมาธิการกลางกองทัพจีน (Central Military Commission) ที่นำโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง