xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯเปิดตัวกฎใหม่'คนจน'หมดสิทธิ์เข้าอเมริกา ปฏิเสธวีซ่าทั้งถาวร-ชั่วคราว!!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ภาพจากเอเอฟพี
รอยเตอร์ - รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ เปิดตัวกฏระเบียบใหม่ในวันจันทร์(12ส.ค.) ซึ่งอาจปฏิเสธผู้คนหลายแสนรายที่ยื่นขอรับสถานะผู้อยู่อาศัยถาวร เนื่องจากคนเหล่านั้นยากจนเกินไป

กฎระเบียบใหม่ที่คาดหมายกันมานานและผลักดันโดย สตีเฟน มิลเลอร์ ผู้ช่วยของทรัมป์ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านคนเข้าเมือง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคม และมันจะปฏิเสธผู้ยื่นขอวีซ่าทั้งชั่วคราวและถาวร สำหรับผู้ที่มีมาตรฐานรายได้ไม่เข้าเกณฑ์ หรือมีความเป็นไปได้ที่ต้องขอรับความช่วยเหลือสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการ, คูปองอาหาร(food stamps, การเคหะและโครงการประกันสุขภาพ

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรับประกันว่าพวกคนเข้าเมืองจะต้องพึ่งตนเอง "ไม่เอาแต่พึ่งทรัพยากรของภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว แล้วหันมาพึ่งพิงศักยภาพของตนเอง เช่นเดียวกับทรัยากรของสาชิกครอบครัว, สปอนเซอร์และองค์กรเอกชน" คำประกาศที่เผยแพร่ในบันทึกราชการระบุ

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้น่าจะเป็นกฎระเบียบที่เข้มงวดที่สุดในนโยบายต่อต้านคนเข้าเมืองทั้งหมดของรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ ในขณะที่พวกทนายความเพื่อคนเข้าเมืองวิพากษ์วิจารณ์แผนดังกล่าวว่าเป็นความพยายามปรับลดจำนวนคนเข้าเมืองถูกกฎหมาย โดยหลีกเลี่ยงไม่ผ่านการแก้กฎหมายซึ่งจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสเสียก่อน

องค์กรวิจัยสถาบันนโยบายคนเข้าเมืองระบุว่า ภายใต้กฎหมายนี้ มากกว่าครึ่งของผู้ยื่นขอกรีนการ์ดให้กับคนในครอบครัวจะถูกปฏิเสธ และจากข้อมูลพบว่ามีการอนุมัติกรีนการ์ดแก่ผู้ยื่นขอกว่า 800,000 รายในปี 2016

กฎระเบียบใหม่นี้มีรากฐานมาจากกฎหมายคนเข้าเมือง 1882 ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลสหรัฐฯปฏิเสธวีซ่าใครใดก็ตามที่อาจกลายเป็นบุคคลที่ต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐ(public charge)

เดิมทีพวกคนเข้าเมืองซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์รับความช่วยเหลือจากโครงการช่วยเหลือต่างๆจนกว่าพวกเขาจะได้รับกรีนการ์ด แต่ภายใต้กฎระเบียบใหม่ที่เผยแพร่โดยกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิได้ขยายคำจำกัดความของ public charge ในการปฏิเสธบุคคลต่างๆเพิ่มเติม

จากกฏระเบียบใหม่ นั่นหมายความว่าเวลานี้ผู้ยื่นความจำนงจำเป็นต้องแสดงรายได้ระดับสูงขึ้นเพื่อให้ได้รับวีซ่าสหรัฐฯ
กำลังโหลดความคิดเห็น