xs
xsm
sm
md
lg

ระทึก!ไฟไหม้เลวร้ายโรงกลั่นในสหรัฐฯ ตูมสนั่นคล้ายระเบิดนิวเคลียร์(ชมวิดีโอ)

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รอยเตอร์ - เหล่าพนักงานดับเพลิงรุดเข้าควบคุมเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โรงกลั่นของบริษัทเอเนอจี โซลูชันส์ อิงค์(PES) ในฟิลาเดลเฟีย ในวันศุกร์(21มิ.ย.) และคาดว่าผลความเสียหายจากอัคคีภัยครั้งนี้อาจทำให้โรงกลั่นแห่งนี้ต้องปิดทำการเป็นเวลานานทีเดียว

เจ้าหน้าที่หน่วยดับเพลิงฟิลาเดลเฟียเผยว่าเกิดระเบิดตูมสนั่นหลายครั้งก่อลูกบอลไฟขนาดยักษ์พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ห้อมล้อมพื้นที่โดยรอบด้วยควันหนาทึบในตอนราวๆ 04.00น.ตามเวลาท้องถิ่น(ตรงกับเมืองไทย 15.00น.) หลังเปลวเพลิงเริ่มลุกไหม้ในถังก๊าซบิวเทนถังหนึ่งของโรงงานที่มีกำลังผลิต 335,000 บาร์เรลต่อวัน

ถ้อยแถลงของบริษัทระบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 รายและคนงานทั้งหมดได้รับการรักษา ณ ที่เกิดเหตุ ส่วนขอบเขตความเสียหายนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ดูเหมือนมันจะร้ายแรงกว่าเหตุไฟไหม้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ที่ถังกักเก็บเชื้อเพลิงอีกแห่งภายในโรงกลั่น




คนงานระดับอาวุธรายหนึ่งซึ่งอยู่ภายในโรงกลั่นตอนที่เกิดเหตุไฟไหม้เล่าว่า "มันเป็นเหตุไฟไหม้ครั้งเลวร้ายที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอ มันเหมือนกับระเบิดนิวเคลียร์ระเบิด ตอนนั้นผมคิดถึงขั้นว่าพวกเขาทุกคนกำลังจะตาย"

พวกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเมืองระบุว่าไม่มีความเสี่ยงอย่างทันทีทันใดต่อชุมชนต่างๆที่อยู่ล้อมรอบ ไม่มีความจำเป็นต้องอพยพหรือจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว

ถ้อยแถลงของ PES ระบุว่ามีการระเบิดเกิดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งที่โรงกลั่น ส่งผลกระทบต่อแผนกอัลคิลเลชัน(alkylation) โดยทางบริษัทเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่กำลังลุกไหม้นั้น ส่วนใหญ่น่าจะเป็นก๊าซโพรเพน

แหล่งข่าวเปิดเผยว่าเหตุระเบิดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นที่แผนกอัลคิลเลชัน กำลังผลิต 30,000 บาร์เรลต่อวัน ที่มีการใช้กรดไฮโดรฟลูออริก หนึ่งในสารเคมีอันตรายที่สุดในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน ซึ่งเคยตกเป็นประเด็นโต้เถียงมาแล้วในอดีต

ที่ผ่านมา พวกคนงานเคยเรียกร้องให้โรงกลั่นต่างๆหยุดใช้กรดไฮโดรฟลูออริกในการกลั่น เนื่องจากมันเป็นอันตรายต่อตา, ผิวหนังและปอด ยามที่มันถูกปลดเปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศหากเกิดการระเบิด

ผลการตรวจสอบเบื้องต้นที่โรงกลั่นและชุมชนต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงไม่พบว่าถูกล้อมรอบโดย "คาร์บอนมอนนอกไซด์, ไฮโดรคาร์บอนหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์" โฆษกกรมสาธารณสุขฟิลาเดลเฟียระบุในถ้อยแถลง ขณะที่กรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมก็สนับสนุนข้อเท็จดังกล่าว โดยบอกว่าคุณภาพอากาศนั้นไม่อยู่ในขั้นที่เป็นอันตราย




เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นหลังจากโรงกลั่นแห่งนี้ประสบปัญหาทางการเงินมานานหลายปี โดยจำเป็นต้องลดสิทธิประโยชน์แรงงาน, ตัดทอนแผนการลงทุนต่างๆเพื่อรักษาเงินสด และเคยผ่านกระบวนการล้มละลายเพื่อลดหนี้เมื่อปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตามทางบริษัทหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายในปี 2018 ด้วยการอัดฉีดเงินสด 148 ล้านดอลลาร์ แต่แค่ 3 เดือนต่อมา เงินสดดังกล่าวก็ลดฮวบเหลือเพียง 87.7 ล้านดอลลาร์

ขอบเขตความเสียหายมากน้อยแค่ไหนนั้นจะก่อคำถามเพิ่มเติมว่าทางบริษัทจะมีเงินมากพอที่จะพื้นฟูโรงกลั่นแห่งนี้หรือไม่ หลังจากเพิ่งเกิดเหตุไฟไหม้ที่โรงกลั่นแห่งเดียวกันนี้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่มันถือเป็นโรงกลั่นใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในแถบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ



กำลังโหลดความคิดเห็น