xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นปฏิเสธข้อเสนอร่วมตั้งกองทุนชดเชย “แรงงานช่วงสงคราม” ของเกาหลีใต้

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เอเอฟพี – ญี่ปุ่นยอมไม่ได้ในวันนี้ (20) กับข้อเสนอของเกาหลีใต้ที่จะจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ถูกบังคับใช้แรงงานช่วงสงคราม ข้อพิพาทอันขมชื่นที่ฉุดรั้งความสัมพันธ์สองฝ่าย

กองทุนดังกล่าวจะไม่ทำให้ประเด็นนี้คลี่คลาย โฆษกรัฐบาลระดับสูง บอกในการแถลงข่าวประจำวันในกรุงโตเกียว

“ข้อเสนอของเกาหลีใต้ไม่อาจยอมรับได้อย่างสิ้นเชิง” โยชิฮิเดะ สุกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี บอกผู้วื่อข่าว

“เราจะยังคงเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยอมรับการใช้อนุญาโตตุลาการ” เขากล่าวเสริม

ความสัมพันธ์ระหว่างสองพันธมิตรสหรัฐฯ ตึงเครียดมากขึ้นหลังคำตัดสินของศาลเกาหลีใต้ที่ระบุว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ใช้ผู้ถูกบังคับใช้แรงงานช่วงสงครามต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่เหยื่อ

รัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัทเหล่านั้นไม่ยอมรับคำตัดสิน โดยโตเกียว ระบุว่า ประเด็นนี้ได้รับการคลี่คลายไปแล้วตอนที่สองประเทศฟื้นคืนความสัมพันธ์สู่ระดับปกติ

เมื่อเดือนที่แล้ว โตเกียวเสนอให้ประเด็นนี้เข้าสู่อนุญาโตตุลาการภายใต้เนื้อหาของข้อตกลงที่สองประเทศลงนามในปี 1965 ตอนที่ความสัมพันธ์กลับสู่ระดับปกติ
โยชิฮิเดะ สุกะ
ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้สองประเทศจัดตั้งคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ หากพวกเขาไม่สามารุแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาทางการทูต

เมื่อวันพุธ (19) เกาหลีใต้ยื่นข้อเสนอโต้กลับที่ระบุว่า บริษัทเกาหลีใต้และบริษัทญี่ปุ่น รวมถึงกลุ่มบริษัทในคำตัดสินของศาล จะจัดตั้งกองทุนสมัครใจเพื่อจ่ายค่าชดเชยให้แก่เหยื่อ

“หากโตเกียวยอมรับข้อเสนอของเรา รัฐบาลของเราเต็มใจที่จะทบทวนคำร้องของของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จะหารือประเด็นนี้” โซล ระบุในถ้อยแถลง

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างเป็นประชาธิปไตย เป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และเป็นพันธมิตรสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ของสองประเทศตึงเครียดมานานหลายสิบปี เนื่องจากการปกครองแบบอาณานิคมของโตเกียวเหนือคาบสมุทรเกาหลีช่วงปี 1910-1945

ความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างโตเกียวและโซลเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามทางการทูตที่จะกดดันให้ผู้นำ คิม จองอึน ของเกาหลีเหนือละทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อคลายความเสี่ยงด้านความมั่นคงในภูมิภาค

เมื่อครั้งที่ความสัมพันธ์กลับเป็นปกติ โตเกียวอนุมัติแพ็กเกจค่าชดเชยที่รวมถึงเงินช่วยเหลือและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งครอบคลุมเหยื่อของนโยบายช่วงสงคราม ญี่ปุ่นให้เหตุผลว่า แพ็กเกจดังกล่าวน่าจะทำให้ประเด็นนี้จบไปอย่างถาวรแล้ว


กำลังโหลดความคิดเห็น