xs
xsm
sm
md
lg

In Clips : สุดระทึก!! เกิดเหม็นไหม้ทั่ว "หอควบคุมจราจรอากาศสนามบินซิดนีย์" สั่งอพยพจนท.ออกด่วน ปิดตายทั้งสนามบิน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เอเจนซีส์ - เกิดเหตุไม่คาดฝันวันนี้(29 มี.ค) มีการสั่งอพยพเจ้าหน้าที่ภายในหอบังคับการควบคุมการจราจรอากาศท่าอากาศยานเมืองซิดนีย์ หลังมีกลิ่นเหม็นไหม้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกเกิดขึ้นก่อนเวลา 12.00 น. ส่งผลทำให้ผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องบินติดอยู่ด้านใน แต่ล่าสุดสถานการณ์กลับเข้าสู่ปกติสนามบินซิดนีกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้งแล้ว

หนังสือพิมพ์สเตรทไทม์สของสิงคโปร์รายงานวันนี้(29 มี.ค)ว่า สำนักงานบริการทางอากาศออสเตรเลีย (Air Services Australia) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศออกแถลงการณ์มีใจความว่า การเดินทางเที่ยวออกของท่าอากาศยานที่วุ่นวายมากที่สุดของออสเตรเลียนั้นเป็นไปได้ด้วยดี และข้อจำกัดที่ออกมาก่อนหน้าได้ถูกสั่งยกเลิก

"ปฎิบัติการควบคุมทางอากาศได้กลับมาให้บริการอีกครั้งในเมืองซิดนีย์ แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน โปรดติดต่อกับสายการบินของท่านเพื่อรับทราบสถานะเที่ยวบินของตัวเอง" สำนักงานให้บริการทางอากาศออสเตรเลียกล่าวผ่านแถลงการณ์

ทั้งนี้พบว่าท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์นั้นเป็นฮับของสายการบินชื่อดังต่างๆ เป็นต้นว่า แควนตัส แอร์เวย์ส และเวอร์จิน ออสเตรเลีย ซึ่งทั้ง 2 สายการบินต่างกล่าวว่า กำลังอยู่ในระหว่างทำให้ทำให้เที่ยวบินเป็นไปตามกำหนด

สื่อสิงคโปร์รายงานว่า มีการห้ามขึ้นบินของเที่ยวบินขาออก ส่วนเที่ยวบินขาเข้าเกิดความล่าช้า เกิดขึ้นหลังจากได้มีคำสั่งอพยพเจ้าหน้าที่หอบังคับการจราจรทางอากาศจำนวน 20 คนออกไปในช่วงเช้าวันศุกร์(29) เนื่องมาจากควันที่ออกมาจากระบบแบตเตอร์รีคอมพิวเตอร์ที่ร้อนจนเกินพิกัด และส่งกลิ่้นคล้ายกลิ่นไหม้ของอุปกรณ์อิเลกทรอนิกกระจายไปทั่วผ่านระบบแอร์ปรับอากาศ อ้างอิงการรายงานจากสื่อเอบีซีนิวส์ออสเตรเลีย

ด้านสำนักงานดับเพลิงนิวเซาท์เวลส์และหัวหน้าผู้กำกับการกู้ภัย ไบรซ โจนาส(Bryce Jonas) ได้เปิดเผยกับสื่อ news.com.au ว่า สำนักงานดับเพลิงได้รับการแจ้งถึง กลิ่นเหม็นไหม้อุปกรณ์อิเกทรอนิกที่น่ารังเกียจในหอควบคุมการจราจรทางอากาศเมื่อไม่นานก่อนเวลา 12.00 น.

"ส่วนประกอบภายในของระบบแบตเตอร์รีเกิดควัน ซึ่งสร้างกลิ่นเหม็นเหมือนอุปกรณ์อเลกทรอนิกกำลังไหม้ที่น่ารังเกียจให้เกิดขึ้น" โจนาสกล่าว

และพบว่ามีผู้โดยสารจำนวนมากต้องติดอยู่ภายในเครื่องบินบนลานบินขณะเกิดเหตุ

"ดังนั้นตัวเองได้แต่นั่งอยู่ภายในเครื่องที่จอดบนรันเวย์ในสนามบินซิดนีย์...ที่ดูเหมือนว่ากลุ่มควันจะออกมาจากหอบังคับการ และทั้งสนามบินถูกปิดตาย...ไม่มีการเข้าหรือออก!! ซูซาน พอล (Suzanne Paul)เขียนบนทวิตเตอร์บรรยายความอัดอั้งตันใจ

ส่วนผู้โดยสารอีกรายคือ ทิม นาเพียร์ (Tim Napier) ที่ติดอยู่บนเครื่องเช่นเดียวกันเปิดเผยว่า กัปตันเครื่องบินได้กล่าวว่า เกิดควันขึ้นภายใน@หอควบคุมสนามบินซิดนีย์ รถดับเพลิงมาอยู่ที่เกิดเหตุ หวังว่าทุกคนจะปลอดภัยแต่อาจหมายความว่า จะต้องเดินทางกลับบ้านช้าลง

ด้านสื่ออออสเตรเลีย 9นิวส์รายงานว่า ผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานต้องประสบปัญหาต่อความล่าช้านานสูงสุดถึง 2 ชั่วโมงในคืนนี้ หลังจากมีการสั่้งอพยพหอควบคุมการจราจรทางอากาศก่อนหน้า ห้ามเครื่องบินขึ้นบินหรือร่อนลงจอด โดยในรายงานของสื่ออออสเตรเลีย รถดับเพลิงถูกเรียกมาในเวลา 11.040 น.ของวันศุกร์(29)

ซึ่งโจนาสได้ให้ความเห็นกับทางสื่อ 9นิวส์ว่า ทางเจ้าหน้าที่พบอย่างรวดเร็วต้นตอปัญหาที่ทำให้เกิดควัน

"เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึง พวกเขาเข้าสำรวจทั่วทั้งหอบังคับการจราจรทางอากาศแต่ไม่พบสัญญาณของไฟ และดังนั้นจึงใช้อุปกรณ์กล้องตรวจจับความร้อนในการค้นหาต้นตอความร้อนที่ทำให้เกิดควัน และพบว่าเกิดมาจากระบบแบตเตอร์รีแบ็กอัพสำหรับคอมพิวเตอร์ของหอปฎิบัติการที่มันร้อนจนเกินไป" โจนาสชี้

และหัวหน้าหน่วยกู้ภัยออสเตรเลียกล่าวต่อว่า "ลูกทีมได้ถอดระบบแบตเตอร์รีที่มีปัญหาออกมา นำออกไปข้างน้อย และทุบมันด้วยถังก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" และชี้ว่า "และหลังจากนั้นพวกเขาอนุญาตให้ทุกคนกลับเข้าไป โดยทั้งหมดสามารถจบได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น"

9นิวส์ชี้ว่า ช่วงระหว่างการอพยพพบว่า การควบคุมเครื่องบินทั้งหมดภายในเขตการบินเหนือเมืองซิดนีย์ถูกส่งไปให้สนามบินเมลเบิร์นรับผิดชอบชั่วคราว และในเวลานี้เครื่องบินกลับมาทำหน้าที่ตามปกติ ที่มีบางไฟลท์สามารถร่อนลงจอดหรือบินขึ้นหลังจากมีความล่าช้าเกิดขึ้น

สายการบินเวอร์จิน ออสเตรเลียกล่าวว่า ทางสายการบินประสบปัญหา มีเที่ยวบินล่าช้า 8 เที่ยว และมีการเปลี่ยนเส้นทางการบินอีก 5 เที่ยว ส่วนสายการบินเจ็ตสตาร์(Jetstar) สั่้งเปลี่ยนเส้นทางการบิน 4 เทื่ยว และมีเที่ยวบินดีเลย์อีกจำนวนไม่มากนัก โดยผู้โดยสารของสายการบิน และผู้โดยสารของสายการบินแควนตัส แอร์เวย์ส ต้องเผชิญกับความล่าช้าของเที่ยวบินมาจนถึงคืนวันนี้(29)








กำลังโหลดความคิดเห็น