การ์เดียน - ปลาแสงอาทิตย์หายาก ขนาดใหญ่ตัวหนึ่ง ถูกพบเกยติ้นบนชายฝ่งบริเวณปากแม่น้ำเมอร์เรย์ ทางภาคใต้ของออสเตรเลีย ด้วยตอนแรกชาวบ้านนึกว่ามันเป็นแค่สิ่งประดิษฐ์ทำมาจากกระดาษเท่านั้น
ลินเนตต์ โพสต์ภาพบนเฟซบุ๊กของปลาแสงอาทิตย์ตัวดังกล่าว ซึ่งถูกพบเห็นโดยชาวประมง 2 คน บริเวณชายหาดเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา "แฟนของฉันออกไปเดินแถวชายหาดพร้อมกับลูกเรือ และตอนแรกเขาคิดว่ามันเป็นแค่เศษซากเรือเท่านั้น" เธอให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวการ์เดียน ออสเตรเลีย ในเวลาต่อมา
ขณะที่ ราล์ฟ ฟอสเตอร์ ผู้จัดการฝ่ายคอเลคชันปลาของพิพิธภัณฑ์เซาต์ออสเตรเลีย ให้ข้อมูลว่า ปลาแสงอาทิตย์มหาสมุทร (Mola mola) พบได้ยากมากในบริเวณดังกล่าว
ปลาแสงอาทิตย์ตัวที่เกยตื้นครั้งนี้เป็นเพียงแค่ตัวขนาดกลางๆของมัน เนื่องจากปลาสายพันธุ์นี้มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.2 เมตร และมีน้ำหนักได้มากกว่า 2 ตัน
ด้วยปลาแสงอาทิตย์ตัวนี้มีทรายเข้าไปติดในสะเก็ดของมัน จึงทำให้มองดูแล้วเหมือนกับว่ามันสิ่งประดิษฐ์ที่ทำมาจากกระดาษ "ผมคิดว่าหลายคนคงนึกว่ามันเป็นของปลอม" แฟนของลินเนตต์ระบุ
โดยทั่วไปแล้วปลาแสงอาทิตย์กินแมงกะพรุนเป็นอาหารและพบได้ตามน่านน้ำมหาสมุทรต่างๆทั่วโลก ทั้งนี้ชื่อของมันมาจากลักษณะนิสัยชอบนอนอาบแดดอยู่อยู่บริเวณผิวน้ำเป็นเวลานานเพื่อความอบอุ่น ก่อนดำลงใต้มหาสมุทรลึกลงไปหลายร้อยเมตร
ฟอสเตอร์ บอกว่ามีคนไม่น้อยที่ไม่รู้จักปลาสายพันธุ์นี้ และสายพันธุ์ใหม่ของมันเพิ่งพบเมื่อ 2 ปีก่อน พร้อมระบุว่าปลาแสงอาทิตย์อาจก่อความเสียหายแก่เรือยอชต์ได้หากว่าเกิดชนกันตามน่านน้ำต่างๆ
เมื่อปีที่แล้วเรือยอชต์ลำหนึ่งต้องออกจากการแข่งขัน Sydney to Hobart race หลังชนเข้ากับปลาแสงอาทิตย์ตัวหนึ่ง จนหางเสือหัก
ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นดือน ปลาแสงอาทิตย์ฮูดวิงเกอร์(hood winker sunfish)ตัวหนึ่ง ได้เกยตื้นชายหาดในแคลิฟอร์เนีย เป็นครั้งแรกที่พบเห็นปลาสายพันธุ์นี้ในแถบซีกโลกเหนือในรอบ 130 ปีเลยทีเดียว