xs
xsm
sm
md
lg

In Pics&Clips: ยอดเหยื่อเขื่อนบราซิลแตกพุ่ง 110 ราย สูญหาย 238 คน ศาลแรงงานสั่งแช่แข็งทรัพทย์สินบริษัทเหมืองต้นเหตุ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รอยเตอร์ - ตัวเลขผู้เสียชีวิตเขื่อนบราซิลแตกล่าสุดที่ได้รับการยืนยันเมื่อวานนี้(31 ม.ค) อยู่ที่ 110 ราย ส่วนผู้สูญหายมีจำนวน 238 คน ด้านศาลแรงงานบราซิลออกคำสั่งห้ามเคลื่อนไหวทรัพย์สินบริษัทเวล( Vale )รอบใหม่ที่ 219 ล้านดอลลาร์ เพื่อต้องการใช้เป็นค่าชดเชยให้กับเหยื่อ เกิดขึ้นหลังจากในช่วงสุดสัปดาห์ที่มีคำสั่งศาลสั่งแช่แข็งทรัพย์สินจำนวน 3.1 พันล้านดอลลาร์เพื่อใช้ในการกู้ภัยและความเสียหาย

รอยเตอร์รายงานวันนี้(1 ก.พ)ว่า ประชาชนในพื้นที่ต่างเศร้าโศกถึงสถานการณ์เขื่อนเหมืองของบริษัทเวล( Val)e แตก ที่เชื่อกันว่าอาจมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเกิน 300 คน ซึ่งในวันพฤหัสบดี(31 ม.ค) ชาวบราซิลมีปฎิกริยาที่ต่างกันออกไป และจำนวนมากมีความโกรธแค้นต่อบริษัทต้นเรื่อง ซึ่งทางบริษัทได้ประกาศยอมที่จะจ่ายค่าชดเชยให้กับเหยื่อ และทำการปรับปรุงด้านความปลอดภัย

เอสตาโด เดอ มีนาส(Estado de Minas) กำลังอ่านหนังสือพิมพ์ในรัฐมีนัสเชไรส์  (Minas Gerais) ได้แสดงความเห็นว่า “สายไปเสียแล้ว” เกิดขึ้นหลังจากบริษัทเวล ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลกกล่าวว่า จะลดการผลิตลง10% รวมไปถึงจะใช้เงิน 1.36 พันล้านดอลลาร์ในการยกเลิกการทำงานของเขื่อน 10 แห่งซึ่งล้วนอยู่ในสภาพไม่ต่างจากเขื่อนที่เกิดเหตุในเหมือง Corrego do Feijao เมื่อวันศุกร์(25 ม.ค)ที่ผ่านมา

รอยเตอร์ชี้ว่า มีตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันล่าสุดอยู่ที่ 110 ราย และมีผู้สูญหายอีก 238 คน อ้างอิงตัวเลขจากหน่วยงานดับเพลิงบราซิลในช่วงค่ำวันพฤหัสบดี(31 ม.ค) ซึ่งวิกฤตเขื่อนแตกล่าสุดกลายเป็นวิกฤตเหมืองครั้งร้ายแรงเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์แดนลาตินแห่งนี้

และไม่กี่วันที่ผ่านมา บริษัทเวลประกาศพร้อมยังคงจ่ายภาษีในส่วนของการทำเหมืองที่ใช้การไม่ได้ และจะบริจาคอีก 100,000 เรอัลบราซิลให้กับครอบครัวของเหยื่อแต่ละราย

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเงินจำนวนก้อนนี้ที่ทางบริษัทเวลเสนอให้จะไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

โดยดิลสัน เมเนเซส โอลิเวรา(Dilson Menezes de Oliveira) วัย 58 ปีที่ได้สูญเสียลูกพี่ลูกน้องชายวัย 32 ปีไป หลังจากเขาเสียชีวิตภายในบ้านพักของตัวเองเมื่อกองโคลนขนาดใหญ่และขยะพิษได้ไหลลงมาทับตัวบ้านและฝังเขาไว้ โดยโอลิเวรากล่าวว่า “เป็นเรื่องที่น่าละอายสำหรับเวล”

และเสริมต่อว่า “มีผู้บริสุทธิจำนวนมากต้องจบชีวิต และในเวลานี้เงินชดเชยจำนวน 100,000 เรอัลบราซิล มันไม่ได้ช่วยอะไรทั้งนั้น”

ในวันพฤหับดี(31 ม.ค) ศาลแรงงานประจำรัฐได้ออกคำสั่งห้ามการเคลื่อนไหวทรัพย์สินจำนวนมากกว่า 219 ล้านดอลลาร์ หรือ 800 ล้านเรอัลบราซิลของบริษัทเวล เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าชดเชยให้กับเหยื่อ และคำสั่งนี้เกิดขึ้นตามมาหลังก่อนหน้าในช่วงสุดสัปดาห์ที่มีคำสั่งศาลห้ามเคลื่อนไหวทรัพย์สินบริษัทจำนวน 3.1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 11.8 พันล้านเรอัลบราซิล เพื่อถูกกันไว้สำหรับการกู้ภัยและความเสียหาย

รอยเตอร์ชี้ว่า สำหรับบริษัทเหมืองแร่เวลนั้น พบว่ามีเงินสดราว 24 พันล้านเรอัลบราซิล และเทียบเท่าในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3

ในขณะที่ความพยายามระดับรัฐมนตรีที่นำการประชุมโดยประธานาธิบดีบราซิล ฌาอีร์ โบลโซนารู  ได้เริ่มต้นร่างแผนมาตรการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัย การตวจสอบ และการให้ใบอนุญาตเขื่อน

ซึ่งแหล่งข่าวที่รู้ในเรื่องนี้โดยตรงกล่าวว่า มาตรการเสนอนั้นจะรวมไปถึงคำสั่งบริหารและร่างกฎหมายในสภาคองเกรส และต้องใช้เวลาอย่างน้อย7-10 ปีในการเตรียมการ

รอยเตอร์รายงานว่า ชาวบ้านในเมืองบรูมาดินโญ (Brumadinho) ยังคงต้องเรียนรู้ต่อผลของสถานการณ์จากการไหลของโคลนถล่ม

รัฐบาลรัฐมีนัสเชไรส์ ออกแถลงในวันพฤหัสบดี(31 ม.ค)ว่า แม่น้ำพาเราเปบา(Paraopeba) ที่ปนเปื้อนโคลนพิษ พบว่าผลการทดสอบออกมาชี้ว่า น้ำในแม่น้ำนั้นเป็นพิษต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยในวันพุธ(30 ม.ค)กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนยูเอ็นได้เรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเป็นทางการถึงเหตุเขื่อนแตก

ในขณะที่ซีอีโอของบริษัทเหมืองแร่เวล ฟาบิโอ สชวาร์ตสแมน ( Fabio Schvartsman )  กล่าวยืนยันว่า ทางบริษัทต้องการจ่ายค่าเยียวยาให้กับครอบครัวของเหยื่อให้เร็วที่สุด และเขายังได้ถกเถียงในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกับอัยการรัฐบาลกลางบราซิล

ส่วนหัวหน้าการเงินลูเซียโน ซีอานี( Luciano Siani ) กล่าวว่า บริษัทเวลวางแผนที่จะจ่ายราว 80 ล้านเรอัลบราซิลให้แก่เมืองบรูมาดินโญใน 2 ปีถัดไป ซึ่งอยู่ในส่วนการเสียภาษีสำหรับการทำเหมืองที่ถูกสั่งให้หยุด
















กำลังโหลดความคิดเห็น