รอยเตอร์ - อิหร่านจะพร้อมปล่อยดาวเทียวดวงใหม่ขึ้นสู่วงโคจรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หลังจากเกิดความล้มเหลวเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จากคำประกาศของประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ในวันพุธ(16ม.ค.) เพิกเฉยต่อคำเตือนของสหรัฐฯและยุโรปที่บอกให้หลีกเลี่ยงความเคลื่อนไหวดังกล่าว
พวกเจ้าหน้าที่ตะวันตกเตือนเทคโนโลยีขีปนาวุธที่ใช้ในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรอาจถูกนำไปใช้เป็นจรวดส่งอาวุธนิวเคลียร์
ความพยายามส่งดาวเทียม "ปายัม" ขึ้นสู่วงโคจรเกิดความล้มเหลวในวันอังคาร(15ม.ค.) หลังจากจรวดที่ปล่อยขึ้นไปไม่สามารถทำความเร็วได้เพียงพอในขั้น 3
อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนแห่งรัฐอ้างคำสัมภาษณ์ของรูฮานี บอกว่าอิหร่าน "ได้ประสบความสำเร้จครั้งยิ่งใหญ่ในการสร้างดาวเทียมและส่งมันขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งนั่นหมายความว่าเราอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องแล้ว"
"ยังคงเหลือปัญหาอยู่เล็กๆน้อยๆ ซึ่งจะมันได้รับการแก้ไขในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และเราจะพร้อมปล่อยรอบใหม่" เขากล่าว
สหรัฐฯเตือนอิหร่านเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาว่า ต่อแผนการยิงจรวด 3 ลูก ที่พวกเขาบอกว่าอาจเป็นการละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สืบเนื่องจากมันใช้เทคโนโลยีขีปนาวุธ
กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสในวันพุธ(16ม.ค.) ประณามการปล่อยจรวดที่ไม่ประสบความสำเร็จล่าสุด และเรียกร้องอิหร่านหยุดทดสอบขีปนาวุธ ซึ่งปารีสมองว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจถูกใช้สำหรับอาวุธนิวเคลียร์
"โครงการขีปนาวุธเป็นต้นตอแห่งความกังวลของประชาคมนานาชาติและฝรั่งเศส" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแดนน้ำหอมระบุ "เราเรียกร้องอิหร่านอย่าเดินหน้าทดสอบขีปนาวุธใหม่ที่ออกแบบมาให้มีศักยภาพบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องอิหร่านเคารพต่อพันธสัญญาของพวกเขาภายใต้มติทั้งหมดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชติ"
อิหร่าน ซึ่งมองว่าโครงการอวกาศของพวกเขาเป็นประเด็นเกี่ยวกับความภาคภูมิใจของชาติ บอกว่าการปล่อยยานขนส่งสู่อากวศและทดสอบขีปนาวุธ ไม่ได้ละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและจะเดินหน้าต่อไป
ภายใต้มติ 2231 ของคณะมนตรีความมั่นคแห่งสหประชาชาติ ที่รับรองข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ได้เรียกร้องอิหร่านยับยั้งจากงานพัฒนาขีปนาวุธใดๆที่มีแสนยานุภาพนำส่งอาวุธนิวเคลียร์เป็นเวลาสูงสุด 8 ปี แต่บางรัฐโต้แย้งว่าภาษาที่ใช้ในมตินั้นไม่ได้บังคับให้อิหร่านต้องปฏิบัติตาม ขณะที่อิหร่านย้ำว่าโครงการขีปนาวุธของพวกเขามีจุดประสงค์ป้องกันตนเองเพียงอย่างเดียวและไม่ได้ออกแบบมาให้บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์
เวลานี้ข้อตกลงนิวเคลียร์ตกอยู่ในความเสี่ยง หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนสหรัฐฯออกจากข้อตกลงดังกล่าว โดยอ้างว่ามันไม่ครอบคลุมโครงการขีปนาวุธของอิหร่าน และกลับมาคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่