จากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่มพื้นที่บริเวณช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 พันราย และยังมีผู้สูญหายอีกเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลเบื้องต้นจากทางการอินโดนีเซีย คาดการณ์ว่าแม้จะไม่มีรายงานเหตุแผ่นดินไหว แต่สึนามิดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนของแผ่นดินใต้ทะเลจากการระเบิดของภูเขาไฟอานัก กรากาตัว ทั้งยังเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกด้วย
ขณะที่รายงานของศูนย์ธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย ระบุว่า ภูเขาไฟอานัก กรากาตัว ในช่องแคบซุดาซึ่งเชื่อมโยงทะเลชวาเข้ากับมหาสมุทรอินเดียนั้นเกิดการระเบิดขึ้นราว 24 นาทีก่อนหน้าที่จะเกิดคลื่นสึนามิ โดยปัจจุบันภูเขาไฟที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่มีความสูงราว 305 เมตร และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 200 กิโลเมตร
ในช่วงเย็นวันนี้ (23 ธ.ค.) ทวิตเตอร์ @unisdr ของ สำนักงานว่าด้วยกลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNISDR) ได้โพสต์ภาพกราฟิกเพื่ออธิบายว่า "ทำไมการระเบิดของภูเขาไฟถึงก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้?" พร้อมกับคำอธิบาย 7 ข้อคือ
1. ภาพยอดเดิมของภูเขาไฟ
2. ยอดภูเขาไฟถล่มลงมา
3. ลาวาเกิดการทะลักล้นออก
4. การระเบิดครั้งต่อมา
5. ซากภูเขาไฟเกิดการไหลเลื่อนลงมาปะทะกับผืนทะเล
6.เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
7.คลื่นยักษ์เคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งที่ห่างออกไป
อ้างอิง : Geoscience Australia
What caused the latest #Indonesia #tsunami with large loss of life? Potentially it was volcanic activity of Mount Anak Krakatau located in the middle of the Sunda Strait that divides Sumatra and Java. #SendaiFramework #ResilienceForAll https://t.co/cmi1rBXecC pic.twitter.com/IJ8q0Ep78e
— UNISDR (@unisdr) December 23, 2018
Tsunami. twice. in a year. in my country.
— Azalea (@azalea1304) December 23, 2018
my deepest condolences to the victims and family.
Mt. Anak Krakatau's eruption----->tsunami#PrayForAnyer #PrayForBanten #PrayforSelatSundapic.twitter.com/3WvudJPZQl
In this photo: Anak-Krakatau volcano with increased activity, 2.5 hours prior to the #tsunami waves hitting some areas on the coast of West-Java and Southern-Sumatra. #indonesia #anyer pic.twitter.com/0Xv3lQwAQ3
— Øystein L. Andersen (@OysteinLAnderse) December 23, 2018
Anak-Krakatau erupting this afternoon - 22 Desember. Eruption sounds can be heard clearly from the coast of Java 47km away. #krakatau @id_magma pic.twitter.com/jY9Hmuq1d7
— Øystein L. Andersen (@OysteinLAnderse) December 22, 2018